ออมเงินอย่างให้รวย และ การจัดสรรเงินเหลือใช้
ออมเงินอย่างไรให้รวย
จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เมื่อได้อ่านบทความของดร.กิรณ ลิมปพะยอม เรื่องออมเงินอย่างไรให้รวย เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมทาง ได้บ้าง จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง
คำว่า“รวย” ในที่นี้หมายถึงการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดีมีคนรัก โดยมีข้อคิดง่ายๆ 7 วิธี เพื่อเป็นคนรวย ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการมีเงินใช้จ่ายใช้อย่างไม่ขัดสนและเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณนั่นเอง
ข้อแนะนำนี้อาจไม่จำเป็นต้องปฏิบัติครบทั้ง 7 ข้อก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน ดังต่อไปนี้
1. ตั้งเป้าหมาย (อย่างมีเหตุผล) ว่าถ้าเกษียณแล้วอยากทำอะไร และต้องการความ “รวย” ในระดับไหนและแบบไหน (ขอย้ำอีกครั้งว่า อย่างมีเหตุผล) เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
2. เริ่มออม ซึ่งถ้าไม่อยากคิดคำนวณยุ่งยาก ให้เก็บออมไปเลย 20-25% ของรายได้แต่ละเดือน
3. ใช้ประโยชน์จากการให้เงินทำงาน หมายความถึงการฝากเงินหรือการลงทุนก่อให้เกิดดอกเบี้ยและเก็บดอกเบี้ยนั้นไปเรื่อยๆ โดยเราไม่ต้องนำไปทำอะไร
4. ควบคุมตนเอง ไม่ให้ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย งดอยากได้ของที่ไม่จำเป็นในตอนนี้ โดยคิดถึงการใช้ชีวิตอย่างสบายในวันหน้าเป็นหลัก เช่น อาจจะออกเที่ยวน้อยลง เป็นต้น และนอกจากนี้ควรลดการซื้อของเงินผ่อนและใช้บัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวมหาศาล (ถึงจะดูน้อยในแต่ละงวดก็ตาม)
5. ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อลดโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล
6. ใช้ประโยชน์จากสิทธิทางภาษีต่างๆ ให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนรวมบางประเภทที่นำไปลดภาษีได้หรือการมีประกันชีวิต ที่สิ่งเหล่านี้ ผลประโยชน์ก็ยังอยู่กับตัวคุณ (อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาถึงเงื่อนไขประกอบต่างๆ ให้ละเอียดด้วย)
7. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล โดยต้องไม่ลืมว่าชีวิตคนเรามีหมวกหลายใบและมีหลายอย่างที่ต้องทำ ทั้งหน้าที่การงานชีวิตส่วนตัว ความรัก และสุขภาพ ไม่ใช่คิดถึงแต่การออมสำหรับวันหน้า แต่วันนี้ไม่มีความสุข หรือคิดถึงแต่การใช้เงินวันนี้พรุ่งนี้ แต่ไม่คิดถึงชีวิตหลังเกษียณ
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึง พวกค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ 5 บาท 10 บาท ที่สิ้นเปลืองไปกับเรื่องไม่จำเป็นด้วย เพราะเงินเหล่านี้หากนำมารวมกันก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ เช่น ถ้าจะเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ความสิ้นเปลืองเล็กน้อยวันละ 10 บาท หมายถึงเงินใช้หลังเกษียณหายไปถึงกว่า 7 หมื่นบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย) ท้ายที่สุด ขอฝากไว้ด้วยว่า อย่าตั้งความหวังกับการรวยทางลัด ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ชีวิตหลังเกษียณอันมีคุณภาพจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเรามีวินัยในการออมเท่านั้น
ที่มา :http://gotoknow.org/blog/pussadeec/60004
การจัดสรรเงินเหลือใช้
เมื่อเรารู้จำนวนเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนแล้ว (สมมุติ 2,000 บาท) และตั้งใจจะสะสมเงินนั้นอย่างมีวินัยต่อเนื่องทุกเดือนจนกระทั่งได้ยอดเงินสะสมรวมตามที่วางเป้าหมายไว้ (สมมุติ 500,000 บาท) เราคงต้องการทราบว่า เราจะใช้เวลาในการทยอยสะสมนานเพียงใด ? หัวใจของความสำเร็จก็จะอยู่ตรงที่ ระยะเวลาที่เราวางแผนจะใช้เงินสะสมนั้น กับจำนวนเงินสะสมที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นโจทย์ตั้งให้เราต้องค้นหาทางเลือกที่จะใช้สะสมเงินนั้น โดยคาดหวังว่า ผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงของวิธีการสะสมดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เงินสะสมพอกพูนขึ้นได้เท่ากับเงินสะสมเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ที่วางแผนไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ ดังตัวอย่าง
