สารัญ Creditbank Credit card bank
123
11/28/2552
คู่มือการป้องกันการฆ่าตัวตาย
คู่มือการป้องกันการฆ่าตัวตาย
ในความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ก็ย่อมมีช่วงเวลาของความอ่อนแอ อ่อนล้าในชีวิตอยู่บ้าง
เพราะไม่มีใครที่อยู่อย่างปราศจากปัญหา
ซึ่งในช่วงนี้เอง เป็นช่วงที่คนเราต้องการใครสักคน มาช่วยประคับประคอง และให้กำลังใจเพื่อเอาชนะอุปสรรค
และสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างงดงาม
กำลังใจ คำปลอบใจ คือสายใยต่อชีวิต คนเหล่านี้ต้องการความช่งยเหลือ
ต้องการคนเข้าใจ เห็นใจ ให้กำลังใจแก่เขาได้ ความเมตตาของท่าน จะช่วยต่อชีวิตของเขาได้
ปัญหาการฆ่าตาย ผ่อนคลาย และป้องกันได้
การ ฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งปรากฎอยู่ในสังคมและชุมชนต่างๆอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถป้องกันได้ หากว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ช่วยเหลือ
โดยประชาชนมีเจตคติที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจ
รวมทั้งความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของการฆ่าตัวตาย
วิธีการสังเกตสัญญาณเตือนที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายเสียแต่เนิ่นๆ
และรู้แหล่งหรือบุคคลที่จะให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ที่จำเป็น ย่อมจะทำให้ปัญหาการฆ่าตัวตาย
และพยายามฆ่าตัวตายของคนในชุมชนต่างๆ ลดลงไปมาก และนำความสงบสุขมาสู่ชุมชนนั้น
คุณรู้ไหมว่าทำไม คนเราถึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย
* มองไปทางไหนก็เห็นแต่ปัญหา ไม่เห็นทางออก เจอแต่ทางตัน
* ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หดหู่ ท้อแท้
* ป่วยเป็นโรคจิต หลงผิดคิดว่ามีคนสั่งให้ไปตาย หรือระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า ก็เลยอยากตายไปให้พ้น
* ติดเหล้า ติดยา ไม่ได้เสพก็ทรมาน พอเสพจนเมาก็ขาดสติ ไม่มีใครอยากเหลียวแล
* มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกาย จนไม่สามารถทนได้ จึงฆ่าตัวตายเพื่อให้พ้นทุกข์
คนที่ฆ่าตัวตายต้องการสิ่งเหล่านี้
* ความเข้าใจ
* เพื่อนที่จริงใจ
* การระบายความทุกข์
* ความใส่ใจ
ลักษณะบุคคลที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
หากพบว่าใครมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อต่อไปนี้ ให้ระวังว่าอาจจะมีความเสียงต่อการฆ่าตัวตาย
1. พูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตาย หรือบ่นว่าอยากตาย
ไม่อยากเป็นภาระใคร รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่รู้จะอยู่เพื่อใคร
2. พูดหรือเขียนสั่งเสีย
3. เคยพยายามฆ่าตัวตาย
4. นิสัยเปลี่ยนเป็นหงอยเหงา เศร้าซึม แยกตัวเอง หมดอาลัยตายอยาก
ร้องไห้บ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความรู้สึกผิด และดูถูกตนเอง
5. ป่วย เป็นโรคจิต เช่น มีอาการหูแว่วว่ามีคนมาสั่งให้ไปตาย
หลงผิดคิดว่าจะมีคนมาฆ่าจึงอยากตายให้พ้นๆ มีความคิดแปลกๆ ว่าถ้าตายแล้วจะช่วยไม่ให้โลกแตก เป็นต้น
6. ติดสุราหรือยาเสพติด จนเลิกไม่ได้ ครอบครัวและชุมชนไม่ยอมรับ
