สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/14/2552

อัตราเงินเฟ้อ ต.ค.ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อยู่ที่ 3.9%

อัตราเงินเฟ้อ ต.ค.ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อยู่ที่ 3.9%
อัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ... แนวโน้ม 2 เดือนสุดท้ายยังคงชะลอลงต่อเนื่อง

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : จากการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อโดยกระทรวงพาณิชย์ในวันนี้ (วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551) อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2551 ปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นสัญญาณดีที่เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างไร้ปัจจัยบวกอยู่ในขณะนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้มในระยะเดือนถัดๆ ไป โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 (Year-on-Year) ชะลอลงอย่างมากจากร้อยละ 6.0 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือน และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ร้อยละ 4.9 ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าเพดานกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ที่ร้อยละ 0.0-3.5) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน (Month-on-Month) ลดลงถึงร้อยละ 1.2 การปรับตัวลดลงของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากราคาอาหารสดประเภทข้าว ผักและผลไม้ปรับลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดลงอย่างมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงประมาณร้อยละ 30 จากระดับเมื่อสิ้นเดือนกันยายน ส่วนราคาน้ำมันในประเทศปรับลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.4

ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อในระยะเดือนที่เหลือของปี คาดว่าจะปรับลดลงไปอีกตามทิศทางราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยความวิตกกังวลต่อโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกคงจะเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้น ด้วยเหตุผลในด้านอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง นอกจากนี้ เงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายนยังจะได้รับผลดีจากราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าโดยสารที่ปรับลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันและสินค้าวัตถุดิบที่ปรับลดลง ทางกระทรวงพาณิชย์จึงได้ขอความร่วมมือจากร้านอาหารและผู้ขายอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายในราคาสูงกว่า 25 บาทขึ้นไป ให้ปรับราคาลดลงเฉลี่ยจานละ 5 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน

ขณะที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางได้มีมติให้ปรับลดค่าโดยสารสำหรับรถร้อนลง 1.50 บาท และรถปรับอากาศลดลงระยะละ 1 บาท ส่วนรถร่วมบริการ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลดลงกิโลเมตรละ 3 สตางค์ มีผลตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม ขณะเดียวกันแรงกดดันต้นทุนของผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มลดลงน่าจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลงมาได้ในระยะข้างหน้า สังเกตได้จากราคาพลังงาน วัตถุดิบโลหะ และผลผลิตการเกษตรที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 19.0 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน (จากที่เคยพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึงร้อยละ 21.6 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา) ขณะที่คาดว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตจะยังชะลอลงอีกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี

จากทิศทางดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 น่าจะปรับลดลงไปที่ประมาณร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 7.3 ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของทั้งปี 2551 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.7 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่ำลงกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงเร็วกว่าที่คาด แต่ก็ยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับร้อยละ 2.3 และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 ตัวเลขรายเดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงค่อนข้างผันผวน เนื่องจากผลของฐานในปีนี้ที่ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 เงินเฟ้อจะสูงกว่าไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 4 อยู่มาก อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยทั้งปี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 จะต่ำลงมาอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 1.5-3.0 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.5

อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาของภาคครัวเรือน ซึ่งรายได้อาจจะถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ขณะที่ทางการจะสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางปัญหานานัปการที่จะตามมากับวิกฤติการเงินและปัญหาเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศที่เศรษฐกิจไทยยากที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกยังมีโอกาสที่จะผันผวน โดยประเด็นที่ยังต้องจับตามองในระยะสั้นนี้คือทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ โดยในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง อาจทำให้มีการกลับเข้ามาเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นบางช่วง ขณะที่ในระยะ 12 เดือนข้างหน้าคงต้องติดตามการคลี่คลายปัญหาวิกฤติในระบบการเงินโลก และมุมมองของตลาดต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลงและคงจะยืนในระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งนั้น เมื่อการลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงมีความเสี่ยงลดน้อยลง และมีสัญญาณบ่งชี้ที่เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคสำคัญเริ่มที่จะผงกหัวขึ้นจากจุดต่ำสุดได้ เมื่อนั้นนักลงทุนอาจถอยออกจากสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ฯ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และหันกลับเข้ามาลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มราคาในช่วงปีข้างหน้า


http://www.bangkokbiznews.com/2008/11/03/news_308482.php

รวมสูตรการเงินธุรกิจ ตอน Ratio+ จุดคุ้มทุน

รวมสูตรการเงินธุรกิจ ตอน Ratio+ จุดคุ้มทุน
การเงินธุรกิจ ตอน Ratio

อัตราส่วน
การเปรียบเทียบอัตราส่วนมี 2 วิธี
1. Time Series Analysis เป็นการเปรียบเทียบอัตราส่วนปัจจุบันกับอดีตและคาดการณ์สำหรับอนาคตของบริษัทเดียวกัน
2. Cross-Section Analysis การเปรียบเทียบในลักษณะที่สองคือ การเปรียบเทียบอัตราส่วนของกิจการ กับอัตราส่วนของกิจการอื่นที่ประกอบกิจการคล้ายกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

อัตราส่วนทางการเงินมี 4 ประเภท
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio)
3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
4. อัตราส่วนความมีกำไร (Profitability Ratio)


1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน = CA/CL
2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว(Acid Test Ratio) = CA-สินค้าคงเหลือ/CL = CA-I/CL
3. เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital:WC) = สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน
4. อัตราหมุนของลูกหนี้ (Receivable Turnover Ratio) = ขายเชื่อ/ลูกหนี้ (เฉลี่ย)
5. ระยะเวลาในการเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Average Collection Period) = 360 วัน/อัตราหมุนของลูกหนี้
6. อัตราหมุนของสินค้า(Inventory Turnover Ratio) = ต้นทุนขาย/สินค้า(เฉลี่ย)
7. ระยะเวลาในการขายโดยเฉลี่ย (Average Days Sale) = 360 วัน/อัตราการหมุนของสินค้า
ท่อง อัตราหมุนตั้งด้วยยอดขายหาอะไรหารด้วยตัวนั้น Return ตั้งด้วยกำไร on อะไรก็หารตัวนั้น

*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่องได้ดีที่สุด ตอบ Acid Test Ratio หรือ Quick Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่อง ตอบ Liquidity Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีที่สุด ตอบ Debt to networth


2 อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) ได้แก่
1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Net Worth) = หนี้สินทั้งหมด/ส่วนของเจ้าของ = Debt/Net Worth
2. อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ (Long Team Debt to Net Worth) = หนี้สินระยะยาว/ส่วนของเจ้าของ = Long Team Debt/Net worth
3. Capitalization Ratio = หนี้สินระยะยาว/หนี้สินระยะยาว+ส่วนของเจ้าของ
4. อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = Debt/total Asset

3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
Coverage Ratio or Interest Coverage Ratio = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี/ดอกเบี้ยจ่าย

4 อัตราส่วนความมีกำไร(Profitability Ratio) ได้แก่
1. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = กำไรขั้นต้น´100/ขายสุทธิ
2. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = กำไรสุทธิ´100/ขายสุทธิ
3. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) = ขายสุทธิ/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
4. อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (Rate of Return on Assets (ROA) or Earning Power) = กำไรสุทธิ´100/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
5. กำไรต่อหุ้น(Earning Per Share:E.P.S.) = กำไรสุทธิ-เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ/จำนวนหุ้นสามัญ
6. อัตราผลตอบแทนของเจ้าของ(Return on Equity) = กำไรสุทธิ´100/ส่วนของเจ้าของ
7. อัตราตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ(Rate of Return on Common Stock หรือ Rate of Return on Equity: ROE) = กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของทุนหุ้นสามัญ
8. กำไรดำเนินการต่อขาย(Operating Profit Margin) = กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน´100/ขาย

การจัดสรรเงินเหลือใช้

การจัดสรรเงินเหลือใช้
เมื่อเรารู้จำนวนเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนแล้ว (สมมุติ 2,000 บาท) และตั้งใจจะสะสมเงินนั้นอย่างมีวินัยต่อเนื่องทุกเดือนจนกระทั่งได้ยอดเงินสะสมรวมตามที่วางเป้าหมายไว้ (สมมุติ 500,000 บาท) เราคงต้องการทราบว่า เราจะใช้เวลาในการทยอยสะสมนานเพียงใด ? หัวใจของความสำเร็จก็จะอยู่ตรงที่ ระยะเวลาที่เราวางแผนจะใช้เงินสะสมนั้น กับจำนวนเงินสะสมที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นโจทย์ตั้งให้เราต้องค้นหาทางเลือกที่จะใช้สะสมเงินนั้น โดยคาดหวังว่า ผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงของวิธีการสะสมดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เงินสะสมพอกพูนขึ้นได้เท่ากับเงินสะสมเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ที่วางแผนไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ ดังตัวอย่าง
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท โดยมีทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน เราจะใช้เวลาในการสะสมเงินจนถึง 500,000 บาท ได้รวดเร็ว หรือเนิ่นนานแตกต่างกันไปด้วย บางท่านอาจจะด่วนตัดสินใจ "เลือกทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด" แต่อย่าลืมคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า "ทางเลือกที่คาดว่าให้ผลตอบแทนสูง มักมีความเสี่ยงสูงด้วย" นั่นหมายความว่า ทางเลือกนั้นมีโอกาสให้ผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น เราควรหลีกเลี่ยงไม่เลือกทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงเลยใช่หรือไม่ ? คำตอบอยู่ที่เรายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเราได้จัดสรรเงินออมและเงินลงทุนอย่างเหมาะสมจนสามารถลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งหรือไม่ การสะสมเงินที่ดี ควรมีการกระจายทางเลือกทั้งการออมและการลงทุนในสัดส่วนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ตามที่คาดหวังไว้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้


การจัดสรรเงินเหลือใช้

ข้อผิดพลาดเรื่องการเงินของ 9 กูรู

ข้อผิดพลาดเรื่องการเงินของ 9 กูรู
คุณอาจจะเคยเดินผิดพลาด บาดเจ็บจากการลงทุนมาบ้าง แต่ถ้าหยิบความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน และแก้ไข ความผิดพลาดแบบเดิมๆ ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก

"วรวรรณ" ลงทุนอสังหาฯ ผิดพลาด

"วรวรรณ ธาราภูมิ" กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง เล่าถึงเรื่องผิดพลาดทางการเงินในอดีต คือ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กระจายไปทั่ว แล้วไม่ได้ทำให้เกิดผลประโยชน์ ซึ่งผิดหลักการลงทุน บางแห่งลงทุนไปแล้ว แต่กลับจำไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหนในต่างจังหวัด กว่าจะมีเวลาในการไปหาให้เจอ ไปรังวัดใหม่ มันยุ่งมาก เพราะเราไม่มีเวลา แต่ตอนนี้แก้ไขไปเกือบหมดแล้ว

โดยให้คนเข้าอยู่หากเป็นบ้าน หากเป็นที่ดิน ก็มีการเพราะปลูกสิ่งที่เหมาะสม การลงทุนโดยทิ้งไว้เฉยๆ มันไม่งอกเงย และหากเป็นบ้านร้างทรัพย์สินจะเสื่อมไวกว่าการมีคนอยู่อาศัย นอกจากนี้หากเราละเลยไป อาจโดนครอบครองโดยปรปักษ์ได้

"วิเชฐ" ลุยตลาดหุ้นแบบร้อนวิชา

"วิเชฐ ตันติวานิช" รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เล่าว่าตอนจบปริญญาโท MBA เมื่อปี 2529 แล้วเข้าทำงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน คือ ธนาคาร ทิสโก้ ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ แต่ทำงานเพียง 6 เดือนแรก ก็ร้อนวิชา นำเงินที่มีเข้าลงทุนในตลาดหุ้น

ขณะนั้นอยู่ในช่วงขาขึ้น ใช้วิชาการวิเคราะห์แบบเทคนิคล้วนๆ เช่น Heads & Shoulders, Point & Figures เพราะหุ้นช่วงนั้นขึ้นทุกตัว มองจังหวะทางเทคนิคเท่านั้นก็ลงทุนได้ ต่อมาเกิดเหตุการณ์ Black Monday เริ่มที่ ตลาด NYSE ทำให้กำไรที่ได้รวมทั้งทุนที่มีต้องหมดไปในเวลาเพียง 2 สัปดาห์

"ที่แย่กว่านั้น คือ เงินของรุ่นพี่ๆ ในที่ทำงานก็หมดไปกับเราด้วย เพราะเขาเชื่อเรา ซึ่งนั่นเป็นบทเรียนสำคัญของผู้ร้อนวิชา แต่ขาดประสบการณ์ ไม่ดูพื้นฐานก่อนลงทุน ตั้งแต่นั้นมา ก็ตั้งใจศึกษาเรื่องการลงทุนอย่างจริงจัง จนยึดเป็นอาชีพในปัจจุบัน"

"สุวภา" ลงทุนแล้วไม่ดูแลและใส่ใจ

"สุวภา เจริญยิ่ง" กรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต เล่าว่า เรื่องผิดพลาดทางการเงินของเธอเป็นเรื่องใกล้ตัว คือลงทุนแล้วไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้ดูแล และติดตามการลงทุนอย่างที่ควรจะทำ เช่นการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คิดว่าหุ้นตก เดี๋ยวก็ขึ้น ประกอบกับไม่ค่อยมีเวลาติดตาม นั่นทำให้กลายเป็นข้อผิดพลาดทางการเงินอย่างร้ายแรง พอตลาดหุ้นตกอย่างรุนแรง กลับมาดูอีกที ก็ราคาร่วงเยอะแล้ว

"อย่างวิกฤติรอบนี้ บอกได้เลยว่ารุนแรงมาก ขนาดเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจ ที่ถล่มมาวูบเดียว มูลค่าหุ้นหายไปอย่างรวดเร็ว เรียกว่ามาอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ซึ่งการที่เรายุ่งกับงานจนไม่มีเวลาดูแล ในที่สุดก็กลายเป็นความผิดพลาดทางการลงทุน"

สุวภา บอกว่า บทเรียนครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อคิดว่า จากนี้ไปรักจะลงทุนอะไรแล้วต้องติดตาม ใส่ใจกับเงินทองที่เราลงทุนไป ข้อสำคัญอะไรที่ไม่รู้ จะไม่ลงทุนอย่างเด็ดขาด

"อีกเรื่องหนึ่ง ที่พอบาดเจ็บจากตลาดหุ้นทีไร ก็จะคิดว่า ไม่เอาแล้ว ฉันจะไม่ลงทุนในหุ้นอีกแล้ว เข็ด หันไปลงทุนในพันธบัตรดีกว่า ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ควรจะคิดอย่างนั้น เมื่อหุ้นตกเราก็ต้องซื้อหุ้นในราคาถูก ไม่ใช่หนีจากหุ้น แต่หลายคนจะคิดแบบนี้"

"สมจินต์" เร่งซื้อบ้านเพราะความกลัว

"สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ เล่าว่าเมื่อปี 1989 เขาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผิดพลาด โดยไปซื้อบ้านมือสองแถวซอยอุดมสุข เพราะต้องเดินทางไปอยู่ต่างประเทศ จึงกลัวว่าถ้าไม่รีบซื้อเอาไว้จะราคาที่ดินอาจจะขึ้นและเสียโอกาส ทั้งที่ขณะนั้นเงินก็ยังมีไม่เยอะพอ เวลาในการเลือกก็มีไม่มาก แต่ก็รีบร้อนตัดสินใจซื้อ ปรากฏว่า ตอนนั้นนอกจากซื้อในราคาแพง แถมถนนหนทางก็ยังไม่ดีนัก จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นการลงทุนที่ผิดพลาด

"ผมมานั่งรีวิวดู ก็พบว่าเรา สิ่งที่ทำให้เราผิดพลาดคือการเร่งตัดสินใจซื้อเพราะความกลัว ซื้ออย่างรวดเร็วเกินไปเพราะหวังว่าอนาคตจะดีขึ้น โดยไม่มีข้อมูลที่แท้จริง เป็นการซื้อบนความหวัง แต่ข้อดีก็คือ เป็นการบังคับให้เราเก็บเงินเพื่อผ่อนบ้าน ซึ่งเวลาจะขายก็ขายลำบาก แต่ในที่สุดก็ขายได้"

"บุญชัย" เคยซื้อหุ้นตามข่าวลือ

"บุญชัย เกียรติธนาวิทย์" กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต มองว่า กว่าจะมีความสำเร็จได้ คนเราทุกคนล้วนต้องผ่านประสบการณ์ผิดพลาดมาทั้งนั้นคนเราไม่ได้เรียนรู้ทุกอย่างที่ถูกต้องตั้งแต่เกิด ฉันใดก็ฉันนั้น คนเก่งทุกคนก็ต้องมาจากความไม่เก่ง หรือความผิดพลาดมาก่อนเสมอ ถึงแม้จะมีประสบการณ์ผิดพลาดมาเยอะแล้ว ก็ใช่ว่า จะไม่ผิดอีกเลย เพียงแต่เราจะฉุกคิดมากขึ้น ระมัดระวังมากขึ้น และตัดสินใจอย่างใจเย็นและไม่หวังสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ อย่างมีสติมากขึ้นเท่านั้นเอง

"ผมคลุกคลีในตลาดทุนตั้งแต่จบมาใหม่ๆ ทำงานเป็นนักวิจัย สมัยนั้นตลาดหุ้นบูมมากก็ซื้อหุ้นขายหุ้นเองแบบนักเล่นหุ้น กำไร 5-10% ก็ขายแล้ว ก่อนซื้อก็ดู P/E สักหน่อย ดูกำไรบริษัท สักนิด ดูความเคลื่อนไหวของราคาในอดีต แล้วก็ลงทุนซื้อ ก็เรียกว่า มีทั้งกำไรและขาดทุน บางช่วงเวลาซื้อหุ้นตามข่าวลือ หรือกระแสว่าหุ้นตัวนั้นหุ้นตัวนี้ จะราคาสูงขึ้น ก็มีทั้งกำไรและขาดทุนบ้าง แต่ที่รู้สึกได้ก็คือ เวลาได้กำไรไม่ค่อยเยอะ แต่เวลาขาดทุน เยอะมาก"

บุญชัย บอกว่า บทเรียนที่ได้รับ อย่างแรกคือเครียด เล่นหุ้นเองเครียด ต้องติดตามราคาทุกวัน ไม่สนุก อย่างที่สอง หุ้นมีขึ้นก็มีลง ดังนั้น ก็ต้อง กระจายเงินที่ลงทุนออกไปสินทรัพย์ประเภทอื่นบ้าง เพราะเวลาสินทรัพย์หนึ่งขาดทุน สินทรัพย์อื่นก็ไม่น่าจะขาดทุน