http://www.thaimutualfund.com/AIMC/aimc_basicKnowledge.jsp?pg=5
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท โดยมีทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน เราจะใช้เวลาในการสะสมเงินจนถึง 500,000 บาท ได้รวดเร็ว หรือเนิ่นนานแตกต่างกันไปด้วย บางท่านอาจจะด่วนตัดสินใจ "เลือกทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด" แต่อย่าลืมคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า "ทางเลือกที่คาดว่าให้ผลตอบแทนสูง มักมีความเสี่ยงสูงด้วย" นั่นหมายความว่า ทางเลือกนั้นมีโอกาสให้ผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น เราควรหลีกเลี่ยงไม่เลือกทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงเลยใช่หรือไม่ ? คำตอบอยู่ที่เรายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเราได้จัดสรรเงินออมและเงินลงทุนอย่างเหมาะสมจนสามารถลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งหรือไม่ การสะสมเงินที่ดี ควรมีการกระจายทางเลือกทั้งการออมและการลงทุนในสัดส่วนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ตามที่คาดหวังไว้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท โดยมีทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน เราจะใช้เวลาในการสะสมเงินจนถึง 500,000 บาท ได้รวดเร็ว หรือเนิ่นนานแตกต่างกันไปด้วย บางท่านอาจจะด่วนตัดสินใจ "เลือกทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด" แต่อย่าลืมคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า "ทางเลือกที่คาดว่าให้ผลตอบแทนสูง มักมีความเสี่ยงสูงด้วย" นั่นหมายความว่า ทางเลือกนั้นมีโอกาสให้ผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น เราควรหลีกเลี่ยงไม่เลือกทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงเลยใช่หรือไม่ ? คำตอบอยู่ที่เรายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเราได้จัดสรรเงินออมและเงินลงทุนอย่างเหมาะสมจนสามารถลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งหรือไม่ การสะสมเงินที่ดี ควรมีการกระจายทางเลือกทั้งการออมและการลงทุนในสัดส่วนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ตามที่คาดหวังไว้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
สารัญ Creditbank Credit card bank
123
11/18/2552
ออมเงินอย่างไรดี 1-2
ออมเงินอย่างไรดี 1
การออมเงินอยากที่กล่าวๆไว้ในหน้าหลัก คือ การออมเงินนั้นไม่ยาก แต่ถ้าหากเรามีความตั้งใจจริง สิ่งแรกที่เราควรปฏิบัติเมื่อคิดว่าจะออมเงิน คือ ต้องทำใจว่า เราจะต้องรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย และ ควรมีการจัดบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตัวเอง เพื่อดูว่า ใน เดือนๆหนึ่ง เรามีเงินออมแล้วเป้นจำนวนเท่าใด
ประการที่สองคือ ขณะตอนที่เราออมเงินนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะซื้อของที่ต้องการไม่ได้ เราสามารถซื้อได้ ถ้าเรารู้ว่า เรามีเงินออมเท่านี้ แล้วเรา สามารถ ซื้อของชิ้นนี้ ราคานี้ ใน ช่วงที่เหมาะสมแล้ว เพื่อความสบายใจของเรา แล้วเราก้อยังสามารถมีกำลังใจในการเก็บออมต่อไปในวันหน้า
ประการที่สามคือการเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่น หากว่าเราต้องการสิ่งของใดอันใดอันหนึ่งแล้ว แต่สิ่งของนั้นมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราสามารถใช้วิธีออมเงิน ถ้าเรามีความตั้งใจจริง เราก็จะสามารถเก็บเงินซื้อสิ่งของนั้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ก็คือ การเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ ถ้าหากว่าเราต้องการสิ่งของอื่นๆที่มีราคาค่อนข้างแพ้ เราก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ครับ