7. มีความทุกข์ทรมานจากโรคประจำตัวร้ายแรง โรคเรื้อรัง และรักษาไม่หาย เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง เป็นต้น
8. มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะสำคัญ จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเสียความสวยงาม
9. สูญเสียบุคคลหรือของรักที่มีความสำคัญต่อชีวิต การตายจาก หรือแยกจากในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
10. ถูกเร่งรัดหนี้สินจนหาทางออกไม่ได้ สินเนื้อประดาตัว หมดทางทำมาหากิน
11. เกิดการโต้เถียง ทะเลาะวิวาทรุนแรงบ่อยๆ ระหว่างคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง
ถ้า มีลักษณะดังข้อ 1-6 แนะนำหรือชักชวนให้ขอคำปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
หรือโรงพยาบาลชุมชนโดยด่วน เพราะมีความเจ็บป่วยทางจิตใจซึ่งรักษาได้ โรคบางอย่างจำเป็นต้องรักษาด้วยยา
ถ้าพบข้อใดข้อหนึ่ง ให้ดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะข้อ 1-6 เพียงข้อใดข้อหนึ่ง รีบให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน
โดยขอให้ดำเนินการช่วยเหลือตามวิธีที่ได้แนะนำไว้ในหน้านี้
เราจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตายได้อย่างไร
1. สังเกต ว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 11 ข้อ หรือไม่
ถ้ามีให้เฝ้าระวังว่ามีโอกาสกระทำได้จริง ควรเข้าไปพูดคุยซักถามด้วนความเอาใจใส่ พร้อมจะช่วยเหลือ
2. ลอง ถามไถ่ว่ามีการเตรียมวิธีที่จะทำร้ายตัวเอง หรือไม่อย่างไรถ้าผู้ช่วยเหลืออยู่ในฐานะเพื่อนบ้าน
หรือมิใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติหรือคนในครอบครัวให้คอยระวังอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ในสายตา
และให้อยู่ห่างจากอุปกรณ์ ที่เขาเตรียมไว้เพื่อทำร้ายตัวเอง
3. พูดคุยให้คำปรึกษา ปลอบใจ ให้เขามีสติ ค่อยๆคิดหาทางแก้ไขปัญหา
อาจจะแนะนำให้เขาปรึกษาคนที่เขาไว้วางใจ และนับถือ เช่น ญาติ พระ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
4. กระตุ้นให้ญาติให้กำลังใจ ไม่ตำหนิ หรือลดการทะเลาะเบาะแว้งลง
5. ติดต่อ หาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่ เท่าที่จะทำได้ เช่น แหล่งฝึกอาชีพ แหล่งฟื้นฟูสมรรถภาพ
แหล่งช่วยเหลือเรื่องการเงิน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น
6. กระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหา
และให้ความสนใจดูแล และเฝ้าระวังซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยปละละเลย
7. ให้ ความรู้เรื่องผลระยะยาวของสุขภาพที่เกิดจากการใช้ยา หรืออุปกรณ์ในการฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ
เช่น สมองเสื่อมจากการผูกคอตาย หรือเกิดความพิการทางกายอื่นๆ
เทคนิคการปลอบใจ
เมื่อใครมีแนวโน้มที่จะคิดทำร้ายตนเอง ควรพูดปลอบใจ และให้กำลังใจด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นมิตร ดังนี้
* พูด ให้ความหวัง ตัวอย่างเช่น
" ทำใจดีๆไว้ พรุ่งนี้อาจจะดีขึ้นก็ได้ เพราะไม่มีอะไรที่คงที่ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