อย่างที่สาม ถ้าอยากจะลงทุนตาม ข่าวลือ ก็ควรเป็นสัดส่วนที่น้อย และพร้อมจะยอมรับการขาดทุนได้ เผื่อใจเอาไว้มากๆ คือ เป็น ศูนย์ ได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าลงทุนแบบนี้ เพราะโอกาสขาดทุนมีมากกว่าโอกาสกำไร อย่างที่สี่ เป็นไปได้ยากที่จะซื้อหุ้นได้ราคาถูกที่สุด หรือขายหุ้นได้ในราคาที่แพงที่สุด อาจมีบ้างบางครั้ง แต่ต้องถือว่า ฟลุ้ค หรือโชคช่วย ซื้อแบบเฉลี่ยไปเรื่อยๆ น่าจะดีที่สุด

อย่างที่ห้า คือ ต้องหมั่นถามตัวเองบ่อยๆ ว่า เราเป็นคนแบบไหน ไม่ชอบเสี่ยงหรือชอบเสี่ยง ไม่ชอบหวือหวา หรือชอบหวือหวา ต้องเลือกเอาเพราะจะเป็นตัวกำหนดการลงทุนของเราด้วย

"เดี๋ยวนี้ผมจึงลงทุนเกือบทุกอย่าง แต่ยึดหลักกระจายการลงทุน และบางอย่างก็ลงทุนเอง บางอย่างก็ลงทุนผ่านกองทุนรวม ยกตัวอย่าง เงินฝากก็มีจำนวนเท่าที่คิดว่าต้องใช้ในชีวิตประจำวัน สัก 1-2 เดือน มีเงินฝากประจำบ้าง และลงทุนในกองทุนตลาดเงิน แบ่งเงินมาซื้อกองทุนหุ้นบ้าง กองทุนต่างประเทศบ้าง มีอสังหาริมทรัพย์ไว้ปล่อยเช่าบ้าง ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทคุ้มครองชีวิตเมื่อยามแก่ชรา และลงทุนทองคำบ้าง เป็นต้น เรียกว่า กระจายการลงทุนเยอะ อาจจะเป็นเพราะผมค่อนข้างอนุรักษนิยม จึงเน้นกระจายการลงทุนแบบกระจายจริงๆ "

"วนา" ซื้อคอนโดช่วง ศก.ไม่เป็นใจ

"วนา พูนผล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) บอกว่า เขาเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยผิดพลาดจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เขาเคยไปซื้อคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจไม่เป็นใจ โดยวางเงินดาวน์ก้อนหนึ่ง เพราะความที่ไม่อยากเก็บเงินสดเอาไว้ เลยเอาไปลงทุนในรูปของสินทรัพย์ ซึ่งโดยหลักการถือว่าดี แต่ปรากฏว่า ราคาตกเรื่อยๆ เลยตัดสินใจทิ้งเงินดาวน์

"เป็นเพราะก่อนลงทุนไม่ได้ดูไทม์มิ่งให้ดี ไม่ได้ศึกษาแนวโน้มตลาดให้ดีพอ บทเรียนครั้งนี้ก็ทำให้การลงทุนในครั้งต่อไป ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ต้องศึกษาทิศทางและวงจรเศรษฐกิจ แนวโน้มธุรกิจ จะได้ไม่พลาดอีก แต่ก็ไม่ได้ทำให้เข็ดกับการลงทุน เพราะต่อจากนั้น ผมก็ยังซื้อคอนโดมิเนียมเอาไว้ปล่อยให้คนเช่าอีก"

"ธีระ" มองโลกแง่ดีเกินไป

"ธีระ ภู่ตระกูล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า บอกว่า ความผิดพลาดทางการเงินของเขาเคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งวิกฤติการเงินปี 1997 ช่วงนั้นลงทุนในหุ้นธนาคารและหุ้นบริษัทเงินทุนหลายแห่ง ซึ่งคิดว่าล้วนแต่เป็นบริษัทที่มั่นคงทั้งสิ้น เพราะไม่มีใครคิดว่าสถาบันการเงินน่าจะถึงขั้นปิดกิจการหรือแบงก์และบริษัทไฟแนนซ์ล้มหายตายจากไปจากระบบการเงิน นั่นคือสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น

"การมองโลกในแง่ดีเกินไป เป็นจุดอ่อนในการลงทุนของผม ซึ่งเมื่อขาดทุนจากการลงทุน เราก็ให้เป็นบทเรียนกับชีวิต ว่าหลังจากนี้ไปจะลงทุนอะไรก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะแม้แต่สถาบันการเงินเก่าแก่ ที่เราคิดว่ามั่นคง ยังล้มได้ เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าสถาบันที่ใหญ่และมั่นคงจะล้มไม่ได้

ตอนนั้นต้องบอกว่าผมยังไร้เดียงสาเรื่องการลงทุนมาก บทเรียนครั้งนั้นทำให้ผมรู้ว่า บางครั้งเรื่องของการลงทุน ต้องหัดมองโลกในแง่ร้ายเอาไว้บ้าง ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ ผมจึงไม่ได้มองโลกในแง่บวกมากจนเกินไป จะเห็นว่าแม้เป็นบริษัทต่างประเทศใหญ่ๆ ยังล้มได้"

ธีระให้ข้อคิดเพิ่มเติมว่า การกระจายการลงทุน จะเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ห่างจากความผิดพลาดจากการลงทุน

"เพิ่มพล" ตกหลุมพรางผลตอบแทนสูง

"เพิ่มพล ประเสริฐล้ำ" ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ บลจ.พรีมาเวสท์ เล่าว่าช่วงก่อนที่เขาจะเข้ามาเริ่มทำงานในธุรกิจกองทุนรวมในปี 2529 เพื่อนคนหนึ่งได้ชักชวนให้นำเงินไปลงทุนในธุรกิจคอมมอดิตี้โดยเป็นการลงทุนระยะสั้นประมาณ 6 เดือน จ่ายผลตอบแทนในอัตราที่ค่อนข้างสูง และมีการออกเช็คล่วงหน้าจ่ายคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุน ซึ่งขณะนั้นเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

หลังจากครบกำหนด 6 เดือนเขาก็นำเช็คไปขึ้นเงินพร้อมได้รับดอกเบี้ยตามที่แจ้งไว้ ต่อมาเพื่อนจึงชักชวนให้มาลงทุนใหม่โดยขอให้เพิ่มเงินลงทุน ซึ่งเพิ่มพลก็ลงทุนใหม่แต่จำกัดวงเงินลงทุนไว้เช่นเดิมที่ประมาณ 5 หมื่นบาท แต่ครั้งนี้เมื่อครบกำหนด 6 เดือน เหตุการณ์เปลี่ยนไป โดยเช็คนั้นไม่สามารถขึ้นเงินได้

"ตอนนั้นผมร้อนตัวแล้ว ติดต่อเพื่อนก็ไม่ให้คำตอบชัดเจน อ้างว่าราคาคอมมอดิตี้ลดลง บริษัทจึงไม่สามารถจ่ายเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนได้ ตอนนั้นได้แต่คิดว่าคงต้องทำใจแล้ว จะไปฟ้องร้องก็คงไม่คุ้ม จะร้องเรียน สคบ. ขณะนั้นก็ยังไม่เกิด นึกโทษเพื่อนก็คงไม่ได้ทั้งหมด เพราะเขาก็แค่เป็นลูกจ้างบริษัทนั้น แต่ท้ายสุดก็ต้องโทษตัวเอง"

เพิ่มพล มานั่งทบทวนดู สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอะไร ก็พอสรุปประเด็นหลักๆ ได้ 2-3 ประเด็นคือ 1. ความโลภที่ต้องการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูง โดยมิได้พิจารณาความเสี่ยง 2. ความไว้วางใจที่ให้กับเพื่อน 3. ขาดการวิเคราะห์พิจารณา หรือไม่รู้ในสิ่งที่ตนเองจะลงทุน

อย่างไรก็ตาม เมื่อทราบสาเหตุผิดพลาดตามข้างบนแล้ว ก็นำมาเป็นบทเรียนหาทางระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก จึงอยากแนะนำนักลงทุนทั่วไปว่า 1. การลงทุนอะไรก็ตามที่ให้ผลตอบสูงล่อใจ ก็มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะทำให้เราสูญเสียเงินลงทุน เข้าหลักเกณฑ์สั้นๆ ที่ทุกคนทราบดี high risk high return แต่ไม่ค่อยมีใครมองควบคู่กันไป มองแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว 2. การลงทุนต่างๆ คนที่เราไว้ใจได้มากที่สุดคือตนเอง 3. หากจะลงทุนอะไร เราต้องเข้าใจหรือรู้ว่าเราไปลงทุนอะไรอยู่ เพื่อจะเป็นส่วนช่วยในการประเมินในข้อ 1.

"ผมยังโชคดีที่จำกัดวงเงินลงทุนไว้ ไม่เช่นนั้นจากลงทุนที่เริ่มจำนวนก้อนหนึ่ง จะถูกล่อด้วยความโลภให้เป็นก้อนใหญ่มากขึ้น ความเสียหายก็จะมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น การลงทุนจึงควรพิจารณาลงทุนให้เหมาะสมกับสถานะ รู้จักการกระจายความเสี่ยง และต้องเตือนใจตนเองให้เข้าใจเรื่องผลตอบแทน และความเสี่ยง

ไม่เช่นนั้นจะผิดพลาด นอกจากนี้ หากเราไม่แน่ใจไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองไปลงทุน ก็อย่าได้ชักชวนคนอื่นมาลงทุนด้วย มิเช่นนั้นคุณอาจโดน 2 เด้งและหากไม่มีเวลาที่จะติดตามเรื่องการลงทุน หรือไม่ชำนาญ แนะนำว่าลงทุนผ่านมืออาชีพ สบายใจกว่ากันเยอะ"

"โชติกา" ทุ่มเงินลงทุนในหุ้นตัวเดียว

"โชติกา สวนานนท์" กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ เล่าให้ฟังว่า ปกติเป็นคนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ค่อนข้างมากอยู่แล้ว แต่ก็เคยมีประสบการณ์ความผิดพลาดในการลงทุนที่อยากจะเล่าให้ทุกคนทราบ คือ เคยทุ่มลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินทั้งหมดที่มีในขณะนั้น

ถ้าโชคดี ราคาหุ้นตัวนั้นขึ้น ก็คงจะได้ผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ แต่พอโชคไม่เข้าข้าง ราคาหุ้นตกลงตามภาวการณ์ในขณะนั้น ก็ทำให้เกิดการขาดทุนค่อนข้างมาก

"แต่ยังดีที่เงินก้อนนั้นสามารถลงทุนได้ในระยะยาว จึงไม่ทำให้เดือดร้อนมาก แต่จากประสบการณ์ครั้งนั้น ทำให้เห็นความสำคัญในการกระจายการลงทุนให้เหมาะสม เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้"

เรื่องผิดพลาดทางการเงิน เกิดขึ้นได้เสมอกับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่เซียนและกูรูการเงิน ข้อสำคัญคือเมื่อผิดพลาดแล้ว หยิบมาเป็นบทเรียน อย่าให้ผิดซ้ำซากอีก

9 เรื่องรวย ช่วยเงินทำงาน

9 เรื่องรวย ช่วยเงินทำงาน
1. ตั้งเป้าหมายการเก็บเงิน ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ เงินทองซื้อหาได้ และเป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป้าหมายจะเป็นสิ่งล่อใจให้คุณมีความมุมานะ และยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน แม้ในที่สุดแล้ว คุณจะมาได้แค่ครึ่งทาง แต่ก็ยังดีกว่าเก็บเงินแบบสะเปะสะปะ

2. วางแผนการเก็บเงินแบบช่วงสั้น และช่วงยาว แผนระยะสั้น เป็นเหมือนเส้นประที่ต่อเนื่องสู่เป้าหมายระยะยาว ข้อดีของการแบ่งแผนเป็นช่วงสั้นๆ คือทำให้คุณมีกำลังใจ และสามารถเก็บคะแนนแห่งชัยชนะได้ง่าย และบ่อย จากนั้นทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

3. ใช้น้อยกว่าที่หามาได้วิธีการดีที่สุด ที่ทำให้คุณมีเงินมากกว่า การหาเงินเก่ง และใช้เก่งคือการทำรายจ่าย ให้น้อยกว่ารายได้ เพราะจะทำให้คุณมีเงินเหลือ สำหรับความฝันที่ยิ่งใหญ่ และมั่นคง

4. จดบันทึกรายจ่าย พกสมุดเล่มเล็กติดตัว แล้วจดทุกรายจ่าย แม้เพียงเฟื้องสลึงให้เป็นนิสัย แล้วคุณจะเห็นว่าคุณใช้จ่าย กับเรื่องอะไรที่ไม่จำเป็นไปมากแค่ไหน

5. เก็บเงินด้วยกรมธรรม์ ทำประกันชีวิตในแบบที่ไม่ถอน และให้ดอกเบี้ยสูง เมื่อครบกำหนดการจ่ายค่า ประกันรายปี วิธีนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณได้สะสมเงินแกมบังคับ แถมยังอุ่นใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินว่าคนที่คุณรัก จะไม่ลำบาก ข้อสำคัญ อย่าเลือกประกันที่วงเงินสูงเกินไป เอาแค่ให้คุณผ่อนจ่าย สะสมเงินแบบสบายๆ แม้เมื่อตกงาน

6. เสียน้อยดีกว่าเสียมาก การเสียน้อยคือการลดรายจ่าย ดังนั้นควรทำประกันเสริม แบบคุ้มครองรายปี จากประกันชีวิตตัวหลัก เช่น ซื้อประกันคุ้มครองมะเร็งที่มีค่าเบี้ยแค่วันละ 30 บาท แต่ออกค่ารักษาให้ หลายหลักแสน ซื้อประกันค่ารักษาพยาบาลที่ช่วยออกค่าห้องในโรงพยาบาลวันละเป็นพัน หรือประกันภัยโปรแกรมที่ช่วยจ่ายค่าชดเชยรายได้

7. ลงทุนแบบไม่เดือดร้อน การลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ดังนั้นคุณจึงควรเลือกเวลา ที่เหมาะสมนั่นคือ เริ่มปันเงินมาลงทุน หลังจากที่สะสมเงินเก็บได้ 6 เท่าของเงินเดือน เงินส่วนที่เกินในเวลานั้น ค่อยเอามาสร้างผลกำไรภายหลัง

8. โลภน้อย…ผลพลอยได้แน่นอนกว่า ถ้าคุณไม่มีความชำนาญในการลงทุนด้านการเงิน ควรเลือกหากำไร จากผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาจจะได้เงินเพิ่มไม่มาก แต่ก็ไม่เสียต้นทุน อย่างการซื้อพันธบัตร ที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งมีการประกันราคาชำระตามเวลาที่แน่นอน หรือการซื้อสลากออมสิน ฝากเงินกับธนาคาร ที่ไม่ทำให้ทุนหาย แถมยังมีโอกาสได้เงินปันผล และโบนัสรางวัลจากความโชคดี

9.ทำกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ ถ้าซื้อเพื่อธุรกิจ ควรเลือกสถานที่สะดวกสบาย ใกล้การคมนาคม ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว และรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการมีสาธารณูปโภคสมบูรณ์ มีระบบจัดการบำรุงดูแลที่ดี และจะดีมาก ถ้าโครงการนั้นเป็นแบบที่สร้างเสร็จแล้วขาย เพราะสามารถปล่อยเช่าได้ทันที ก่อนตัดสินใจควรคำนวณค่าเช่าให้พอดี หรือมากกว่า ค่าผ่อนส่งต่องวด ถ้าคุณกู้ธนาคาร


9 เรื่องรวย ช่วยเงินทำงาน

บัวหลวง Money Tips : ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้

บัวหลวง Money Tips : ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้
ชนิตราภา นาวาเจริญ
บลจ.บัวหลวง จำกัด

ถ้าพูดถึงคำว่า “ความเสี่ยง” คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคำๆนี้ เป็นคำที่น่ากลัวอีกคำหนึ่งสำหรับนักลงทุน และเราก็มักจะได้ยินคำเตือนที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน วันนี้เราจึงนำนักลงทุนมารู้จักกับคำว่าความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในแต่ละครั้ง

ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่นักลงทุนได้คาดหวังไว้ ความเสี่ยงในการลงทุนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนได้ใช้ในการตัดสินใจที่จะลงทุนในตราสารหนี้ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และเพื่อทำให้นักลงทุนมั่นใจในการตัดสนใจลงทุนของตน

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้มีอยู่หลายอย่าง ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างความเสี่ยงที่เห็นได้เด่นชัด เพื่อให้นักลงทุนได้นำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบกับการตัดสินใจลงทุน

ความเสี่ยงด้านราคาและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านราคาเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่งผลให้เมื่อถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการลงทุน ราคาของตราสารหนี้ที่ขายได้จริงจะแตกต่างจากระดับที่คาดหวังไว้แต่แรก ส่งผลให้กำไรจากส่วนต่างของราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นจะทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ลดลง ดังนั้น ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ลงทุนที่ถือตราสารหนี้จนครบกำหนดไถ่ถอนคืนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงประเภทนี้ เพราะตราสารหนี้กำหนดเป็นการล่วงหน้าแล้วว่าราคาไถ่ถอนคืนจะเป็นราคาที่ตราไว้

ความเสี่ยงด้านเครดิต คือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ที่กำหนดให้ผู้ออกจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และกำไรส่วนต่างของราคา ซึ่งการที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนครบถ้วนตามที่กล่าวไว้นั้น ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายเงินตามภาวะผูกพันของหุ้นกู้ อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ออกมีผลประกอบการตกต่ำซึ่งนำไปสู่การขาดสภาพคล่อง อาจจะทำให้ผู้ออกผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของตราสารหนี้ได้เลย ส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับชำระค่าดอกเบี้ยและเงินต้นตามที่กำหนดไว้ ความเสี่ยงประเภทนี้อาจพิจารณาได้จากการถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกและของตราสารหนี้จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขายตราสารหนี้ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงต้องมีการเพิ่มหรือลดราคา เพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้นโดยทั่วไปตราสารหนี้จะมีปริมาณการซื้อขายมากในช่วงที่ตราสารหนี้เพิ่งนำออกขายในตลาด แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาพคล่องของการซื้อขายก็จะคล่อยๆลดลง ทำให้นักลงทุนประสบปัญหาไม่สามารถขายตราสารหนี้ออกไปก่อนที่จะครบกำหนดไถ่ถอนคืน ณ ราคาที่ควรจะเป็น แต่ถ้าผู้ลงทุนถือตราสารหนี้ไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่คืนก็จะไม่มีความเสี่ยงชนิดนี้เกิดขึ้น

ความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ คือ ความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ได้คาดคิดกับผู้ออก ซึ่งมีผลต่อราคาของตราสารหนี้ เช่น ผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินครั้งใหญ่ การเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงานทำให้บริษัทต้องหยุดกิจการ เป็นต้น เหตุการณ์ต่างๆทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท แม้เหตุการณ์เหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้น จึงจัดเป็นความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด

ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติการลงทุนในตราสารหนี้เป็นการลงทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย ความเสี่ยงชนิดนี้จะถูกรวมไว้ในอัตราผลตอบแทนจากตราสารหนี้นั้นๆ โดยทางอ้อมอยู่แล้ว และจะแปรผันโดยตรงกับอายุคงเหลือของตราสารหนี้

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เกิดในกรณีที่ลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดต่างประเทศที่มีการซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ และได้รับผลตอบแทนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ผู้ลงทุนชาวไทยสนใจผลตอบแทนในรูปสกุลเงินบาท ดังนั้นผู้ลงทุนชาวไทยที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจำเป็นต้องพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทกับสกุลต่างประเทศนั้นๆ เพื่อแปลงค่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นผลตอบแทนในรูปเงินบาท ถ้าการพยากรณ์ไม่แม่นยำก็จะทำให้ผลตอบแทนในรูปเงินบาทแตกต่างจากระดับที่คาดไว้และเกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น แต่ในปัจจุบันก็มีวิธีที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยผู้ออกอาศัยการรับประกันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ล่วงหน้า

ความเสี่ยงในด้านต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ลงทุนก็สามารถที่จะป้องกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาข้อมูลของผู้ลงทุน ถ้าเรารู้จักศึกษาข้อมูลของตราสารที่จะไปลงทุน เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงในด้านต่างๆลงได้ ดังคำเตือนที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”

บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"

บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"
1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)

2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน

3.การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)

4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา

5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)

6.ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด

7.ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว

8.ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง

9.นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

10.อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง

ทำไมเราจึงควรลงทุน


ทำไมเราจึงควรลงทุน
การลงทุนอย่างถูกวิธีและมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้เรามี โอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและสร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วขึ้น การลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนอย่างดียังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่จะได้รับ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เงินลงทุนยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เพราะเงินส่วนนี้จะหมุนเวียนไปยังผู้ขาดแคลนเงินทุนหรือผู้ที่ต้องการเงินทุน ผ่านตัวกลางทางการเงินหลากหลายรูปแบบในระบบการเงิน ให้ได้นำไปใช้ในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจ ทั้งในรูปของเงินให้กู้หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ธุรกิจต้องการเงินทุนเพื่อการเริ่มธุรกิจ การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบ การขยายการผลิต รวมทั้งการลงทุนในโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการผลิตและการลงทุนเหล่านี้ จะก่อทำให้เกิดการจ้างแรงงาน และส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจภาคส่วนอื่นๆ การลงทุนจึงเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งของประเทศที่สำคัญอีกด้วย



ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะนี้จะทำให้เรามีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไปด้วย

ความรู้ก่อนการลงทุน

ความรู้ก่อนการลงทุน
สำรวจความพร้อมก่อนลงทุน

การรู้จักจัดการวางแผนชีวิตและเข้าใจกลไลเกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่เหมาะสม สามารถสร้างรากฐานทางการเงินที่มั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ลงทุนกับเงินของตัวเองว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
รู้จักตัวเอง

คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้มาจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่มีมาแต่โบราณและยังคงใช้ได้จริงจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งไม่ได้ใช้เพียงเฉพาะเรื่องสงครามเท่านั้น แต่แทบทุกเรื่องในชีวิตของคนเรา รวมทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วย โดยก่อนที่จะรู้เขาหรือรู้ใครได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือต้อง “รู้เรา” เสียก่อนและเมื่อ “รู้เรา” จนชัดเจนแล้วการที่จะ “รู้เขา” ก็ง่ายขึ้น

อย่างแรก คุณจะต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณต้องการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อผลตอบแทนแบบไหน เมื่อไรเท่าไร ซึ่งเท่ากับเป็นการวางเป้าหมายที่ชัดเจนของคุณไว้ โดยคำนึงถึงรายได้ รายจ่าย และเงินออมของคุณเป็นสำคัญ สิ่งนี้แหละที่จะทำให้คุณไม่เป็นพวก “แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ” อย่างที่เขามักเปรียบเปรยถึงผู้ลงทุนที่ลงทุนตามสถานการณ์ เต้นไปตามข่าวลือโดยไม่คำนึงถึงศักยภาพความพร้อมและความต้องการของตนเอง แต่หากคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าตนเองมีความพร้อมที่จะลงทุนได้เท่าไร และต้องการผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด เมื่อใด คุณจะมีหลักการพื้นฐานที่แจ่มชัด

อย่างที่สอง คุณต้องรู้จักประเมินตัวเองว่าจะมีเวลาให้กับการลงทุนในหลักทรัพย์มากน้อยเพียงใด หากมีเวลามากคุณอาจติดตามการขึ้นลงของราคาและการเปลี่ยนแปลงวอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัดสินใจซื้อขายได้บ่อยครั้ง และถ้าคุณมีเวลาน้อย คุณคงต้องมุ่งไปที่การลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก และมุ่งผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

อย่างที่สาม คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าพร้อมที่จะเสี่ยงได้อย่าง “สบายใจ” มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่จะตอบคำถามข้อนี้ได้คุณต้องเริ่มสำรวจความพร้อมของคุณก่อนจากนั้นประเมินตัวเองว่าพร้อมที่
จะเสี่ยงในปริมาณเงินมากน้อยเพียงใดภายในระยะเวลาเท่าใด นอกจากนั้น อายุ ฐานะทางการงาน และครอบครัวก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพราะถ้าคุณอายุยังน้อย ความรับผิดชอบไม่มาก คุณอาจจะเสี่ยงได้มาก โดยอาศัยการลงทุนที่มีการซื้อขายอย่างรดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากคุณอยุ่ในวัยกลางคน และต้องการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ คุณอาจต้องเลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยแต่ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนและต่อเนื่อง
สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการรู้จักตัวเองก็คือ คุณจะต้องบอกเป้าหมาย ความคาดหวัง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของคุณให้โบรกเกอร์หรือเจ้าหน้าที่ของโบรกเกอร์ที่คุณเป็นลูกค้าทราบด้วย

สำรวจความพร้อมก่อนลงทุน

ก่อนตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนที่ดีต้องมีการวางแผนและจัดการกับภาระทางการเงินด้านอื่น ๆ ที่มีอยู่ในชิวิตให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเงินที่นำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นควรเป็น “เงินส่วนที่เหลือ” หลังจากที่คุณได้เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชิวิตไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรายจ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ ๆได้แก่

1. เงินสำรองเพื่อฉุกเฉิน เป็นรายจ่ายส่วนแรกที่คุณจะกันออกจากรายได้ เพื่อใช้ลดความเสี่ยงในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณควรจะมีส่วนนี้ประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายในปัจจุบันของคุณเอง และควรเก็บไว้ในรูปของสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทองคำ เป็นต้น

2. ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ในการดำเนินชีวิตของคุณและครอบครัว โดยจะประกอบไปด้วยที่เป็นทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ค่าพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในหมวดนี้จะเป็นค่าใชจ่ายที่หมดไป โดยไม่ได้แปรเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ประเภทอื่น

3. ภาระหนี้สิน ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงิน หน้าที่ตามกฏหมายของคุณก็คือ การจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาหรือข้อตกลง เพราะหากคุณไม่ชำระตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครอง หรืออาจถูกฟ้องล้มละลายได้ ซึ่งหนี้สินมีทั้งหนี้สินระยะสั้น เช่นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคผ่านบัตรเครดิต ระบบผ่อนชำระต่าง ๆ ฯลฯ และหนี้สินรยะยาว เช่นหนี้จากการซื้อบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ หนี้จากการผ่อนรถยนต์ ฯ ลฯ ซึ่งหนี้สินระยะยาวส่วนใหญ่จะแปรเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ของคุณในอนาคต

4. ค่าเบี้ยประกันภัย ชีวิตมีความไม่แน่นอน ทรัพย์สิน และสิ่งที่ครอบครองหรือมีไว้ใช้ก็เช่นกันดังนั้นก่อนนำเงินมาลทุนในหลักทรัพย์คุณควรทำประกันชีวิตประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ หรือ ฯลฯ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครบครัวให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อหลักประกันความมั่นคงให้กับชิวิตและทรัพย์สินของคุณและคนที่คุณรัก นอกจากนี้ การประกันภัยยังช่วยในการออมเงินระยะยาวได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันมีกรมธรรม์ประกันชีวิตหลาย ๆ ประเภทที่มีลักษณะเป็นการผลมผสานระหว่างการประกันภัยกับการออมเงินระยะยาว

5. เงินสำหรับแผนการในอนาคต เป็นเงินออมอีกส่วนหนึ่งที่คุณควรมีไว้สำหรับแผนการในอนคตของคุณเอง ทั้งนี้ขิ้นอยู่กับความคิด ความหวัง สถานการณ์และความจำเป็นของคุณ แผนการในอนาคตอาจหมายถึง การศึกษาของคุณเอง การศึกษาของบุตร การมีบ้านหลังใหม่ ในอีก 3 ปีข้างหน้า การต่อเติมบ้าน การมีเครื่องอำนวยความสะดวกบางอย่างเพิ่มขึ้น ฯลฯ หากคุณมีแผนการที่ขัดเจนเหล่านี้อยู่ในใจก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่ควรคิดว่าจะใช้เงินที่ได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์มาใช้เพื่อแผนการในอนาคตเหล่านั้น

หลังจากที่คุณได้เตรียมความพร้อมในเรืองพื้นฐานของชีวิตเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะสามารถก้าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ปลอดโปร่งแจ่มใส สุขุมรอบคอบมากขึ้น เพราะไม่ต้องเครียดหรือเป็นกังวลกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต

เมื่อตลาดหุ้น ผันผวน ตลาด TFEX คือทางเลือกหนึ่งในคำตอบ

เมื่อตลาดหุ้น ผันผวน ตลาด TFEX คือทางเลือกหนึ่งในคำตอบ
สภาวะตลาดหุ้นทั่วโลก ยังมีแต่ความผันผวนและความไม่ชัดเจนอยู่มาก ซึ่งแม้ว่าหลายสถาบันการเงินจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกาเพื่อรักษาสถานะของบริษัทไม่ให้ล้มละลาย หรือ แม้กระทั่งมหาเศรษฐี อย่าง วอแรนต์ บัฟเฟตต์ ที่ล่าสุด ได้ใส่เงินลงทุนให้กับ โกลด์แมน แซคส์ ที่เป็นวาณิชธนกิจ อับดับหนึ่งของโลก ที่กำลังมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ไม่ให้ประกาศล้มละลาย อย่างวาณิชธนกิจ อันดับ 4 ที่ชื่อว่า เลแมน บราเธอร์ ที่ประกาศสภาวะล้มละลาย ไปก่อนหน้าในช่วง 2สัปดาห์ก่อนหน้านี้ พร้อมกับ AIG และเมอริลลินซ์ ทำให้ ตลาดหุ้นทั่วโลก ต่างร้อนร้อน หนาวหนาว เนื่องจากความกังวล ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะยังคงเกิดขึ้นอีกกับสถาบันการเงินอีกหลายแห่ง ซึ่งจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ขนาดใหญ่ จึงทำให้นักลงทุนทั่วโลก รวมถึงกองทุนต่างๆ ได้มีการขายสินทรัพย์ ออกมาอย่างมากมาย จนทำให้หุ้นตก กันยกใหญ่ โดยจะเห็นได้ว่าแม้ตลาดหุ้นไทย ก็ปรับตัวลงหลุด Low ในรอบ 18เดือน ที่ 600จุด ได้อย่างง่ายดาย ด้วยเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ดี หากเรามองว่า ภาพที่จะสะท้อนเศรษฐกิจ ในอนาคต ต่อจากเหตุการณ์นี้ ไม่ว่า ณ จุดตรงนี้ จะเป็นจุดสิ้นสุด ของเหตุการณ์วิกฤติการเงินนี้หรือไม่ แต่เชื่อได้ว่า ผลกระทบที่ตามมา ก็คงยากที่จะให้ตลาดพื้นตัวกลับมาเร็ว ซึ่งอาจต้องใช้เวลา อย่างน้อยกว่า 6เดือนหรือ 1 ปีที่จะเรียกความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุน ในการลงทุนต่อตลาดหุ้นได้อีก ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นจุดยืนยันที่ว่า จริงแล้วตลาดหุ้นได้ปรับตัวเป็นตลาดหมี ที่บ่งบอกว่าตลาดหุ้นเป็นขาลงต่อเนื่อง หรือ ซึมเซา ได้นับเป็นปี ๆ จากนี้ไป หลังจาตลาดหุ้นทั่วโลกที่แสดงสภาวะกระทิง ในช่วง 3 ปีก่อนหน้า และได้ทำให้หลายตลาด ปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่ อย่างที่เห็นในภาพด้านบน ที่เห็นว่าตลาดหุ้นทั้งอเมริกา และไทย ได้แปลงสภาพเป็นตลาด Bearish ไปแล้ว ซึ่ง ณ ตอนนี้บอกได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกได้เห็นภาพเป็นตลาด หมีมามากกว่า 6 เดือน และยากที่จะบอก ว่าจะลงทุนในหุ้นที่เป็นตลาดขาลงให้ได้กำไรได้อย่างไร

ดังนั้นกลยุทธ์ที่สำคัญในการลงทุนตลาดขาลงให้ชนะ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะในตลาดขาลง หุ้นจะปรับตัวลง มากกว่าขึ้น ดังนั้น หากซื้อหุ้น 5วันในสัปดาห์ หุ้นก็จะลงมากกว่า 3วัน และปรับขึ้นแค่เพียง 1 หรือ 2วัน

ดังนั้น การลงทุนในตลาดขาลง สามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุน ได้ดังนี้
1. หากเล่นสั้น ควรหาจังหวะที่ตลาดปรับลงลึก และเน้นการดีดกลับ และออกตัวตามเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นแนวต้าน ห้ามลุ้น ห้ามโลภ ตั้งจุดขายอย่างเดียว หากผิดทาง หลุดLow ขายทิ้ง ห้ามสวดมนต์ อ้อนวอน

2. หากลงทุนระยะยาว อาจเลือกหุ้นที่มีผลตอบแทน ด้านปันผลสูง เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในสภาวะตลาดที่มีการปรับตัวลงต่อ เพราะ yield ของปันผล จะเป็นตัวช่วยพยุงราคา เพียงแต่ ต้องเน้นธุรกิจที่มีรายได้ มั่นคง จ่ายปันผลสม่ำเสมอ และไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจโลก

3. การถือเงินสด ไม่ใช่เรื่องแปลก ในสภาวะที่ไม่มีความชัดเจน หรือตลาดที่เป็นขาลง การถือเงินสด หรือตราสารเงินระยะสั้น
เช่นกองทุนที่ลงทุน ใน Money market ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่แม้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูงมาก แต่ความเสี่ยงต่ำ โดย
นับเป็นการพักเงิน ที่รอจังหวะคลื่นลมสงบอีกครั้ง

4.การใช้เครื่องมือ อนุพันธ์ เช่น Futures หรือ Options ในการป้องกันความเสี่ยง หรือ การเก็งกำไร ในตลาดขาลง ซึ่งแม้ว่ามูลค่าพอร์ต ลดลง หรือ ตลาดรวมปรับตัวลง แต่เราก็สามารถสร้างกำไร ได้โดยการขายดัชนี ผ่านตลาด Futures


แม้ว่าตลาด Futures จะเป็นสินค้าใหม่ที่เปิดตัวได้แค่ 2ปีในเมืองไทย แต่ในตลาดหุ้นต่างประเทศในสหรัฐ ยุโรป หรือ ฮ่องกง นั้นเปิดทำการซื้อขายมานานแล้ว ซึ่งตลาดFutures นับเป็นเครื่องมือที่ประโยชน์มากในตลาดหุ้นขาลง จนมีหลายคนให้คำเปรียบเทียบว่า ตลาดหุ้นขึ้น ถือหุ้นได้เปรียบ แต่ ถ้าตลาดหุ้นลง การ Short Futures นั้นได้เปรียบ ซึ่งตรงนี้ นับเป็นเรื่องที่ ต้องทำความเข้าใจในโอกาสต่อไป
ซึ่ง ผู้ที่สนใจการลงทุนใน Futures นั้นควรมีการเตรียมพร้อมก่อนการลงทุนดังนี้

1.ศึกษาวิธีการซื้อขาย รวมถึงกฎระเบียบ และเงื่อนไขต่างๆ ว่า แต่ ละสัญญาการซื้อขายกันนั้น มีหลักคำนวน
ด้านการวางเงินประกัน อย่างไร การเสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ และ การคำนวนกำไรขาดทุนนั้นคิดกันอย่างไร

2.ศึกษาการวิเคราะห์ ด้านปัจจัยทางเทคนิค เพราะการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะช่วยในการหาจังหวะ ในจุดที่ควร
ซื้อ ควรขาย หรือหยุดขาดทุน เพราะภาพปัจจัยทางพื้นฐาน อาจไม่สะท้อนการลงทุนในทันที ซึ่งบางครั้ง ตลาด
อาจปรับตัวลง ก่อนที่จะสะท้อนในภาพปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งทำให้ผู้ถือลงทุน มีความเสี่ยงของด้านการแกว่งตัวของ
ราคา มากจนทำให้ทนเห็นการขาดทุนไม่ไหว หรือ ต้องโดนเรียกเติมเงินได้

3.ฝีกฝนการซื้อขาย ด้วยการซื้อขาย ผ่านการบริหารพอร์ตจำลอง ก่อนการซื้อขายจริง เพื่อลดความเสี่ยงและข้อ
ผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น รวมถึงจะได้ฝีกฝนการตัดสินใจ ก่อนการลงทุนจริง

สำรวจความพร้อมก่อนการลงทุน

สำรวจความพร้อมก่อนการลงทุน
ก่อนการลงทุนต้องมีการวางแผนตัดสินใจจัดการเกี่ยวกับภาระด้านการเงินหรือด้านอื่นๆที่มีอยู่เสียก่อน เงินส่วนทีจะนำมาลงทุนนั้นต้องเป็นเงินจากส่วนที่เหลือหลังจากที่เตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานสำหรับชีวิตไว้เรียบร้อยแล้วซึ่งรายจ่ายที่ควรจัดเตรียมไว้ก่อนลงทุนในตลาดหลักทรัพได้แก่

1. เงินสำรองเพื่อฉุกเฉิน เป็นเงินที่ควรกันออกจากรายได้เพื่อใช้ลดความเสี่ยงในกรณีฉุกเฉินควรมีประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายในปัจจุปันและควรเก็บไว้ในรูปสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย

2.ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ในการดำรงค์ชีวิต เช่นค่าปัจจัยสี่ เป็นต้น

3. ภาระหนี้สิน ไม่ควรมีหนี้สิน และไม่ควรก่อหนี้เพื่อที่จะมาลงทุนในหลักทรัพย์เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง

4. ค่าเบี้ยประกันภัยก่อนนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ควรมีการทำประกันภัยไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิต

5.เงินสำหรับแผนการในอนาคต เป็นเงินออมที่ควรมีไว้สำอหรับแผนการในอนาคตที่คิดว่าจะต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆก็ตาม

หากมีความพร้อมในเรื่องเหล่านี้แล้วก็สามารถที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้เลย

ที่มา http://learners.in.th/blog/money/23370

การตั้งมั่นไม่ประมาทในการลงทุน

การตั้งมั่นไม่ประมาทในการลงทุน
ได้ผ่านงานเฉลิมฉลองในเทศกาลปีใหม่กันไปแล้วนะคะ และเป็นการก้าวเข้าสู่ปีฉลูที่เศร้าสลดหดหู่ เพราะการฉลองเข้าสู่ปีใหม่ของกรุงเทพมหานครด้วยเหตุเพลิงไหม้ไนต์คลับหรูกลางกรุงที่ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 64 ราย และบาดเจ็บพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอีกจำนวนหลายสิบคน บ้างจึงตั้งชื่อว่าเป็นปีวัวเพลิง บ้างก็เรียกว่าวัวบ้า ก็ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้ประสบเคราะห์กรรมทุกคนด้วยนะคะ

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2552 นั้น ดังที่เคยเรียนไปแล้วนะคะว่าจะเป็นปีหนึ่งที่ยากลำบาก สำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะการถดถอยทางเศรษฐกิจและการอ่อนตัวลงแรงของอัตราเงินเฟ้อ จะทำให้มีแนวโน้มการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหมายถึงว่ารายได้และกำลังซื้อของประชาชนโดยรวมน่าจะอ่อนตัวลง ดังนั้นจึงต้องตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทในการใช้จ่ายเงินตลอดจนการบริหารจัดการการเงิน

คำถามคงจะมีแล้วว่าจะมีกลยุทธ์ลง ทุนอย่างไรดี และควรจะลงทุนในหลักทรัพย์ อะไรและสัดส่วนเท่าไร ก็คงตอบด้วยคำถาม เดิม ๆ ที่ว่า ควรต้องมีการกระจายการลงทุน การกระจายการลงทุนอยู่บนหลักการที่ว่าจะไม่เก็บรักษาไข่เอาไว้ในตะกร้าเดียว เพราะหากหกหล่นแล้วก็จะแตกเสียหายไปทั้งหมดการแยกเก็บไข่ไว้เมื่อมีส่วนใดแตกเสียหายก็จะยังมีส่วนที่ดีเหลืออยู่ คำอธิบายนี้ก็คือว่าหากมีความไม่แน่นอนหรือไม่มีความมั่นใจแล้วควรที่จะลงทุนในการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภทกระจายความเสี่ยง

การกระจายการลงทุนนั้นก็จะสามารถ จำแนกได้ตามหลักการ คือการกระจายการลงทุนตามประเภทของความเสี่ยง คือกลุ่มความเสี่ยงต่ำ และกลุ่มความเสี่ยงสูง (ทั้งผลตอบแทนการลงทุนก็จะผกผันกับความเสี่ยงด้วย) สำหรับความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ ที่พึงต้องพิจารณานั้น ได้แก่

(1) ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นอันเกิดจากการลดลงของมูลค่าหรือขาดทุนจากการลงทุนในกลุ่มนี้ ได้แก่ ราคาหุ้น หรือราคาสินทรัพย์บางประเภท เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้นที่ มีราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามกาลเวลาที่ผ่านไป แต่หลักทรัพย์บางประเภทจะมีราคาเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา เช่น ที่ดิน ทองคำ เครื่องประดับมีค่าต่าง ๆ เป็นต้น

(2) ความเสี่ยงทางด้านเครดิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้ตามกำหนด

(3) ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง หมายถึงการขาดสภาพคล่องที่ไม่สามารถแปลงหลักทรัพย์กลับคืนเป็นเงินได้ง่าย เพราะหาก ต้องการจะแปลงเป็นเงินแล้ว มูลค่าหรือราคาก็จะ ลดลงมากในการโอนเปลี่ยนมือ กรณีที่ชัดเจน คืออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน บ้านและอาคารพาณิชย์ต่าง ๆ

(4) ความเสี่ยงจากปัจจัยตลาดที่ ไม่เอื้ออำนวย อาจจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทน ตัวอย่าง เช่น วิกฤติการทางการเงินของโลกที่เกิดขึ้นในปี 2551 เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ที่ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างรุนแรงทั่วโลก และปัจจัยทางเศรษฐกิจและความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการกำหนดผลตอบแทนการลงทุนในนี้

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงที่จะเกิดจากการขาดทุนได้นั้นก็คงจะต้องลงทุน ในหลักทรัพย์กลุ่มที่มีความมั่นคงสูงประเภทการฝากเงินและการถือตราสารหนี้ระยะสั้นนะคะ แต่การฝากเงินและตราสารหนี้นั้นก็อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่แต่ละท่านจะรับ ได้แล้ว ก็คงจะตัดสินใจเลือกได้นะคะว่าจะลงทุนอย่างไร.

ที่มา นสพ.เดลินิวส์

สาระ ล่ำซำ..มนุษย์ประกันผู้หลงรักประกัน

สาระ ล่ำซำ..มนุษย์ประกันผู้หลงรักประกัน
ผู้ชายเจเนอเรชั่น X ที่ถูกสอนให้มีความชอบและรักความท้าทาย ชีวิตของ "สาระ ล่ำซำ" จึงโลดแล่นไปบนความท้าทาย

นั่นทำให้เขาสนุกสนานอยู่กับการแข่งขันในธุรกิจประกันชีวิต ที่ไม่ว่าจะรุนแรงเพียงไหน แต่สาระยังบอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า "ผมมีความสุขกับการแข่งขัน"

ในวัย 30 ปลายๆ ของสาระ อาจจะยังไม่ได้มองไกลไปถึงชีวิตหลังเกษียณ แค่มีภาพคร่าวๆ ว่า คงอยากใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวกับธรรมชาติ ใช้ชีวิตแบบสบายๆ อย่างมีความสุข

"ที่จริงผมโชคดีนะ ผมมีความสุขกับปัจจุบัน ต้องบอกว่าเป็นยุคที่โชคดีมากมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ เหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดฝัน ก็เจอ ผมอยากให้ทุกคนมองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องที่ดี มองในแง่บวก พอเราผ่านเรื่องใหญ่ๆ ปัญหาเยอะๆ แบบนี้มาได้ มันจะสร้างประสบการณ์ให้โตขึ้น ทำให้เรามองได้หลากหลายมุม"

ในแง่มุมของเรื่องเงินๆ ทองๆ สาระบอกว่า คนเราจะจัดการเงินทองได้ โดยหลักการคือต้องเริ่มจาก "รู้จักตัวเอง" และตามมาด้วยมี "วินัย" ทางการเงิน

"คนเราต้องมีวินัย ถ้าไม่มีวินัยซะทุกอย่างก็จบ ผมเองก็พยายามอยู่ในเรื่องการรักษาวินัย แต่ก็ยอมรับว่าไม่มีวินัยในหลายเรื่อง เรื่องเงินๆ ทองๆ บางครั้งก็สปอยล์ตัวเอง เช่นเรื่องชอปปิง คนเรามันมีอารมณ์วูบหนึ่งที่อยากซื้ออยากช้อป หลายครั้งที่วูบแล้วได้เลย เราต้องดูดีๆ หรือถ้าใครที่รู้ตัวว่าบังคับตัวเองไม่ได้ก็อย่าไป อยู่บ้านดูทีวีดีกว่า บางทีผมก็ไม่ไปไหน เดี๋ยวนี้กลายเป็นพวกวินโดว์ ชอปปิง แค่นั้นก็มีความสุขแล้ว สิ่งหนึ่งที่สอนตัวเองคือคนเรายังมีกิเลสต่างกันที่มากน้อยแค่นั้นเอง ฉะนั้น ก็ต้องพยายามจัดการกิเลสในแบบของตัวเอง ตอนนี้ผมก็ยังวูบเป็นพักๆ"

ในมุมของเรื่องการลงทุน สาระบอกว่า เขากระจายลงทุนในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ไปจนถึงการออมผ่านประกัน

"ผมจะซื้อหุ้นผ่านทางพวกกองทุนรวมและโบรกเกอร์ ถ้าจะให้ดูเองแล้วซื้อ แบบนั้นไม่มี เพราะผมไม่มีเวลาศึกษาอย่างลึกซึ้ง ดวงไม่ดีในเรื่องหุ้น ซึ่งหุ้นในความเป็นจริงต้องทำใจว่ามีความเสี่ยงมาก แม้จะมีนักวิเคราะห์แนะนำหุ้นให้แต่ผมก็ไม่เชื่อทุกตัว โดยมากก็จะลงทุนในหุ้นเฉพาะพื้นฐานดี

โดยหลักการผมจะแบ่งเป็นวงเงินที่ทำใจไว้ เป็นเงินที่ถึงแม้ขาดทุนก็จะไม่กระทบกระเทือนฐานะ ส่วนใหญ่เป็นเงินเย็น ไม่แตะเลย พอครบกำหนดก็หาที่ลงทุนใหม่ อีกส่วนคือเงินลงทุนอะไรก็ตามที่สามารถหยิบออกมาเบิกถอนได้อย่างคล่องตัว ต้องมาจับจ่ายในยามฉุกเฉินกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน หรือไปเจออะไรที่น่าลงทุนก็ลงทุนก็ถอนออกมาได้ พูดง่ายๆ คือต้องมีสภาพคล่อง"

และที่ขาดเสียไม่ได้เลยสำหรับมนุษย์ประกันอย่างเขาคือ การบริหารความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัวด้วยกันทำประกันชีวิต ในบทบาทของการเป็นผู้นำครอบครัว สาระบอกว่าโดยหลักการจำเป็นต้องมีความคุ้มครองให้กับครอบครัวเพื่อเป็นหลักประกันในอนาคต ซึ่งต้องทำให้ครอบคลุมพื้นฐานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับครอบครัวต่อเดือนในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวไม่อยู่ จะต้องไม่กระทบครอบครัว

อีกอย่างหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในอนาคต เช่น ค่าเล่าเรียนของลูกสองคน เขาต้องใช้เงินเรียนเท่าไหร่จนกว่าจะจบ พวกนี้ต้องคำนวณเอาไว้และทำให้ครอบคลุม

"เรื่องของประกันชีวิต ผมซื้อเบสิกของประกันชีวิตและซื้อประกันสุขภาพควบไปด้วย เหตุผลเพราะผมเป็นที่หารายได้อยู่คนเดียว ภรรยาหนึ่งลูกสาวสองคนกำลังศึกษา ภรรยาผมเป็นแม่บ้าน ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาหลักประกันเพื่อครอบครัว แต่ผมไม่ได้ซื้อครั้งเดียว เพราะเบี้ยเยอะมาก สิ่งเหล่านี้ตั้งเป็นโจทย์แล้วค่อยๆ ซื้อสะสมขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าไปมองว่าเป็นการแช่งตัวเอง แต่ให้มองว่าเป็นการบริหารความเสี่ยง คนมักจะมองว่าการทำประกันเป็นเรื่องเสียเปล่า อย่ามองว่าเสียเปล่า เพราะที่จริงมันคุ้มมาก ทำแล้วเราจะอยู่อย่างสบายใจ หรือถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง ก็คิดซะว่าเป็นการลงทุนที่เป็นมรดกให้ครอบครัวในอนาคตหากเราไม่อยู่ ลูกและภรรยาจะได้สบาย"

ไม่ได้มีแค่หุ้นกับประกันเท่านั้น แต่สาระยังลงทุนในอสังหาริมทรัพย์บ้างแบบพอหอมปากหอมคอ เขาเล่าว่ามีที่ดินแถวสุขุมวิท จึงนำมาสร้างบ้านให้คนเช่า ก็ถือว่าเป็นการลงทุนเล็กๆ น้อยที่เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกๆ แม้ไม่มีประสบการณ์นี้เท่าไหร่ แต่ก็ไปได้เรื่อยๆ สาระบอกว่าการลงทุนในพวกอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นกับโลเคชันเป็นหลัก และรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร

"ส่วนทองคำผมว่าต้องศึกษาให้ดีพอ มันไม่ใช่ของง่าย ถ้าซื้อต้องซื้อเพราะมันเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า แต่ไม่ใช่ซื้อเพราะเก็งกำไร ถ้าจะลงทุนจริงๆ ผมว่าลงทุนผ่านกองทุนจะง่ายกว่า แต่ถ้ามาเล่นเองตามไม่ทันแน่นอน"

สิ่งหนึ่งที่หลายคนมองว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งของเขาคือรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ แต่สาระบอกว่าไม่ใช่ เขาซื้อของพวกนี้ด้วยความรักและความชอบ ในมุมมองของเขาถ้าซื้อรถมาแล้วต้องใช้ ถ้าซื้อเพื่อเก็บ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะของพวกนี้ซื้อมาแล้วด้อยค่าแน่นอน ขอให้ทำใจว่าเรามีความสุขจากการได้ใช้ เพราะการได้ใช้คือความคุ้มค่า

"เวลาออกต่างจังหวัดผมจะใช้รถตลอด ผมจะตั้งโจทย์ไว้เลยว่า รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ซื้อมาแล้วต้องใช้ บางคนบอกว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่ผมเล่นไม่เป็น ผมซื้อด้วยความชอบ แต่สร้างนิสัยมีวินัยให้ตัวเองด้วยการที่ เวลาจะซื้อของใหม่ ต้องขายของเก่าให้ได้ก่อน"

สำหรับวิกฤติรอบนี้ สาระบอกว่าถ้าเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตส่วนตัว แทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลย เพราะโดยปกติเขาไม่ค่อยได้เที่ยวหรือใช้จ่ายอะไรมากมายอยู่แล้ว เสาร์อาทิตย์ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว วันธรรมดาทำงาน พอเกิดวิกฤติก็เลยไม่ต้องปรับชีวิตมากมายนัก แต่บางคนที่ใช้เงินเกินตัวมาตลอด ใช้บัตรเครดิตมากไป อันนี้อาจจะต้องปรับตัวเยอะ

สาระพูดทิ้งท้ายถึงธุรกิจประกัน ว่าเป็นธุรกิจระยะยาว มีประโยชน์มาก ได้ช่วยเหลือคนได้เยอะจริงๆ อีกมุมของประกันคือการได้เข้าไปสัมผัสชีวิตคนจริงๆ นั่นคือเสน่ห์ของประกัน เขาว่า คนที่ลองได้สัมผัสประกันจะอยู่กับมันตลอดไป

"ผมไม่เคยคิดจะทำธุรกิจประกัน ไม่ใช่อาชีพในฝัน คนในยุคของผมต้องเป็นไอบี ถึงจะดูเท่ห์ และเป็นอาชีพในฝันของหลายคนในรุ่นนี้ แต่ตอนนี้ผมคิดว่าโชคดีที่ได้มาอยู่ในธุรกิจประกัน

ผมได้เติบโตมากับมัน ทำให้เห็นภาพวิวัฒนาการ การเติบโตของคน พัฒนาการของผลิตภัณฑ์ พัฒนาการของคนไทย คนไทย 65 ล้านคน มีหลากมุมมอง ผมมีความสุขเวลาออกไปสัมผัสเจอกับคนในหลายๆ ที่ๆ น่ารัก ก็เรียกว่าเป็นธุรกิจการเงินที่ทำให้ได้สัมผัสทุกรูปแบบของชีวิต ทุกวันนี้ผมมีความสุขกับธุรกิจประกัน รักมัน ให้ผมไปทำอย่างอื่นไม่รู้ทำเป็นรึเปล่า วันนี้มนุษย์ประกันเท่ห์สุด เท่ห์กว่ามนุษย์ทองคำซะอีก"

สาระบอกว่าถ้าใครก็ตามที่เข้าถึงประกัน ก็จะรู้สึกว่าเป็นประโยชน์จริงๆ แต่ต้องเลือกให้ถูกเท่านั้นเอง ประกันไม่ควรจะเป็นภาระ บางคนซื้อผิด ซื้อแพง ซื้อในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ก็เลยกลายเป็นภาระ

นั่นทำให้ เขาอยากเห็นคนไทยเปิดใจเรื่องประกันมากขึ้น

ค่ายประกันคึกคัก ขนกรมธรรม์ใหม่แข่งขันครึ่งปีหลัง

ค่ายประกันคึกคัก ขนกรมธรรม์ใหม่แข่งขันครึ่งปีหลัง
ประกันภัยพร้อมใจออกผลิตภัณฑ์ใหม่แข่งขันตลาดครึ่งปี ประกันชีวิตออกแผนเน้นออมระยะสั้น พรูเด็นเชียล ออกกรมธรรม์รองรับสภาวะดอกเบี้ยขาลง ขณะที่ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต รุกหนักช่องทางตัวแทน ออกกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองสูง ด้านวินาศภัยไม่น้อยหน้า แข่งเดือดกรมธรรม์เพื่อผู้สูงอายุ