ความทุกข์ก็เหมือนกัน มันจะหมดไปสักวัน และพ้นผ่านไปเองในที่สุด "
* ยัง มีหนทางแก้ไขปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น
" ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข บางปัญหาต้องใช้เวลา เราลองมาช่วยกันคิดหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหากันดีกว่า "
* ให้ความมั่นใจว่า ยังมีคนคอยช่วยเหลืออยู่ ตัวอย่างเช่น
" ลองปรึกษาหารือกับเพื่อน (หรือญาติพี่น้อง สามี หรือภรรยา ลูกที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) ดู "
แต่ถ้าไม่มีใครจริงๆ ยังมีหน่วยงานอีกหลายแห่งที่ยังคอยให้ความช่วยเหลืออยู่
* พูด ให้ห่วงคนข้างหลัง ตัวอย่างเช่น
" ถ้าขาดคุณเสียคน ลูกๆจะทำอย่างไร " หรือ
"ถ้าขาดคุณแล้ว พ่อแม่จะอยู่อย่างไร ใครจะช่วยดูแลท่าน ท่านแก่มากแล้ว "
* พูด ให้เห็นข้อดีของการมีชีวิต ตัวอย่างเช่น
" คุณยังมีอะไรดีๆอยู่อีกมาก เช่น มีลุก มีสามี หรือภรรยาที่ดี ที่คอยหว่งใยให้กำลังใจ " หรือ
" คุณยังมีงานทำมีทรัพย์สินเงินทอง " หรือ " การมีชีวิตอยู่ยังได้ทำบุญ ทำประโยชน์ให้ครอบครัวให้สังคมได้ "
* ใน กรณีที่เวลาผ่านไประยะหนึ่ง ผู้คิดทำร้ายตนเอง สามารถมีสติรับฟังเหตุผลได้ ให้พูดถึงบาปบุญคุณโทษ
ตัวอย่างเช่น " คิดทำร้ายตัวเองไม่ดีหรอก บาปกรรมเปล่าๆ กว่าจะเกิดมาเป็นคนนั้นแสนยาก "
อย่าพูดซ้ำเติมคนคิดฆ่าตัวตาย เพราะจะกลายเป็นการผลักดันให้ลงมือทำซ้ำอีก
การปลอบใจและให้กำลังใจที่ดีที่สุด คือ
การรับฟังอย่างเข้าใจ และใส่ใจความรู้สึกของผู้ประสบปัญหา และเห็นอกเห็นใจด้วยความจริงใจ
เมื่อมีการฆ่าตัวตายจะทำอย่างไร
* รีบช่วยปฐมพยาบาล และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
* ปลอบโยนญาติให้มีสติ
* ทำ ความเข้าใจกับชุมชนให้เข้าใจว่า เขาทำไปเพราะทุกข์ใจ ไม่ใช่เป็นการหาเรื่องใส่ตัว ไม่ควรรังเกียจ
ควรเห็นใจผู้ฆ่าตัวตาย และญาติ ให้ความช่วยเหลือ และช่วยกันดูแลเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก
สิ่งที่ญาติหรือผู้ใกล้ชิด ไม่ควรพูดกับผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย
* ตายเสียได้ก็ดี
* ไม่น่ารอดมาเลย
* อย่าไปสนใจมากเดี๋ยวก็ทำอีก ไม่ตายจริงหรอก
* เก่งจริงคราวหน้าก็ให้ตายจริงซิ
* อยู่ไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์อะไร
* ไม่ต้องฆ่าตัวตายหรอก ยังไงก็ตายอยู่ดี
* อยู่ไปนานก็ยิ่งจะสร้างภาระให้คนอื่น
แหล่งให้ความช่วยเหลือที่ติดต่อได้
* สถานีอนามัย
* โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจิตเวช
* บุคคลในชุมชนที่เคารพนับถือ ไว้วางใจ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ
เช่น พระครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และเพื่อนบ้าน
* แรงงานจังหวัด ที่ให้ความช่วยเหลือด้านจัดหางาน เพื่อให้มีอาชีพ เลี้ยงตัวเองและครอบครัว
* ประชาสงเคราะห์จังหวัด ที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องการเงิน ที่พักอาศัย
และปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
ต่อชีวิตคน ได้กุศล ผลบุญแรง
โดย กรมสุขภาพจิต
ที่มา http://www.dhammajak.net/dhamma/62.html