วางแผนทางการเงินอย่างคุ้มค่ากับ พรูเด็นเชียลฯ
บินายัค ดัตตา กรรมการผู้จัดการ บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 บริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตใหม่เพื่อรองรับสภาวะเศรษฐกิจในยุคดอกเบี้ยขาลง ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการวางแผนทางการเงินที่คุ้มค่าเพื่ออนาคตที่มั่นคง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนทางการเงินเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน หรือ ผู้ที่เตรียมความพร้อมก่อนวัยเกษียณ หรือ ผู้ที่มองหาการลงทุนที่คุ้มค่า ให้ผลตอบแทนสูง รวมไปถึงการได้รับความคุ้มครองชีวิต และรับเงินคืนตลอดสัญญา
สำหรับ แบบประกันดังกล่าว คือ PRUfuture builder แผนประกันชีวิตออมระยะสั้น ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 5 ปี พร้อมรับความคุ้มครองนานถึง 15 ปี โดยรับผลตอบแทนตลอดสัญญาสูงถึง 500% ของทุนประกันภัย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้คือ รับผลตอบแทนสูงพร้อมความคุ้มครองโรคร้ายแรง หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง จะได้รับยกเว้นเบี้ยประกันภัยหลัก ตลอดระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย เริ่มรับประกันภัยสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17–55 ปี ทุนประกันภัยขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 50,000–3,000,000 บาท พร้อมรับเงินคืน ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 5-9 โดยได้รับเงินคืนปีละ 5% ของทุนประกันภัย สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10-14 ได้รับเงินคืนปีละ 15% ของทุนประกันภัยและสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 15 ได้รับเงินคืนอีก 400% ของทุนประกันภัย
ทั้งนี้ สามารถแบ่งชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือนราย 3 เดือน ราย 6 เดือนหรือรายปีได้ นอกจากนี้ ยังได้รับความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตสูงสุดถึง 500% ของทุนประกันภัย อีกทั้งผู้เอาประกันภัยยังสามารถขอรับความคุ้มครองเพิ่มเติมได้อีกด้วย และยังสามารถนำ “เบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิต” มาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

SCNYL ส่ง 3 กรมธรรม์ รุกช่องทางตัวแทน
โดนอลด์ คาร์ดีน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต เปิดเผยว่า เพื่อรับมือกับการแข่งขันในครึ่งปีหลัง และสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทที่จะเร่งขยายการเติบโตในช่องทางตัวแทนกรมธรรม์ใหม่ 3 แบบ ได้แก่ สินเพิ่มพูน 2 (20/15) นิวยอร์คไลฟ์ นิว เซฟไลท์ (72/20) และ นิวยอร์คไลฟ์ ดับเบิล แคช (20/20) เป็นกรมธรรม์ประเภทสะสมทรัพย์ มีจุดเด่นคือ ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ต่อเนื่อง ยาวนาน และให้ความคุ้มครองสูงตลอดอายุสัญญา สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง ปานกลาง และต่ำ ซึ่งต้องการวางแผนการลงทุนระยะกลาง หรือระยะยาว
“สำหรับเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มถดถอยอย่างต่อเนื่องขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่จูงใจแน่นอน มั่นคง และมีความเสี่ยงต่ำกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะให้การันตีผลตอบแทนที่แน่นอนแล้ว ยังมีจุดเด่นด้านความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 1 แสนบาทต่อปีอีกด้วย ซึ่งเป็นโอกาสที่เราจะขยายตลาดได้เป็นอย่างดีเราจึงได้ปรับปรุงผลตอบแทนในกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ให้มีความคุ้มค่าแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น” โดนอลด์ กล่าว

“วินาศภัย” แข่งเดือดประกันภัยผู้สูงอายุ
อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ผู้อำนวยการธุรกิจลูกค้ารายย่อย บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบริษัทมีการรุกขยายตลาดลูกค้ารายย่อย 6 เดือนหลัง โดยเตรียมขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้สูงอายุในลักษณะประกันภัยอุบัติเหตุที่เพิ่มความคุ้มครองกรณีกระดูกแตกหักและค่ารักษาพยาบาล เช่น กายภาพบำบัด เนื่องจากปัจจุบันตลาดผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่กลับไม่ได้รับความคุ้มครองหรือความคุ้มครองหายากขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มทำตลาดปลายเดือนสิงหาคม 2552 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ กรุงเทพประกันภัย ยังได้ออกกรมธรรม์ในชุด 4 โรคคลาสสิค ให้ความคุ้มครอง 4 โรคร้ายแรง (เรื้อรังและถาวร) ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายเรื้อรัง และชุดมนุษย์เงินเดือน จับตลาดพนักงานบริษัท ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงถึง 400,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 25,000 บาทต่อครั้ง หรือตรวจพบครั้งแรกว่าเป็นโรคมะเร็ง จะได้รับการชดเชยสูงสุด 400,000 บาท รวมถึงยังได้รับเงินชดเชยรายวันในระหว่างที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ว่าด้วยสาเหตุอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยคุ้มครองสูงสุดวันละ 2,500 บาท นานถึง 200 วันรวมทั้งสิ้น 500,000 บาท
ในขณะที่ ปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัททำการออกแผนประกันภัยใหม่ล่าสุดเพื่อผู้สูงอายุ PA Happy Senior ที่มีเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก พร้อมมอบบัตร “PA Platinum Card” เพื่อสิทธิพิเศษในการรักษาพยาบาลตามวงเงินที่ได้รับความคุ้มครอง โดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายล่วงหน้า รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 1 แสนบาท รับผลประโยชน์การชดเชยกระดูกแตกหักนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล
นอกจาก PA Happy Senior บริษัทยังมีแผนประกันภัยอีก 2 แผนที่นำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าของบริษัท ประกอบด้วยแผนประกันภัยรถยนต์ และแผนประกันภัยธุรกิจ SMEs และยังได้มีการพัฒนาแผนประกันภัยใหม่จากสินค้าเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการและให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

เอไอเอดีแต่โฆษณา

เอไอเอดีแต่โฆษณา
เปิดซองส่องไทย"ลุงแจ่ม"
คมชัดลึก : ทำประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุของเอไอเอ เดือนละ 319 บาท โดยเจ้าหน้าที่ของเอไอเอโทรมาชักชวนให้ทำประกัน

ปัญหาคือ กรมธรรม์ M5009XXXX-X ทางบริษัทหักเงินผ่านบัญชีไปครั้งแรกวันที่ 15 กันยายน 2552 จำนวน 3 งวด เป็นเงิน 957 บาท จึงได้โทรไปถามกับทางบริษัทวันที่ 30 กันยายน ทางบริษัทแจ้งว่ายังไม่มีข้อมูลชื่อนี้ในระบบ
ต่อมาวันที่ 30 กันยายน ก็มีการตัดผ่านบัญชีไปอีกหนึ่งงวดจำนวน 319 บาท
หลังจากนั้นวันที่ 5 ตุลาคม เพิ่งได้รับกรมธรรม์โดยไปรับที่ไปรษณีย์ ในกรมธรรมระบุวันที่เริ่มสัญญา 1 กรกฎาคม วันออกกรมธรรม์ 19 กันยายน แต่ได้รับเอกสารและบัตรที่ใช้รักษาพยาบาลในวันที่ 5 ตุลาคม จึงได้โทรไปสอบถามที่บริษัทอีกครั้ง เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นการคุ้มครองย้อนหลัง แล้วอย่างนี้จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อไม่มีบัตรประกันไปหาหมอก็ไม่ได้เท่ากับเสียเงินฟรีไป 3 เดือน
ขอสอบถามดังนี้
1.สามารถเปลี่ยนวันที่คุ้มครองเป็นวันที่ 1 ตุลาคม ได้หรือไม่ เพราะวันที่ออกกรมธรรมกับวันที่เริ่มทำสัญญาห่างกันถึง 3 เดือน
2.กรณีที่จะยกเลิกจะได้เงินคืนครบหรือไม่ เนื่องจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ยังไม่ถึง 15 วัน
3.เจ้าหน้าที่เอไอเอบอกว่าจะติดต่อกลับมา พอโทรมาก็ตามเรื่องไม่ได้ต้องเล่าให้ฟังใหม่ทั้ง 3 รอบ ไม่ทราบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ที่คอยประสานงานหรือทำไมไม่ส่งเรื่องกันเลย
4.มีเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าอาจต้องทำเรื่องเป็นเอกสารไป แต่ทำไมไม่ให้รายละเอียดว่าต้องทำอย่างไรและติดต่อให้พนักงานมารับข้อร้องเรียนได้ไหม เนื่องจากตอนขายประกันยังให้พนักงานมารับเอกสารได้เลย
เสียความรู้สึกกับเอไอเอมาก เพราะความเชื่อมั่นและเห็นในโฆษณา ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ความผิดของบริษัท แต่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานไม่มีความรับผิดชอบเลย
ผู้สูงอายุ
ตอบ
นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) ชี้แจงว่า โครงการประกันภัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่จะได้รับความคุ้มครอง ง่ายๆ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยด้วยการชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร
กรณีของคุณได้มีการตกลงทำสัญญาประกันภัยกับเอไอเอ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ชำระเบี้ยประกันภัยโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งมีการหักค่าเบี้ยประกันภัยในวันที่ 15 กันยายน 2552 เป็นวันที่บริษัทได้รับอนุมัติจากธนาคารให้หักเงินค่าเบี้ยประกันภัยผ่านธนาคาร โดยเป็นค่าเบี้ยประกันภัยของงวดเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2552
ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทได้รับชำระค่าเบี้ยประกันภัยงวดเดือนตุลาคม 2552 ถึงแม้ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อ 5 ตุลาคม 2552 แต่ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท
รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร เอไอเอ บอกว่า เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานกับผู้เอาประกันภัยให้รับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ และได้ทำความเข้าใจกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ จะนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ลุงแจ่ม

คมชัดลึก

ประกันชีวิต vs การฝากธนาคาร

ประกันชีวิต vs การฝากธนาคาร
หลักการที่แท้จริง : -
โดยพื้นฐานแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการสูญเสียรายได้ที่บุคคลผู้นั้นจะพึงได้รับหากเขามีชีวิตยืนยาวอยู่ต่อไป หรือเป็นการรองรับเงินออมล่วงหน้าที่เขาน่าจะเก็บออมได้ ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ในระยะยาว ( 10 ปี ขึ้นไป ) กล่าวโดยสรุปก็คือกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นการหวังผลตอบแทนในระยะยาวต่างกับการฝากธนาคาร ที่โดยปกติเป็นการเก็บเงินไว้ชั่วคราว เผื่อการถอนมาใช้เมื่อมีความต้องการแม้จะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ตามดังนั้นหากพิจารณาถึงหลักการพื้นฐานดังกล่าวแล้ว กรมธรรม์ประกันชีวิตก็คือการแบ่งเงินออมส่วนหนึ่งจากเงินออมที่เก็บได้ทั้งหมดมาสร้างหลักประกันทางการเงินในอนาคต ไม่ใช่เอาเงินออมทั้งหมดมาซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตเพราะหากทำเช่นนั้นเมื่อเกิดกรณีต้องการใช้เงินเร่งด่วนจำนวนหนึ่งก็จะทำไม่ได้ เพราะในระบบของการประกันชีวิต เราไม่สามารถถอนเงินด่วนได้เหมือนระบบธนาคาร

ทางเลือกที่น่าจะลงตัว :-
สำหรับท่านที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ในเบื้องต้นควรจะสำรวจหาความจำเป็นทางการเงิน ( FINANCIAL NEEDS ) ที่แท้จริงและตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินของท่านให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร หากท่านมีสภาพคล่องทางการเงินสูงและมีความจำเป็นทางการเงินต่ำ การมองหากรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินสูงก็เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา แต่หากท่านยังมีความจำเป็นทางการเงินสูง และมีสภาพคล่องทางการเงินไม่มากนัก เก็บเงินออมได้น้อย การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพหรือแบบมีกำหนดระยะเวลา หรือแบบสะสมทรัพย์ธรรมดาน่าจะเหมาะสมมากกว่า

ออมเงินกับประกันชีวิตคุ้มมั้ย?


ออมเงินกับประกันชีวิตคุ้มมั้ย?
ตอนนี้เจ้าหน้าที่ขายประกันเร่งทำยอด โทรเข้ามาถี่กว่าเพื่อนๆ ของเราเสียอีก หนำซ้ำพวกเขายังพูดถึงข้อดีเกี่ยวกับประกันมากมาย

ที่เราอาจจะสงสัยว่ามันดีจริงๆ หรือพูดเพราะต้องการให้เราซื้อกันแน่นะ

รู้จักประกันชีวิต
ประกันชีวิตเป็นบริการอย่างหนึ่งที่ให้หลักประกันเป็นเงินลงทุน และบริการดูแลสุขภาพควบคู่กันไปด้วย ซึ่งมีมากมายหลายแพ็กเกจที่บริษัทประกันจะจัดโปรโมชั่นเพื่อให้เหมาะสมกับลูกค้า โดยปกติแล้วมันจะจัดประกันชีวิตให้รวมกับการประกันสุขภาพไปด้วย ซึ่งประกันชีวิตคุณจะได้เงินปันผลหรือไม่เงินคืนเมื่อกรมธรรพ์สิ้นสุดลง แต่ประกันสุขภาพก็เหมือนเงินกินเปล่าทุกๆ ปี แต่จะปลอดภัยและคุ้มค่าเมื่อคุณไม่สบาย

ประกันชีวิตจึงถือเป็นการออมเงินในรูปแบบหนึ่งที่มีของแถมเป็นการคุ้มครองจากบริษัทประกัน ดังนั้น ความคุ้มค่าจึงอยู่ที่ความต้องการของคุณเอง ว่าต้องการเงินคืนในรูปแบบใด ภายในปีไหน เช่น ออมสำหรับเกษียณอายุ ออมสำหรับการศึกษาของลูก เป็นต้น

ประกัน...ค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง
การคิดทำประกันนั้นเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่อาจจะทำให้คุณหมุนเงินไม่ทันได้ แม้ว่าจะสามารถแบ่งจ่าย 3 เดือน 6 เดือน แต่ก็ยังถือว่าเป็นรายจ่ายประจำที่คุณจะต้องหามาให้ทัน ซึ่งถ้าคุณวางแผนไม่ดีแล้วและขาดส่งไป 1 -2 งวด ประกันอาจจะงดการคุ้มครองรวมทั้งอาจจะริบเงินต้นส่วนที่คุณได้ส่งมา หรือได้คืนแบบไม่เต็มจำนวน ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกทำประกันชีวิต ต้องดูศักยภาพตัวเองด้วยว่าสามารถทำได้แค่ไหน อย่าเพิ่งเห็นแก่ค่าตอบแทนอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าคุณไม่อาจส่งเงินได้อย่างสบายๆ เพราะถ้ายกเลิกก่อนหน้านั้นคุณอาจจะไม่ได้อะไรเลยแถมขาดทุนด้วย

ค่าตอบแทนจากประกันชีวิต
หากคุณจ่ายประกันชีวิตคิดเป็นปีละ 50,000 บาท รวมแล้ว 10 ปี อย่างต่ำสุดคือคุณจะได้เงินทั้งหมด 500,000 บาทคืน ซึ่งคุณควรดูที่ระยะเวลาและผลตอบแทนการออมครั้งนี้ให้ดี เพราะบางบริษัทจะให้คุณส่งเป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบกำหนดส่งแล้วก็จะยืดเวลาการชำระเงินออกไปเป็นปีที่ 15 ข้อเสียคือคุณจะต้องรอเงินนานขึ้น แต่ค่าตอบแทนอาจจะมากขึ้นด้วย ขึ้นอยู่กับความพอใจของคุณว่ามันจะคุ้มค่ากับการรอหรือไม่ ส่วนมากค่าตอบแทนของบริษัทประกันจะเป็นการประมาณการ เนื่องจากเขาต้องนำเงินของคุณไปลงทุนเช่นกัน ดังนั้น คุณควรถามการการันตีที่แน่นอน พร้อมอ่านสัญญาให้ละเอียดที่สุด เพราะตัวแทนประกัน (บางคน) อาจจะให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและเป็นผลเสียต่อคุณได้ เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาวที่หนักเอาการเหมือนกัน

ข้อดีของการออมแบบประกัน
มีหญิงสาวจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะทำประกัน เนื่องจากเป็นการบังคับตัวเองไปในตัวว่าจะต้องเก็บออมเงิน และมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้น ทองคำ หรือกองทุนบางประเภท แถมยังได้ความคุ้มครองอื่นๆ เป็นของแถมด้วย เรียกว่าเป็นการซื้อความมั่นคงในชีวิตและคนที่อยู่ภายหลัง หากวันใดวันหนึ่งเราได้จากโลกนี้ไปก่อน พวกเขาจะอยู่ได้ไม่ลำบาก

ส่วนที่ว่าจะคุ้มหรือไม่คุ้มต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ และไม่เสียรู้ต่อสัญญาต่างๆ ของประกัน เพียงเท่านี้ก็จะคุ้มค่าพอกับการออมแบบอื่นๆ แต่มีบริการเป็นของแถมด้วย


ที่มา http://www.lisaguru.com/guides/money

วิเคราะห์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

วิเคราะห์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
หลักการพื้นฐาน
เป็นแบบประกันที่มีรูปแบบคล้ายกับการฝากเงินไว้กับธนาคารประเภทฝากประจำ เพราะเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่นอกจากจะให้ความคุ้มครองการมรณกรรมของผู้เอาประกันตามวงเงินคุ้มครองที่เลือกไว้แล้ว ในระหว่างที่ผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินจำนวนหนึ่งตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์เช่น ทุก ๆ ปี ทุก 2 ปี ทุก 3 ปี ทุก 5 ปี เป็นต้น ในขณะเดียวกันเมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตยืนยาวจนครบกำหนดระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ เช่นครบ 10 / 15 /16 /18 / 20 / 21 / 25 หรือ 30 ปี ผู้เอาประกันก็จะได้รับวงเงินคุ้มครองครบเต็มจำนวน พร้อมเงินตอบแทนพิเศษอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์อีกด้วย

ข้อเด่น
เป็นกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันสามารถเห็นผลตอบแทนทางการเงินจากกรมธรรม์ได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และสำหรับกรมธรรม์ประเภทนี้บางแบบสามารถให้ผลตอบแทนทางการเงินมากกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับธนาคารตามอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมกับ เพศ วัย และความสามารถในการออมของแต่ละคน

ทำให้เด็ก ยิ่งคุ้มค่า
กรมธรรม์แบบนี้เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่จะทำให้เด็ก เพราะเป็นแบบประกันที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินไม่ว่าผู้เอาประกัน จะอยู่ครบสัญญาหรือมรณกรรมก่อนครบสัญญา และหากทำให้กับเด็ก ยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษที่แม้บิดา-มารดา ผู้ฝากเบี้ยประกันแทนบุตรจะมรณกรรมหรือทุพพลภาพก่อนครบสัญญา บุตรก็ยังคงได้รับผลตอบแทนทางการเงินตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์เช่นเดิมไปตลอดจนครบสัญญา โดยไม่ต้องมีใครมารับภาระเรื่องเบี้ยประกันที่ยังจ่ายไม่ครบอีกต่อไป
ที่มา www.moneyfor-life.com

ทำประกันชีวิตที่ธนาคาร ไม่ใช่การฝากเงิน

“ทำประกันชีวิตที่ธนาคาร ไม่ใช่การฝากเงิน”
ขออนุญาตเอามาลงในบล็อกนะคะ พอดีไปอ่านเจอเข้า แล้วเห็นว่าน่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน หลายๆท่านที่กำลังเข้าใจผิดและ โดนชักจูงให้เข้าใจในข้อมูลที่ผิด ลองมาอ่านนี่ดูคะ
นายสมเกียรติ ปัญหา

หัวหน้าสำนักงานประกันภัยจังหวัดแพร่

เรื่องมันเกิดตรงที่ว่ามีการขายประกันชีวิตโดยผ่านธนาคาร แต่ถ้าบอกกันตรง ๆ ว่าเป็นการประกันชีวิต ไม่ใช่การฝากเงินปัญหามันจะไม่มี แต่ที่มันเป็นปัญหาคือเมื่อเดินเข้าไปในธนาคารจะไปฝากเงิน หรือบางรายมีเงินฝากประจำหลักแสนหรือหลักล้าน ฝากเพื่อกินดอกเบี้ยกับธนาคารอยู่ จะได้รับคำเชิญชวนจากบุคคลที่อยู่ในธนาคาร ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพนักงานของธนาคารหรือของบริษัทประกันชีวิตในเครือของธนาคารก็ตาม ชักชวนให้ฝากเงินรูปแบบใหม่ปีละห้าหมื่นบาท หรือหนึ่งแสนบาท หรือจำนวนเงินตามที่ชักชวน โดยชี้แจงว่าจะได้รับผลตอบแทนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากแบบเงินฝากประจำจำนวนมาก และเมื่อตกลงว่าจะฝากเงินรูปแบบดังกล่าวแล้ว ก็จะมีการพาไปตรวจโรค โดยให้เหตุผลไปต่าง ๆ นานา ไม่บอกว่าเป็นการตรวจโรคเพื่อขอทำประกันชีวิต จากนั้นให้ลงชื่อในใบคำขอเอาประกันภัย หลังจากมอบเงินให้ไปแล้วโดยคิดว่าเป็นการฝากเงิน เพราะทำในธนาคาร แต่ 1 ถึง 2 สัปดาห์จะได้รับเอกสารเป็นเล่ม ไม่ใช่สมุดเงินฝาก แต่กลายเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต จึงมารู้ว่านี่ไม่ใช่การฝากเงินเป็นการทำประกันชีวิต ปัญหาเกิดล่ะที่นี้ ความต้องการคือต้องการฝากเงินแล้วได้ผลตอบแทนสูงแบบที่ถูกชักชวน ทำไมกลายเป็นอีกเรื่อง รู้สึกเดือดร้อนมากจะทำอย่างไรดี

อันดับแรกหากถูกเชิญชวน ให้ถามบุคคลที่เชิญชวนว่า ฝากเงินแบบพิเศษที่ว่า ฝากแล้วไม่ครบปีมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่อยากได้ล่ะดอกเบี้ยพิเศษถอนเงินคืนตามจำนวนที่ฝากได้หรือไม่ ถ้าเป็นการฝากเงินกับธนาคารจะสามารถถอนได้ทันทีตามความประสงค์เมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าฝากเงินแบบพิเศษที่อ้าง หากได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นเล่มใหญ่ ๆ มีหลายหน้า ไม่ใช่สมุดเงินฝากธนาคาร แบบนี้จะถอนเงินตามจำนวนที่ฝากไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะการประกันชีวิตเป็นการออมเงินแบบบังคับออม นั่นหมายถึงว่า หากยังไม่ครบกำหนดสัญญาประกันชีวิต จะไม่ได้รับเงินเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปแล้วคืน จะถอนแบบเงินฝากธนาคารก็ไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะครบอายุสัญญา เช่น 10 ปี หรือ 15 ปี เป็นต้น

อันดับต่อมาการฝากเงินกับธนาคารจะฝากประจำหรือฝากแบบไหนก็ตาม จำนวนเงินต้นยังคงอยู่ไม่สูญหายไปไหน แม้จะหยุดฝาก คงอยู่ครบจำนวน และได้ผลตอบแทนตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ฝากแบบพิเศษที่ถูกเชิญชวนที่เป็นการประกันชีวิตนั้น จะต้องฝากต่อเนี่องทุกปีตามสัญญาประกันประกันชีวิต จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระเบี้ยประกันชีวิต เช่น 10 ปี หากขาดส่งปีใด ไม่ว่าจะเนื่องมาจากไม่มีเงิน ตกงาน อาจจะทำให้สัญญาประกันชีวิตขาดผลบังคับ ผลตอบแทนตามที่เชิญชวนกันไว้จะไม่ได้รับตามที่บอกอย่างแน่นอน หนักไปกว่านั้น หากชำระเบี้ยประกันภัยได้ 1-2 ปี ผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่มีเลย รวมทั้งจำนวนเงินที่ชำระเบี้ยประกันภัยไปแล้วก็ไม่อาจที่จะเรียกหรือถอนคืนได้

ข้อดีของการประกันชีวิตคือ การที่ชำระเบี้ยประกันไปแล้วแม้เพียงเริ่มสัญญา จะมีความคุ้มครองตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ทันที หากเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจะได้รับจำนวนเงินตามความคุ้มครองอาจจะเป็น หนึ่งแสน สองแสน หรือตามสัญญาประกันภัย หรือเมื่อครบกำหนดสัญญาจะได้รับเงินตามทุนประกันภัยที่กำหนด อาจมีเงินปันผล มีการซื้อความคุ้มครองประกันสุขภาพ ทั้งนี้จะเป็นการบังคับให้ออมเงิน ซึ่งไม่อาจจะถอนได้หรือจะได้รับเงินคืนจนกว่าจะครบสัญญา เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อาจจะออมเงินได้ ต้องมีการบังคับออม แต่คนที่จะทำประกันชีวิตต้องถามตัวเองก่อนว่า การซื้อประกันชีวิตจำนวนเงินคุ้มครองเท่าใด จึงจะสามารถส่งชำระเบี้ยประกันภัยได้ตลอดอายุสัญญา 10 ปี หรือ 20 ปี หากส่งไม่ได้ผลตอบแทนย่อมไม่เป็นไปตามสัญญาประกันภัยอย่างแน่นอน

มันน่าเศร้าใจตรงที่ว่า ทำไมหนอคนเราจึงไม่เห็นอกเห็นใจกัน ตัวอย่างคือมีประชาชนคนหนึ่งเดินเข้าไปในธนาคาร จะเอาเงินไปฝาก ถูกบุคคลที่อยู่ในธนาคารชักชวนให้ฝากเงินแบบพิเศษผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำ พอลูกค้าตกลงฝากเงินด้วย ก็พาไปตรวจสุขภาพ ลูกค้าเองอ่านหนังสือไม่ออก และลงชื่อไปในใบที่เขาให้ลงชื่อ พอกลับบ้านสมุดเงินฝากธนาคารก็ไม่ได้ เงินไม่น้อยนะครับครี่งแสนบาทเลยล่ะ หลังจากนั้นไม่นาน ได้รับเอกสารเป็นเล่มใหญ่ส่งมาทางไปรษณ๊ย์ ไม่ใช่สมุดฝากเงิน เนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออก จึงปล่อยทิ้งไว้ มารู้ภายหลังว่าเป็นการประกันชีวิต เดือดร้อนแล้ว เวลานี้มาหาทางแก้กันไป รายนี้มีรายได้ต่อปีไม่มากนักหรอกครับเพราะแก่แล้ว ไหนเลยจะหาเงินมาส่งเบี้ยประกันภัยได้ทุกปีปีละครี่งแสนบาท เป็นเวลา 10 ปีตลอดอายุสัญญาประกันภัย เมื่อไม่ส่งขาดส่งก็จบไม่มีผลตอบแทนอะไรให้ตามที่ชักชวนกัน เงินที่ชำระไปแล้วก็สูญ เพราะไม่ใช่การฝากเงิน ที่จริงแล้ว แม้เป็นการประกันชีวิต เมื่อได้รับกรมธรรม์มาภายใน 15 วัน หากไม่ประสงค์จะทำประกันชีวิตสามารถยกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้ แต่ส่วนใหญ่ด้วยความที่ไม่รู้รับมาก็เก็บไว้เฉย ๆ กว่าจะรู้ก็ผ่านไปนาน เดือนร้อนต้องหาหนทางแก้ไขยากทีเดียว

ผมจึงขอบอกว่า การทำประกันชีวิตที่ธนาคาร ไม่ใช่การฝากเงินแบบพิเศษ ที่มีผลตอบแทนคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากเงินแบบประจำ หรือฝากเงินประเภทอื่นแต่ประการใด คนละเรื่องเลยครับ จะฝากเงินก็คือฝากเงินต้องได้สมุดเงินฝากธนาคาร จะทำประกันชีวิตที่ธนาคารอย่างไรเสียก็คือการทำประกันชีวิต ไม่ใช่การฝากเงินผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยพิเศษแต่อย่างใด หากมีความต้องการแบบใด ขอให้ไตร่ตรองและทำตามความต้องการของตนเอง อย่าเชื่อคำชักชวนที่ทำให้เราต้องพบกับความเดือดร้อนโดยไม่จำเป็นทีหลัง.

สำนักงานประกันภัยจังหวัดแพร่

สาระเกี่ยวกับประกันชีวิต

สาระเกี่ยวกับประกันชีวิต
คุณรู้มั้ยว่าบริษัทประกันถูกรับรองโดยรัฐบาล 100% มากกว่าธนาคาร

คุณรุ้มั้ยว่า ญี่ปุ่นคือประเทศที่มีอัตราการประกันชีวิตเยอะที่สุด 400%

คุณรู้มั้ยว่า ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้ถึง 100,000บาท

คุณรู้มั้ยว่า JFK เคยกล่าวถึงเรื่องการประกันชีวิต เพราะจะได้ลดภาระของรัฐบาลเพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศ และนายกที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก(จำชื่อไม่ได้)
ของสิงคโปรกล่าวยกย่อง บ.ประกัน

เหตุเพราะ? ลดภาระรัฐบาลในการดูแลคนแก่ และทำให้ประชากรไม่เดือดร้อน หากเสาหลักครอบครัวล้มลง
ยังไง?
เช่น ครอบครัวคุณมี พ่อแม่ลูก พ่อทำงานคนเดียว แม่เป็นแม่บ้าน ลูกกำลังเรียนอยู่ ม.3
บ้านต้องผ่อน รถก็ต้องผ่อน
ชีวิตไม่แน่นอน หากวันใดหัวหน้าครอบครัวล้มลง คุณคิดว่าครอบครัวนี้จะเป็นอย่างไร

แล้วหากมีประกันละ? ทุกวันนี้เราคิดแต่เรื่องในแง่ลบ เช่น ตัวแทนฆ่าผู้ทำเอาเงิน หรือ ปัดความรับผิดชอบ ใช่มั้ย
แต่นั่นแค่ส่วนน้อยเพราะอะไร? เพราะข่าวมันขายได้แต่ข่าวร้ายๆไง

หากเรามีประกัน ตัวอย่าง ทุนประกันบำนาญ 1ล้าน เบี้ย 20 ปี เริ่มจ่ายตั้งแต่อายุ 25 เมื่อเราจ่ายครบ 20 ปี เราหยุด
ถ้าถึง 60 เราจะได้เงิน??? 1,350,000 บาท แต่ 20 ปีที่เราจ่ายจะจ่ายไปประมาณ 750,000 บาท แต่หากเราตายละ?

ประกันชีวิตส่วนใหญ่ คุ้มครองตั้งแต่ปีแรก ทำปุ๊บตายปั๊บ ครอบครัวก็ได้เงิน 1 ล้านไว้ทำศพคุณไง

อย่า อย่าพูดว่า คนเราตายไปก็เอาไรไปไม่ได้ เพราะเมื่อคุณตายไป ภาระจะตกไปที่ใคร?

คำตอบคือคนที่คุณรัก พ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก ถูกคุณตายคุณไม่ได้เอาอะไรไป แต่คุณทิ้งภาระให้พวกเขาไว้อย่างน้อยก็ต่าทำศพคุณละ

ประกันชีวิตไม่ได้เลวร้ายอะไรอย่างที่คุณคิด ประเทศที่เจริญแล้วล้วนมีอัตราประกันเกิน 100%(เทียบเท่า 1คน 1กรมธรรพ์[ถูกปะ])

คร่าวๆนะครับ ผมไม่ได้ขายประกัน แต่แค่อยากเห็นประเทศชาติเจริญ และไม่อยากเห็นลูกเด็กเล็กแดงที่ไหนต้องรับกรรมจากคนที่เป็นพ่อ แม่ ทิ้งไว้

ตัวอย่างง่ายๆที่ผมจะยก

คุณอิทธิ พลางกูล ที่เสียชีวิตเพราะมะเร็ง ตลอดชีวิตเขาสามารถหาเงินได้เป็น 100ๆล้าน แต่ต้องมาจ่ายค่ายารักษาตัวเองจนหมด

ปัจจุบันลูกๆเขา จากที่เคยเรียนโรงเรียน นานาชาติ กับต้องมาเรียน โรงเรียนรัฐ
ภรรยาที่เคยอยุ่บ้านสบายๆ ต้องตื่นแต่เช้ามืดหอดไก่ขาย ทำงานถึงเย็น ลูกๆกลับมายังต้องช่วย

ไหนใครบอกตายไปเอาอะไรไปไม่ได้ ???? แล้วที่คนที่เขารัก กำลังประสพอยู่ละครับ????????

หากคุณมีเงิน มีแรงอยู่ตอนนี้ ศึกษาประกันดูทำไว้ซัก 1 กรมธรรพ์ ไม่แพงหรอกครับ

ตั้งสติ เก็บสตางค์


ตั้งสติ เก็บสตางค์
เคยนึกแปลกใจไหมว่า

ทำงานมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าโรคนี้คงเป็นโรคประจำตัวของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ ท่าน คนเรามีเวลาทำงานเต็มที่ไม่น่าเกิน 40 ปี และหลังจากนั้นคงใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี คิดแค่นี้ก็หนาวแล้ว หากทำงานไปเรื่อยๆ จนเกษียณแล้วไม่มีเงินเหลือเลย จะทำอย่างไรดี คิดง่ายๆ แค่หลังเกษียณมีข้าวกินให้ครบ 3 มื้อๆ ละ 100 บาท เราก็ต้องมีเงินเก็บประมาณ 2,910,000 บาทแล้ว ถ้าไม่เริ่มเก็บตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็มีหวังอดมื้อกินมื้อแน่นอน นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยนะ

เริ่มปีใหม่เริ่มต้นด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองกันดีกว่า อันดับแรกเริ่มจากการบอกกับตัวเองว่าปีใหม่ปีนี้เราจะทำดีถวายในหลวงด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งใจทำงาน ยึดพระราชดำรัสของพระองค์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเองเรื่องการเก็บออมอย่างมีวินัยและใช้จ่ายอย่างพอเพียง จะเริ่มอย่างไรดี

1. ต้องเก็บก่อนใช้ สร้างวินัยการออมให้ตัวเองก่อน ยึดหลักเก็บก่อนมีเงินก่อน อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น เงินเดือนแค่นี้จะเก็บได้อย่างไร แค่กินยังไม่อยากจะพอ ท่องไว้เลยว่า ถ้าเรา คิดจะเก็บเราต้องเก็บได้ มนุษย์เป็นไปตามความคิด ว่าแล้วเดือนนี้เงินเดือนออกมาปุ๊บเก็บปั๊บ เก็บก่อนใช้จะเก็บได้ อย่าลืมไปเปิดบัญชีฝากประจำชนิดที่ไม่ต้องเสียภาษีระยะเวลา 2 ปี ฝากเท่าๆ กันทุกเดือน (ตั้งแต่ 1,000 ถึงสูงสุด….ต่อเดือน) และที่สำคัญ บัญชีที่จะเก็บเงินต้องไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ใจต้องเข้มแข็งไว้เราจึงจะเก็บเงินได้ นึกถึงช่วงที่ไม่มีเงินหน้าจะแห้งท้องจะหิว เพื่อนฝูงก็เมิน

2. ต้องมีกติกาในการใช้บัตรเครดิตและใช้อย่างชาญฉลาด พกทีละใบใช้ทีละใบ อย่าลืมว่าการใช้บัตรเครดิตคือ การใช้เงินอนาคต ส่วนมากคนที่รูดบัตรเครดิตอย่างไม่คิดชีวิตจะมีอายุประมาณ 20 กว่าๆ และชอบชำระขั้นต่ำทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กำหนดวงเงินในการใช้บัตรเครดิตแต่ละเดือนเมื่อรวมกับการใช้จ่ายทั่วไปไม่ควรเกินวงเงินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จะได้ไม่มีปัญหาในเดือนถัดไป เมื่อใช้บัตรแล้วทุกเดือนควรชำระให้เต็มตามยอดหนี้และชำระให้ตรงตามระยะเวลาจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่

3. กำหนดกติกาในการเดินห้างสรรพสินค้า ต้องยอมรับว่าในห้างสรรพสินค้ามีสิ่งล่อตาล่อใจค่อนข้างมากแม้เราจะตั้งใจมั่นอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้าย ก็พ่ายแพ้กิเลส เพราะฉะนั้นอาจสร้างกติกากับตัวเองในการเดินห้างสรรพสินค้าเดือนละครั้ง เพื่อไปเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่ก็ควรเตือนตัวเองด้วยว่าอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ หากจำเป็นต้องซื้อของใช้ในบ้านก็ควรจดรายการไปให้เรียบร้อย

4. เริ่มจดบัญชีรายรับ-รายการใช้จ่าย การจดรายการใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้อะไรไม่ควรใช้ เริ่มปีใหม่เริ่มทำเลย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายและรู้สถานะการเงินของเราตลอดเวลา แบ่งเป็นช่องรายรับ และรายจ่ายจะได้รู้ว่าตอนนี้ติดลบแล้วหรือยัง นอกจากนั้น จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ด้วย

5. นึกถึงชีวิตยามเกษียณไว้เสมอ วันเวลาไม่เคยคอยใครเคลื่อนไปทุกวันเผลอแป๊บเดียวอายุเข้าหลักสี่แล้ว เหลียวมองเงินที่เก็บยังไม่พอกินข้าว 3 มื้อหลังเกษียณเลย อย่าให้เป็นเช่นนั้น ต้องตระหนักถึงชีวิตหลังเกษียณไว้เสมอเราต้องมีชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย เพราะฉะนั้น เริ่มเก็บตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนักยามอายุมาก

เปลี่ยนความคิดเป็นความตั้งใจ เปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเก็บออมอย่างเป็นระบบ ทบทวนชีวิตในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดีก็ทำต่อไป อะไรที่ไม่ดี ลด ละ เลิก ปีนี้เริ่มต้นกันใหม่ทำสิ่งดีๆ เพื่อตนเอง เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยเพื่อชีวิตที่ผาสุกในอนาคต ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น



แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

5 วิธีประหยัดเงิน แบบเหงื่อไม่ตก


5 วิธีประหยัดเงิน แบบเหงื่อไม่ตก
ชีวิตอิสระ ::ทำไมต้องจ่ายค่าสมาชิกบัตรเครดิต? ถ้าคุณไม่จำเป็นต้องจ่าย?
เลือกธนาคารที่งดเว้นค่าธรรมเนียมนี้ถ้าคุณคิดจะทำบัตรเครดิต และถ้าเป็นไปได้ทำบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าทำบัตรเครดิตหลายๆใบ เพียงเพราะเหตุผลว่าคุณจะได้กระเป๋าเดินทางที่เป็นของพรีเมี่ยมสวยเก๋มาใช้ช่วงซัมเมอร์
ราคานาทีทอง ::พวกอาหารกล่องปรุงสำเร็จแบบวันต่อวัน หรือพวกเบเกอรี่
เราสามารถมองหาส่วนลดได้หลังหนึ่งทุ่มโดยประมาณ มันจะถูกมากๆเลย บางที่ลด 30 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจลดครึ่งราคาเลยก็มี เราเคยซื้อข้าวกล่องชุดญี่ปุ่นที่ราคาจริงประมาณ 75 บาท ในราคา 39 บาท มาแล้ว อาหารพวกนี้มันยังคงใหม่และสดอยู่ พวกเขาเพียงแต่ต้องการเคลียร์อาหารที่มีอยู่ให้หมดก่อนเวลาห้างปิดเท่านั้นเอง
จ่ายรายปีถูกกว่า ::ถ้าคุณต้องดูเคเบิ้ลทีวี หรือต้องอ่านแมกกาซีนทุกเดือนอยู่แล้ว
แทนที่คุณจะจ่ายเป็นรายเดือน ก็เลือกจ่ายเป็นรายปีไปเลย จะคุ้มค่ากว่า นอกจากจะได้ส่วนลดแล้ว อาจได้ของแถมอีกต่างหาก เช่นได้ดูฟรีอีก 1 เดือน ได้ครีมบำรุงผิวมาสักชุดสองชุดไงล่ะ
เลือกให้เหมาะ ::ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบริการที่เป็นแพ็คเกจ
อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือเคเบิลทีวี คุณไม่จำเป็นต้องเลือกบริการแบบเต็มรูปแบบที่ผู้ให้บริการเสนอให้ก็ได้ คิดทบทวนให้ดีๆเสียก่อน ว่าสิ่งที่คุณต้องการจริงๆคืออะไร บางทีคุณอาจไม่ทันคิดว่ามันเกินความจำเป็นของคุณก็ได้ แล้วจะจ่ายแพงเพื่อส่วนนี้ไปทำไมล่ะ
เคลียร์หนี้เป็นอันดันแรก ::"การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ"
เคยได้ยินกันหรือเปล่า เราเชื่อคำกล่าวนี้ล้านเปอร์เซ็นต์ หนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับโรคหรอก ดังนั้นทุกครั้งที่เงินเดือนออก คุณรู้ตัวว่าเป็นหนี้อะไรอยู่ก็ตามจ่ายมันให้หมด อย่าให้พอกพูนได้ จำไว้ว่าอาการ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" น่ะ มันไม่สนุกหรอก

6 วิธีช่วยวัยรุ่นเก็บเงิน


6 วิธีช่วยวัยรุ่นเก็บเงิน
เงินไม่พอใช้....เงินหายไปไหนหมดเนี่ย...ทำไมเราไม่มีเงินเก็บเลย ” เป็นคำถามที่วัยรุ่นมักจะถามตัวเองอยู่เป็นประจำ

ผู้ใหญ่มักจะต่อว่าวัยรุ่นเสมอว่าใช้เงินเก่ง ทั้ง ๆ ที่ยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่ ไม่สามารถทำงานหารายได้ด้วยตัวเอง และมันก็เป็นจริงอย่างที่ผู้ใหญ่เค้าว่าซะด้วย...???

การใช้เงินเก่งของน้อง ๆ วัยรุ่นไม่ใช่ว่าจะโทษที่ตัวน้องมือเติบใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย แต่อาจเป็นเพราะน้อง ๆ วัยรุ่นขาดการควบคุม ขาดการจัดสรรการใช้จ่ายที่ถูกต้องต่างหาก

สัปดาห์นี้เลยมีวิธีการบริหารการใช้เงิน 6 วิธีมาฝากกัน

วิธีแรก
เปิดบัญชีธนาคารให้เหมาะสม วิธีนี้จัดให้สำหรับน้อง ๆ เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ หรือต้องไปเรียนในจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง

ทุกเดือนน้อง ๆ จะต้องขอเงินเดือนจากพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเข้าบัญชีให้เพราะสะดวกดี เลยแนะนำให้เปิดบัญชี ATMสาขาในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดที่เรียนอยู่ เพราะการกดเงินข้ามเขตจะต้องเสียค่าธรรมเนียม และควรกด ATM จากธนาคารเจ้าของบัญชี เห็นว่าตอนนี้กดข้ามธนาคารก็เสียค่าธรรมเนียมเหมือนกัน ยิ่งกดมากยิ่งเสียเงินเยอะ

วิธีที่สอง
ทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างที่บอกแล้วว่าน้อง ๆ มักจะถามตัวเองเสมอว่าเงินของเราหายไปไหนหว่า....

วิธีแก้ก็คือเราต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่ว่าจะจ่ายเงินค่าหนังสือ ค่าสบู่ ยาสีฟัน ซื้อของอะไรก็แล้วแต่ ควรจะเก็บบิลไว้และจดบันทึกประจำวันว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง เราจะได้รู้ว่าใช้เงินเกินเงินเดือนที่คุณพ่อคุณแม่ให้มาหรือเปล่า อ้อ...แล้วอย่าลืมเอาสมุดบัญชีธนาคารไปอัพเดทบ่อย ๆ ด้วย เราจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของยอดเงินแต่ละเดือน

วิธีที่สาม
อยู่ห่างจากเพื่อนไฮโซเข้าไว้ วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คบเพื่อนไฮโซหรือปฏิเสธสังคมแต่ประการใด แต่อยากให้เลือกกลุ่มเพื่อนที่จะไปกินข้าว ไปช้อปปิ้งซักหน่อย เพราะถ้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้เงินมือเติบ ตกเย็นต้องไปสังสรรค์กินโน่นนี่นั่นทุกวี่วัน เงินเดือนแม่ให้มาเท่าไหร่ก็คงไม่พอ

วิธีที่สี่
เลือกโปรโมชั่นโทรฯมือถือให้เหมาะสม ว่ากันว่าค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของ วัยรุ่นก็คือค่าโทรศัพท์มือถือ วัยรุ่นหลายคนถือคติ “ไม่มีกินไม่ว่า ขอข้ามีเงินจ่ายค่าโทรฯ มือถือ” แต่ไม่รู้จักใช้ให้เหมาะสม

เลือกโปรโมชั่นให้พอดีกับการโทรฯในแต่ละเดือน และโทรฯเท่าที่จำเป็น ส่วนใครที่ชอบเมาท์ติดพันก็ลองใช้วิธีแลกเหรียญมากองไว้เยอะ ๆ และจ้องไปที่นาฬิกา ทุก 1 นาทีที่ผ่านไปกับโทรศัพท์ก็หยิบเงิน 3 บาทออกมากองไว้ตรงหน้า เลิกโทรฯเมื่อไหร่ก็ลองนับเงินที่เสียไปดู แบบนี้เราจะลดเวลาโทรฯมือถือลงโดยอัตโนมัติ

วิธีที่ห้า
ใช้บัตรนักเรียนนักศึกษาให้มีค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าผ่านประตูเวลาไปไหนมาไหน ถ้าเค้ามีโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน เราต้องใช้บัตรประจำตัวให้เกิดประโยชน์ อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รวมเป็นเงินโขอยู่

วิธีสุดท้าย
ออมเงินเป็นรายเดือน เราจะต้องกันเงินส่วนหนึ่งจะ 5, 10, 15, หรือ 20% จากเงินเดือนที่แม่ให้มาก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน เข้าบัญชีฝากประจำไว้เลย และสำคัญต้องทำทุกเดือน ครบปีเราจะภูมิอกภูมิใจกับยอดเงินที่เพิ่มขึ้น

วิธีเด็ด ๆ ช่วยเก็บเงิน จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ หรือจะผสมกันหลายวิธีก็ดี แต่ถ้าเหมาหมดทุกวิธีก็เยี่ยม คราวนี้แหละ.....เราจะมีเงินเก็บ เป็นเถ้าแก่น้อยคอซองขาสั้นทั้งที่ยังเรียนอยู่เลย..!!.

ข้อคิดดีๆจาก....ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้


ข้อคิดดีๆจาก....ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้
ข้อคิดดี ๆสำหรับเพื่อน ๆ อยากให้อ่านแล้วบอกต่อ ๆกันด้วยนะครับ

เพราะอะไร...

วัยเยาว์
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ฉันยังเด็กเกินไปที่จะคิด
ชีวิตฉัน เพิ่งเริ่มต้น ทุกวันนี้ยังต้องแบมือขอเงินพ่อแม่
และฉันไม่เหลือพอที่จะเก็บ ฉันกำลังเล่นสนุก
วันหนึ่งเมื่อฉัน โตขึ้น ฉันจะเก็บเงิน


วัยรุ่น
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ฉันยัง เรียน หนังสืออยู่
พ่อแม่ให้เงินสำหรับพอใช้ในแต่ละวันเท่านั้น
ฉันยังเก็บเงินไม่ได้หรอก
นอกจากนั้นฉันยังมีเรื่องอื่นๆ
ที่ต้องใช้เงินอีกเมื่อฉันเรียนจบ
และถ้าฉัน หาเงินได้ เอง ฉันจึงจะเก็บ


วัย 20
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ฉันเพิ่ง เรียนจบ
ขอเวลาฉันได้พักสมองบ้าง และฉันยังไม่พร้อมที่จะผูกมัดเรื่องนี้
ฉันยังต้องการแสวงหาความสนุก ในขณะที่ฉันสามารถทำได้
ยังมีเวลาเหลืออีกมากที่จะคิด
ถึงตอนนั้นเมื่อฉัน พร้อม ฉันก็จะเก็บ


วัย 30
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้
ฉันเพิ่ง มีครอบครัว และต้องรับผิดชอบหลายอย่าง
ค่าใช้จ่ายลูกเดี๋ยวนี้แพงเหลือเกิน
และฉันยังต้องผ่อนหนี้เงินกู้บ้านอีกด้วย
ทุกวันนี้แทบจะชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
ถ้าวันข้างหน้าฉันหาเงินได้ มากกว่านี้ และลูกๆ โตแล้ว ฉันจึงจะเก็บ


วัย 40
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ลูกฉันเริ่มเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย
เดี๋ยวนี้ค่าหน่วยกิตและค่าต่างๆ แพงมาก
ไหนยังต้องผ่อนหนี้เงินกู้ที่ซื้อรถยนต์ให้ลูกอีกฉันกลัวพวกเขาลำบาก
ตอนนี้ยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายสูง จริงๆ
และเป็นเวลาที่ยากที่จะเก็บเงิน
แต่อีก สักระยะ เมื่อพวกเขาเรียนจบ การเงินคงจะคล่องตัวขึ้น
ถึงตอนนั้นฉันจึงจะเก็บ


วัย 50
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ตอนนี้ ลูกๆ เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลายคนกำลังจะแต่งงาน
ฉันอยากให้พวกเขาเริ่มต้นชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ฉันยังต้องไปช่วย ญาติ บางคน
ซึ่งตอนนี้พวกเขากำลัง ต้องการความช่วยเหลือ
เหตุการณ์มันไม่ได้เป็นไปตามที่ฉันคิดไว้เลย มันติดขัดไปหมด
โชคดีเมื่อไหร่ ฉันคงจะเก็บเงินได้


วัย 60
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ฉันนึกว่า สถานการณ์ น่าจะดีขึ้น ฉันอยากเกษียณอายุก่อน
แต่ฉันไม่สามารถทำได้
ฉันกำลังพยายามจ่ายเงินติดค้างจำนองบ้านที่เหลือและหนี้สินอื่นๆ
แต่ทุกอย่างยังประดังเข้ามา ไหนจะลูกเอยหลานเอย
ไอ้โน่นไอ้นี่มาลงที่ตัวฉันหมด ถ้า ภาระฉันหมด เมื่อไร
ฉันภาวนาว่าฉันน่าจะเก็บได้


วัย 70
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
ฉัน แก่เกินไป ที่จะเก็บ
เงินบำนาญของฉันก็มีไม่มากพอ
บิลค่ายาและค่าดูแลรักษาพยาบาลระยะยาวทำให้ฉันเป็นห่วงอยู่
ฉันไม่อยากไปเป็นภาระของลูกๆ เขา
ฉันน่าจะเก็บตอนที่ฉันมีและควรเก็บได้


ตอนนี้
มันสายเกินไป......
ฉัน ไม่สามารถ เก็บเงินได้เดี๋ยวนี้จริงๆ.....

6 วิธีเก็บเงินให้อยู่.. ตั้งแต่เป็นนักเรียน


6 วิธีเก็บเงินให้อยู่.. ตั้งแต่เป็นนักเรียน
1. เปิดบัญชีธนาคารให้เหมาะ
บรรดา นักเรียนต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แน่นอนอยู่แล้วต้องรับเงินเดือนจากพ่อแม่ แนะนำให้เปิดบัญชี ATM ในสาขาของกรุงเทพฯ เพราะถ้าเปิดบัญชีในจังหวัดที่บ้าน ต้องเสียค่าบริการเวลากดเงินข้ามเขตอีก กดทีละ 30 บาท ก็คูณเข้าไปสินคะ กว่าจะหมดปีเงินหายไปหลายอยุ่นา

2. "เงินเราไปไหน"
ใช้ถามตัวเองบ่อยๆ เวลาใช้เงิน ไม่อยากลืมต้องทำบัญชีรับจ่าย เก็บบิลเวลาซื้อของ และเอาสมุดเงินฝากไปอัพเดทเพื่อเช็คยอดล่าสุดบ่อยๆ

3. อยู่ห่างๆเพื่อนมือเติบ
ไม่ ได้แนะนำให้เป็นคนปฎิเสธสังคม แต่ให้เลือกกลุ่มเพื่อที่ไปกินข้าว ช้อปปิ้งสักหน่อย ถ้าคุณอยู่กลุ่มเพื่อนกินใหญ่ใช้โต กินข้าวเย็นมื้อละหลายร้อย คุณก็ต้องแชร์จ่ายเท่าๆกัน เงินเดือนนักเรียนของคุณมีเท่าไรถึงจะพอล่ะคะ

4. ระวัง!! บิลค่าโทรศัพท์
ค่า ใช้จ่ายรายใหญ่สุดของหนุ่มสาววัยนี้เตือนสติตัวเองเวลาคุยให้ดี ตั้งเสียเตือนเป็นรายนาทีไว้ก็ได้ หรือเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะกับตัวเองที่สุด

5. ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษาให้มีค่าที่สุด
ทั้ง ค่าอาหาร ค่าเข้าพิพิธพัณฑ์ หรือเวลาไปเมืองนอก ใช้เป็นส่วนลดได้ดีที่สุด ช่วงที่อยู่มหาวิทยาลัย รายจ่ายที่คุณประหยัดได้ดีที่สุดคือ หนังสือและฟิตเนส เข้าห้องสมุดและโรงยิมเข้าไว้

6. ออมเงินรายเดือน
10% ของเงินได้จากพ่อแม่เก็บเป็นฝากประจำไว้เลย แล้วลองดูสิว่า พอรับปริญญาแล้วคุณมีเงินก้นถุงอีกเท่าไร!



6 วิธีเก็บเงินให้อยู่.. ตั้งแต่เป็นนักเรียน
ข้อมูลจาก : สาระแน.คอม

เก็บเงินอย่างไรให้ได้ปีละ 100,000 บาท


เก็บเงินอย่างไรให้ได้ปีละ 100,000 บาท.....
หากคุณเป็นพนักงานกินเงินเดือนและไม่มีรายได้อื่นที่ไหน การเก็บเงินให้ได้ปีละ 100,000 บาทค่อนข้างยากพอสมควร

ซึ่งหากคุณไม่ทำในตอนนี้เวลาก็จะผ่านเลยไป ทำให้คุณไม่มีต้นทุนชีวิตที่จะไปต่อยอดธุรกิจอย่างอื่นได้เลย ใน ช่วงที่ธุรกิจตกสะเก็ดแบบนี้ เป็นหนทางที่เราจะใช้กระแสสังคมมากดดันตัวเองให้เก็บตังค์เอาไว้ เพื่อความมั่นคงในวันข้างหน้า ซึ่งก่อนอื่นคุณควรทำบัญชีค่าใช้จ่ายว่าสามารถเก็บเงินได้เดือนละเท่าไร แล้วนำวิธีสุดประหยัดเหล่านี้ไปปฏิบัติ เพราะอย่างน้อยๆ คุณต้องเก็บเงินให้ได้ 8,500 บาทต่อเดือนถึงจะได้ 100,000 บาทต่อปี

ตัดค่าใช้จ่ายหลักออกไป
ลอง นับดูว่าคุณมีค่าใช้จ่ายหลักเป็นอะไรบ้าง เช่น ค่าหอพัก ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าผ่อนรถ เป็นต้น แจกแจงหนี้แล้วดูว่าสิ่งใดพอจะบรรเทาเบาบางลงได้บ้าง อย่างเช่น ถ้าคุณมีพี่น้องหรือเพื่อนสนิทแต่อยู่หอพักคนละที่กัน ลองมาอยู่ด้วยกันแล้วหารค่าห้องดูไหม สำหรับค่าโทรศัพท์เลือกโปรโมชั่นให้เหมาะสมกับตัวเอง และไม่ใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือแก้เหงา สุดท้ายเลือกใช้บริการรถสาธารณะดีกว่า เพราะราคาถูกไม่ต้องวนหาที่จอดรถ แถมรวดเร็วอีกต่างหาก รวมแล้วคุณประหยัดเงินไปได้กว่า 4,000 บาทต่อเดือน

เลือกกินของคุณภาพ ราคาไม่แพง
ถ้า คุณสามารถทำกับข้าวจากที่บ้านไปกินที่ออฟฟิศได้ หรือเลือกกินอาหารจานเดียวราคาไม่แพงแต่มีคุณภาพ ซึ่งดีกว่าฟาสต์ฟู้ดเป็นไหนๆ หากต้องการสังสรรค์กับเพื่อนก็ใช้วิธีให้บ้านใดบ้านหนึ่งเป็นเจ้าภาพ แล้วหารกันซื้อของเข้าไปทำอาหาร ราคาไม่แพงสะอาดและอิ่มกว่าด้วย เพราะถ้าคุณมัวแต่กินอาหารนอกบ้านประเภทฟาสต์ฟู้ดหรือนิยมสั่งแบบดีลิเวอรี่ นอกจากราคาแพงแล้วคุณก็ต้องเสียเงินค่าลดความอ้วน ค่าฟิตเนสอีกมากมาย ดูแลตัวเองง่ายๆ ดีกว่า ช่วยให้คุณประหยัดไปได้ประมาณ 2,000 ต่อเดือน

จำกัดการซื้อเสื้อผ้าเครื่องสำอาง
จาก ที่เคยตามเทรนด์มาตลอด เข้าสู่ยุคเรียบง่ายดีกว่า ก่อนอื่นถ้าคุณจะซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้ซื้อแบบเรียบและสามารถใช้ได้นานๆ เพราะเสื้อผ้าที่ตามกระแสมักจะใส่ได้ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และลองค้นตู้เสื้อผ้าหาชิ้นที่ไม่เคยใส่หยิบมา Mix & Match ได้ชุดใหม่ตามใจคุณ หรือแลกเปลี่ยนเสื้อผ้ากับเพื่อนๆ บ้าง ส่วนเครื่องสำอางให้ซื้อตอนมีโปรโมชั่นหรือฝากคนที่ไปต่างประเทศซื้อหา เพราะจะลดได้มากกว่า 30% วิธีนี้ลดค่าใช้จ่ายได้ 1,500 บาทต่อเดือน

ชวนเพื่อนเข้าแก๊งคุณนายประหยัด
นั่ง ประหยัดอยู่คนเดียวเหงาแย่ ลองชวนเพื่อมาเข้าแกงค์ประหยัดด้วยกัน เพื่อเป็นกำลังใจและการแข่งขันไปด้วยในตัว คุณจะรู้สึกสนุกมากกว่านั่งอดออมอยู่คนเดียว นอกจากนั้นไม่ต้องเสียเวลาจับกลุ่มเอนเตอร์เทนด้วยการดูหนัง ร้องคาราโอเกะ โยนโบว์ลิ่งให้เสียเงินทอง ลองเช่าซีดีมาดูหรือออกกำลังกายตามสวนสาธารณะพร้อมกับเพื่อนๆ สนุกเหมือนกันแถมประหยัดเงินอีกด้วย



ปล.ออมอย่างต่ำเดือนละ8,500 ถ้าคุณเงินเดือน 8,500บาทพอดีก็ตั้งเป้าหมายการออมเป็นปีละ50,000บาทก็ได้นะคะ คุณจะได้ทำได้ตามเป้าหมายคะ เอาใจช่วยคนขัยนเก็บเงินก้อนไวๆนะคะ

เก็บเงินอย่างไรให้ได้ปีละ 100,000 บาท

11/13/2552

ออมเงินอย่างไรให้รวย


ออมเงินอย่างไรให้รวย
จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เมื่อได้อ่านบทความของดร.กิรณ ลิมปพะยอม เรื่องออมเงินอย่างไรให้รวย เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมทาง ได้บ้าง จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง
คำว่า“รวย” ในที่นี้หมายถึงการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดีมีคนรัก โดยมีข้อคิดง่ายๆ 7 วิธี เพื่อเป็นคนรวย ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการมีเงินใช้จ่ายใช้อย่างไม่ขัดสนและเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณนั่นเอง
ข้อแนะนำนี้อาจไม่จำเป็นต้องปฏิบัติครบทั้ง 7 ข้อก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน ดังต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมาย (อย่างมีเหตุผล) ว่าถ้าเกษียณแล้วอยากทำอะไร และต้องการความ “รวย” ในระดับไหนและแบบไหน (ขอย้ำอีกครั้งว่า อย่างมีเหตุผล) เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
2. เริ่มออม ซึ่งถ้าไม่อยากคิดคำนวณยุ่งยาก ให้เก็บออมไปเลย 20-25% ของรายได้แต่ละเดือน
3. ใช้ประโยชน์จากการให้เงินทำงาน หมายความถึงการฝากเงินหรือการลงทุนก่อให้เกิดดอกเบี้ยและเก็บดอกเบี้ยนั้นไปเรื่อยๆ โดยเราไม่ต้องนำไปทำอะไร
4. ควบคุมตนเอง ไม่ให้ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย งดอยากได้ของที่ไม่จำเป็นในตอนนี้ โดยคิดถึงการใช้ชีวิตอย่างสบายในวันหน้าเป็นหลัก เช่น อาจจะออกเที่ยวน้อยลง เป็นต้น และนอกจากนี้ควรลดการซื้อของเงินผ่อนและใช้บัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวมหาศาล (ถึงจะดูน้อยในแต่ละงวดก็ตาม)
5. ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อลดโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล
6. ใช้ประโยชน์จากสิทธิทางภาษีต่างๆ ให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนรวมบางประเภทที่นำไปลดภาษีได้หรือการมีประกันชีวิต ที่สิ่งเหล่านี้ ผลประโยชน์ก็ยังอยู่กับตัวคุณ (อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาถึงเงื่อนไขประกอบต่างๆ ให้ละเอียดด้วย)
7. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล โดยต้องไม่ลืมว่าชีวิตคนเรามีหมวกหลายใบและมีหลายอย่างที่ต้องทำ ทั้งหน้าที่การงานชีวิตส่วนตัว ความรัก และสุขภาพ ไม่ใช่คิดถึงแต่การออมสำหรับวันหน้า แต่วันนี้ไม่มีความสุข หรือคิดถึงแต่การใช้เงินวันนี้พรุ่งนี้ แต่ไม่คิดถึงชีวิตหลังเกษียณ

นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึง พวกค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ 5 บาท 10 บาท ที่สิ้นเปลืองไปกับเรื่องไม่จำเป็นด้วย เพราะเงินเหล่านี้หากนำมารวมกันก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ เช่น ถ้าจะเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ความสิ้นเปลืองเล็กน้อยวันละ 10 บาท หมายถึงเงินใช้หลังเกษียณหายไปถึงกว่า 7 หมื่นบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย) ท้ายที่สุด ขอฝากไว้ด้วยว่า อย่าตั้งความหวังกับการรวยทางลัด ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ชีวิตหลังเกษียณอันมีคุณภาพจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเรามีวินัยในการออมเท่านั้น


ที่มา :http://gotoknow.org/blog/pussadeec/60004

ออมเงินไม่เก่ง..แต่รู้จักใช้เงิน

ออมเงินไม่เก่ง..แต่รู้จักใช้เงิน
ทุกวันนี้ก็ไม่ได้เข้มงวดหรือหย่อนยานกับการใช้เงินจนเกินไป ถึงขั้นไม่กินไม่ใช้เลย แบบนั้นก็ไม่ไหว แต่เราจะดูความเหมาะสมมากกว่า เช่นว่าปีนี้ต้องเตรียมเงินสำหรับเรื่องเรียนของลูกเท่าไหร่ จะได้วางแผนเอาไว้ถูก

หลักคิดในการจัดการเงินทองของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน แต่ดูเหมือนว่า หากเริ่มต้นจากการมี “หลักคิด” ไม่ว่าเนื้อหาจะออกมาต่างกันอย่างไร ก็ล้วนเป็นทิศทางที่ดีให้กับอนาคตเรื่องเงินๆ ทองๆ ทั้งสิ้น

“สมชาติ สุรจิตติพงศ์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บางกอกดิสทริบิวเตอร์ เป็นผู้บริหารอีกคนหนึ่ง ที่เริ่มต้นจากการมีหลักคิดในการจัดการเงินทองที่ดี ทำให้ทุกวันนี้เขาจึงมีทักษะการใช้จ่ายเงินทองอย่างเป็นระบบระเบียบ

“ผมไม่ใช่คนออมเงินเก่ง แต่เรียกว่าใช้เงินเป็นดีกว่า ไม่ได้รัดเข็มขัด แต่ยังกินใช้อย่างรู้จักความพอดีของชีวิต และไม่ลืมที่จะเตรียมออมเงินไว้สำหรับอนาคต เพราะข้างหน้ายังไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น”

หลักคิดที่สมชาติได้รับมรดกตกทอดจากผู้ใหญ่ที่เขานับถือ และใช้เป็นหลักคิดในการจัดการเงินทองมาตลอดคือ เวลาใช้เงินให้ดูคนที่เขามีฐานะต่ำกว่าเรา

“ลูกน้องผมรายได้เดือนหนึ่งไม่ได้เยอะมากมาย แต่เขาใช้เงินวันละไม่เท่าไหร่ เขาก็อยู่ได้ เพราะฉะนั้นการใช้เงินเราต้องดูคนที่ฐานะต่ำกว่าเรา แต่การแต่งตัวผมจะดูคนที่สูงกว่าผม ไม่ใช่หมายถึงต้องใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนมแพงๆ แต่เราสังเกตคนที่มีฐานะ เขาจะใส่ให้ดูดีทั้งที่ไม่ต้องพึ่งพาข้าวของราคาแพง เมื่อบุคลิกดีคนก็ให้การยอมรับนับถือ”

สมชาติบอกว่าคนเราถึงแม้หาเงินได้เยอะ แต่จับจ่ายใช้เงินเหมือนคนมีฐานะ กินอยู่อย่างฟุ่มเฟือย แบบนี้มีเท่าไหร่ก็ไม่เหลือ เพราะฉะนั้นต่อให้เรียกร้องเงินหรือรายได้เพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ แต่ถ้าจัดการเงินไม่เป็น มีเท่าไหร่ก็หมด

“ทุกวันนี้ผมก็ใช้หลักคิดนี้สอนลูกน้องและลูกตัวเอง ว่าคนเราต้องเริ่มจากรู้จักใช้เงินให้เป็น ทุกอย่างก็จะไม่มีปัญหา”

สมชาติถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการลงทุนของเขาให้ฟังว่า เขากระจายการลงทุนไปในหลายด้าน แต่ด้วยตัวแปรเรื่องของวัยและอายุ จึงเน้นฝากแบงก์ไว้เป็นหลัก เพราะความเสี่ยงต่ำ

“แต่ก่อนนี้ผมเคยเล่นหุ้นด้วย มีพอร์ตไว้ แต่ปัจจุบันไม่ได้เล่นแล้ว เพราะไม่มีเวลาไปติดตาม คือไม่ใช่อาชีพของเรา ถ้าทำไปแล้วมันผิดพลาดขาดทุนขึ้นมา ก็มานั่งคอยกังวลด้วย เลยหยุดเล่นไปเลยดีกว่า”

ความลงตัวของเขาอยู่ที่กองทุนรวม สมชาติบอกว่า เมื่อต้องทุ่มเทให้กับการบริหารงานประจำ จึงคิดว่ากองทุนรวมน่าจะช่วยเขาได้ เพราะมีความเป็นมืออาชีพด้านการลงทุน อีกทั้งเขาออกตัวว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการลงทุนเท่าไหร่ ที่ผ่านมาจึงจัดสรรเงินส่วนหนึ่งลงทุนในกองทุนรวม

ก็มีทั้งที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อเน้นประหยัดภาษีเป็นหลัก

“โดยส่วนตัวเวลาจะลงทุนในกองทุนรวม ผมไม่ค่อยได้ดูละเอียดถึงขั้นว่าบริษัทนั้นบริหารเป็นยังไง ก็มีคนแนะนำบ้าง แต่ผมจะเลือกบริษัทที่มีแบงก์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อได้ในเรื่องของความมั่นคง นอกจากนี้ ก็มีลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท”

นอกจากนี้ ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ก็ถือเป็นการลงทุนอีกช่องทางหนึ่งที่สมชาติให้ความสนใจ เขาเล่าว่า โดยส่วนตัวชอบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว ไม่ได้ลงทุนเพื่อจำหน่ายต่อหรือเก็งกำไรในระยะสั้น แต่ลงทุนระยะยาวให้เป็นสมบัติของลูกหลานมากกว่า

“เดิมทีที่บ้านผมไม่มีสมบัติไว้ให้ลูกหลาน ผมเลยคิดว่าถ้าเราพอมี ก็ควรจะเก็บไว้ให้ลูกบ้าง พอช่วงหนึ่งสะสมเงินในระดับหนึ่ง แล้วผมเห็นว่าโครงการนี้น่าสนใจและมีกำลังทรัพย์มากพอ ก็จะซื้อเก็บไว้ เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ๆ”

ก็คงเหมือนผู้ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วๆไป ที่เวลาจะซื้อก็จะดูทำเลเป็นหลักแต่สมชาติไม่ลืมดูเงินในกระเป๋าของเขาด้วย ว่าอนาคตหรือในระยะยาวมีความสามารถในการผ่อนมากน้อยแค่ไหน สมมุติว่าจะซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท อย่างน้อยเราต้องมีเงินอยู่สัก 2 ล้านบาท ที่เหลือค่อยไปผ่อนเอา พูดง่ายๆ คืออย่างน้อยต้องมีเงินอยู่แล้วสักประมาณ 30-50% จะทำให้ภาระการผ่อนเบาลง

“อาจจะต่างจากคนอื่นบ้าง แต่นี่คือวิธีของผม ซึ่งที่ผ่านมาผมค่อนข้างพอใจในการลงทุนประเภทนี้ เพราะรู้ข้อเสียของตัวเองดี ว่าถ้ามีเงินสดเก็บไว้จะหมดแน่นอน ไม่ทราบว่ามันหายไปไหน ทั้งที่เราก็ว่าเราจัดการดีแล้วนะว่าก้อนนี้เพื่อทำนั่น ก้อนนี้เพื่อทำนี่ แต่พอมาถึงจุดนี้ บางทีก็เพื่อนฝูงหยิบยืม เพราะฉะนั้นผมจึงอยากจะมีเงินสดให้น้อยที่สุด แล้วแปรสภาพเป็นทรัพย์สินจะดีกว่า ซื้ออะไรที่คิดว่าเราถูกใจ แต่ผันมาเป็นเงินได้เร็ว ราคาจะขึ้นหรือลงเราไม่ต้องไปซีเรียส ผมมองแบบคนโบราณนิดหนึ่งที่คิดเผื่อไว้สำหรับเรื่องพวกนี้ เพราะถ้าเป็นคนรุ่นใหม่เขาอาจจะไม่คิดเรื่องนี้”

แต่แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับแผนการเงินของเขาคือ การจัดสรรเงินออมส่วนหนึ่ง ไว้เพื่ออนาคตทางการศึกษาของลูก ขณะเดียวกัน ก็ไม่ลืมวางแผนออมเงินไปถึงวัยเกษียณ

เขามองไปถึงว่า เวลาเกษียณควรมีเงินเท่าไหร่ถึงจะสบาย ทุกวันนี้ถึงได้สะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประหยัดภาษี และเงินสดส่วนหนึ่ง เขาคิดว่าพอเกษียณแล้วก็เอามาใช้ในบั้นปลาย

“แต่ทุกวันนี้ก็ไม่ได้เข้มงวดหรือหย่อนยานกับการใช้เงินจนเกินไป ถึงขั้นไม่กินไม่ใช้เลย แบบนั้นก็ไม่ไหว แต่เราจะดูความเหมาะสมมากกว่า เช่นว่าปีนี้ต้องเตรียมเงินสำหรับเรื่องเรียนของลูกเท่าไหร่ จะได้วางแผนเอาไว้ถูก หรือแม้กระทั่งการผ่อนบ้านก็ต้องดูให้คนในบ้านมีกินใช้อย่างพอดีด้วย ไม่ใช่ผ่อนแบบตึงเกินไปแบบนี้ก็ไม่ไหว ทุกอย่างต้องให้พอดีและปกติ “

สมชาติยังทิ้งท้ายถึงทัศนคติการเป็นหนี้ ว่ามีข้อดีเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการเป็นหนี้จะเลวร้ายเสมอไป อย่างบัตรเครดิตก็ถือว่ามีประโยชน์ เพราะในสังคมถ้าไม่มีบัตรเครดิตเลยก็กลายเป็นคนไม่มีเครดิต แต่ข้อแม้คือ ใช้เท่าไหร่ขอให้จ่ายเท่านั้น ไม่ใช่จ่ายเฉพาะขั้นต่ำ เพราะถ้าทำแบบนั้น ดินก็จะพอกหางหมูไปเรื่อยๆ

“การเป็นหนี้บางทีก็ทำให้เรารู้จักแอ็คทีฟ ขวนขวายหารายได้มาใช้หนี้ ไม่ได้เป็นหนี้แล้วจะแย่สถานเดียว ผมเห็นเถ้าแก่เป็นหนี้กันทุกคน เพราะหนี้ที่เกิดประโยชน์มันก็มี เช่นขยายธุรกิจ แต่ถ้าเป็นหนี้เพื่อสนองความอยากความสบายในชีวิต แบบนี้ผมว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่ บริษัทผมลูกน้องเป็นหนี้บัตรเครดิตกันเยอะมาก ผมต้องขออนุญาตเจ้านาย รับซื้อหนี้จากลูกน้องมาเพื่อให้เป็นหนี้ก้อนเดียว โดยไม่คิดดอกเบี้ย เพราะอยากช่วยลูกน้อง ไม่อย่างนั้นหน้าที่การงานเกิดปัญหาตามมา”

นั่นเป็นมุมมองของคนที่เป็นทั้งนักบริหารและนักวางแผนการเงินที่น่าฟังไม่น้อย

ที่มา - BangkokBizweek