โดย Api_Num
ออมเงินอย่างไรดี 2
สุเมธ อดุลวิทย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรายงานการวิเคราะห์ของสํานักงานสถิติ แห่งชาติที่พบว่า อัตราส่วนระหว่างเงินออมกับรายได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่าคนไทยมี การใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากขึ้น เพราะความไม่แน่ใจในรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทําให้คําถามที่เกี่ยวกับการออมเปลี่ยนไปจาก “คุณมีเงินออมหรือไม่” เป็น “คุณจะนําเงินออมไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้อย่างไร”
การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ นั้น ถึงแม้ จะเป็นการนําเงินออมไปใช้แบบมีความเสี่ยงต่ํา
เนื่องจากมีรัฐบาลค้ําประกัน แต่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับนับว่าต่ําเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสําหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์คือ 0.75 %ต่อปี
ผู้ออมเงินโดยฝากเงินในบัญชีประเภทนี้จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีมากกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ส่วนที่ เหลือคือรายได้ดอกเบี้ยในปี นั้นๆ แต่ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีน้อยกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินมีสิทธิสําหรับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยนี้
กรณีบัญชี เงินฝากประจําประเภท 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยที่คิดคือ 2.50 %ต่อปี ส่วนเงินฝากประจํ า 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.75-3.25 %ต่อปี ผู้ออมเงินในบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทนี้ แน่นอนจะถูกหักภาษี ดอกเบี้ยเงิน
ฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ไม่ว่ารายได้เป็นเท่าไรก็ตาม
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น ผู้ออมเงินโดยการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รับ
รายได้ดอกเบี้ยต่อปีทั้งหมด
ทางเลือกหนึ่งสําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้และน่าจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินก็คือ การซื้อสลากออมสินพิเศษและสลากออมสินพิเศษ(รุ่นธนโชค)ของธนาคารออมสิน ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากสลากออมสินทั้ง 2 ประเภทรัฐบาลเป็นผู้ค้ําประกันเช่นเดียวกันกับการฝากเงิน ความเสี่ยงในการนําเงินออมไปใช่ในกรณีนี้คงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าน้อยกว่าหรือมากกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ ตามสิ่งที่แน่นอนคือ ผลตอบแทนที่ ได้รับประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยและสิทธิ ถูกรางวัลตามที่
ธนาคารกําหนด และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น ผลตอบแทนเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีใดๆ
สลากออมสินพิเศษถูกกําหนดราคาซื้อ - ขายหน่วยละ 50 บาท อายุของสลากออมสินพิเศษคือ 3 ปี ถ้าถือครบ 3 ปี
ผู้ออมเงินมี สิทธิถูกรางวัล 35 ครั้ งรวมทั้งสามารถไถ่ถอนคืนโดยได้ รับเงินเต็มมูลค่าบวกอัตราดอกเบี้ย 0.5 % สลากออมสินพิเศษนี้ สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้าประกันการขอสินเชื่อจากธนาคารออมสินและค้ําประกันตัวในชั้นศาลและสอบสวน สําหรับผู้ออมเงินที่ต้องการถูกรางวัลเลขท้าย 4 ตัวตามที่ธนาคารกําหนดทุกงวด ผู้ออมเงินจะต้องซื้อสลากจํานวน 10,000 หน่วย หรือ 500,000 บาท
สลากออมสินพิเศษอีกประเภทคือ รุ่นธนโชค ราคาซื้อ - ขายต่อหน่วยถูกกําหนดไว้ที่ 100 บาท อายุของสลากประเภทนี้คือ 10 ปี ถ้าฝากครบ 10 ปี จะทําให้ผู้ออมเงินมีสิทธิไถ่ถอนคืนได้เต็มจํานวนพร้อมดอกเบี้ย 10 % และมีโอกาสถูกรางวัล 17 ครั้ง การถูกรางวัลทุกงวดตามที่ธนาคารกําหนด ผู้ออมเงินยังคงซื้อสลากจํานวนเท่าเดิมคือ
อย่างน้อย 10,000 หน่วย แต่เงินที่จ่ายมากกว่าเดิมเนื่องจากราคาซื้อ – ขายต่อหน่วยสูงขึ้น
จากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการซื้อสลากออมสินทั้ง 2 ประเภท นอกจากจะทําให้ผู้ออมเงินมีรายได้ดอกเบี้ย อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว เงินถูกเลขสลากจ่ายคืนหรือเงินรางวัลยังได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย
ข้อมูลดังกล่าวอาจจะทําให้ผู้ออมเงินรู้สึกว่าการซื้อสลากออมสินพิเศษเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้ากลับมามองจุดเด่นของการฝากเงิน ก็น่าคิดว่าผู้ออมเงินควรตัดสินใจอย่างไร
จุดเด่นประการแรกคือ ความต้องการใช้เงินเมื่อคราวจําเป็น การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ผู้ออมเงินสามารถไถ่ ถอนเงินได้ เต็มจํานวนทันทีเมื่อจําเป็นต้องใช้ เงิน สิ่งที่ ไม่ได้ รับกรณีไถ่ ถอนก่อนครบกําหนดการฝากคงเป็นเพียงรายได้ดอกเบี้ย สําหรับสลากออมสินพิเศษ การไถ่ถอนก่อนกําหนดนอกจากทําให้ผู้ออมเงินสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัลและดอกเบี้ยแล้ว มูลค่าสลากออมสินที่ไถ่ถอนยังมีมูลค่าไม่เต็มจํานวนอีกด้วย
จุดเด่นประการที่สองคือ การไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยของผู้ออมเงิน สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์มีบัญชีเงินฝากประเภทที่ผู้ออมเงินไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15 % แต่ผู้ออมเงินจะต้องฝากเงินในแต่ละเดือนด้วยอัตราเท่ากันโดยมูลค่าเงินฝากขั้นต่ําสุด 500 บาท และขั้นสูงสุด 25,000 บาท ระยะเวลาในการฝากมีตั้งแต่ 24 – 60 เดือน
มูลค่าเงินฝากตลอดอายุไม่เกิน 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา 12 เดือน บวก 0.75 – 1 %
การเปรียบเทียบเหตุผลและข้อมูลเบื้องต้นนี้ คงเป็นประโยชน์สําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้ การที่จะตัดสินใจอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ออมเงิน ซึ่งนอกจากควรพิจารณาผลตอบแทนที่ จะได้รับแล้ว ยังควรจะต้อง
คํานึงถึงศักยภาพของตนเอง อย่างเช่น ความจําเป็นในการใช้เงิน และฐานะทางการเงิน การกระจายเงินออมไปใน
ทางเลือกต่างๆอย่างเหมาะสมน่าจะเป็นวิธีแนะนําที่ดีวิธีหนึ่ง
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
การออมเงินอยากที่กล่าวๆไว้ในหน้าหลัก คือ การออมเงินนั้นไม่ยาก แต่ถ้าหากเรามีความตั้งใจจริง สิ่งแรกที่เราควรปฏิบัติเมื่อคิดว่าจะออมเงิน คือ ต้องทำใจว่า เราจะต้องรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย และ ควรมีการจัดบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตัวเอง เพื่อดูว่า ใน เดือนๆหนึ่ง เรามีเงินออมแล้วเป้นจำนวนเท่าใด
ประการที่สองคือ ขณะตอนที่เราออมเงินนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะซื้อของที่ต้องการไม่ได้ เราสามารถซื้อได้ ถ้าเรารู้ว่า เรามีเงินออมเท่านี้ แล้วเรา สามารถ ซื้อของชิ้นนี้ ราคานี้ ใน ช่วงที่เหมาะสมแล้ว เพื่อความสบายใจของเรา แล้วเราก้อยังสามารถมีกำลังใจในการเก็บออมต่อไปในวันหน้า
ประการที่สามคือการเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่น หากว่าเราต้องการสิ่งของใดอันใดอันหนึ่งแล้ว แต่สิ่งของนั้นมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราสามารถใช้วิธีออมเงิน ถ้าเรามีความตั้งใจจริง เราก็จะสามารถเก็บเงินซื้อสิ่งของนั้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ก็คือ การเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ ถ้าหากว่าเราต้องการสิ่งของอื่นๆที่มีราคาค่อนข้างแพ้ เราก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ครับ
โดย Api_Num
ออมเงินอย่างไรดี 2
สุเมธ อดุลวิทย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรายงานการวิเคราะห์ของสํานักงานสถิติ แห่งชาติที่พบว่า อัตราส่วนระหว่างเงินออมกับรายได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่าคนไทยมี การใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากขึ้น เพราะความไม่แน่ใจในรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทําให้คําถามที่เกี่ยวกับการออมเปลี่ยนไปจาก “คุณมีเงินออมหรือไม่” เป็น “คุณจะนําเงินออมไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้อย่างไร”
การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ นั้น ถึงแม้ จะเป็นการนําเงินออมไปใช้แบบมีความเสี่ยงต่ํา
เนื่องจากมีรัฐบาลค้ําประกัน แต่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับนับว่าต่ําเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสําหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์คือ 0.75 %ต่อปี
ผู้ออมเงินโดยฝากเงินในบัญชีประเภทนี้จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีมากกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ส่วนที่ เหลือคือรายได้ดอกเบี้ยในปี นั้นๆ แต่ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีน้อยกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินมีสิทธิสําหรับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยนี้
กรณีบัญชี เงินฝากประจําประเภท 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยที่คิดคือ 2.50 %ต่อปี ส่วนเงินฝากประจํ า 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.75-3.25 %ต่อปี ผู้ออมเงินในบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทนี้ แน่นอนจะถูกหักภาษี ดอกเบี้ยเงิน
ฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ไม่ว่ารายได้เป็นเท่าไรก็ตาม
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น ผู้ออมเงินโดยการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รับ
รายได้ดอกเบี้ยต่อปีทั้งหมด
ทางเลือกหนึ่งสําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้และน่าจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินก็คือ การซื้อสลากออมสินพิเศษและสลากออมสินพิเศษ(รุ่นธนโชค)ของธนาคารออมสิน ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากสลากออมสินทั้ง 2 ประเภทรัฐบาลเป็นผู้ค้ําประกันเช่นเดียวกันกับการฝากเงิน ความเสี่ยงในการนําเงินออมไปใช่ในกรณีนี้คงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าน้อยกว่าหรือมากกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ ตามสิ่งที่แน่นอนคือ ผลตอบแทนที่ ได้รับประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยและสิทธิ ถูกรางวัลตามที่
ธนาคารกําหนด และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น ผลตอบแทนเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีใดๆ
สลากออมสินพิเศษถูกกําหนดราคาซื้อ - ขายหน่วยละ 50 บาท อายุของสลากออมสินพิเศษคือ 3 ปี ถ้าถือครบ 3 ปี
ผู้ออมเงินมี สิทธิถูกรางวัล 35 ครั้ งรวมทั้งสามารถไถ่ถอนคืนโดยได้ รับเงินเต็มมูลค่าบวกอัตราดอกเบี้ย 0.5 % สลากออมสินพิเศษนี้ สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้าประกันการขอสินเชื่อจากธนาคารออมสินและค้ําประกันตัวในชั้นศาลและสอบสวน สําหรับผู้ออมเงินที่ต้องการถูกรางวัลเลขท้าย 4 ตัวตามที่ธนาคารกําหนดทุกงวด ผู้ออมเงินจะต้องซื้อสลากจํานวน 10,000 หน่วย หรือ 500,000 บาท
สลากออมสินพิเศษอีกประเภทคือ รุ่นธนโชค ราคาซื้อ - ขายต่อหน่วยถูกกําหนดไว้ที่ 100 บาท อายุของสลากประเภทนี้คือ 10 ปี ถ้าฝากครบ 10 ปี จะทําให้ผู้ออมเงินมีสิทธิไถ่ถอนคืนได้เต็มจํานวนพร้อมดอกเบี้ย 10 % และมีโอกาสถูกรางวัล 17 ครั้ง การถูกรางวัลทุกงวดตามที่ธนาคารกําหนด ผู้ออมเงินยังคงซื้อสลากจํานวนเท่าเดิมคือ
อย่างน้อย 10,000 หน่วย แต่เงินที่จ่ายมากกว่าเดิมเนื่องจากราคาซื้อ – ขายต่อหน่วยสูงขึ้น
จากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการซื้อสลากออมสินทั้ง 2 ประเภท นอกจากจะทําให้ผู้ออมเงินมีรายได้ดอกเบี้ย อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว เงินถูกเลขสลากจ่ายคืนหรือเงินรางวัลยังได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย
ข้อมูลดังกล่าวอาจจะทําให้ผู้ออมเงินรู้สึกว่าการซื้อสลากออมสินพิเศษเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้ากลับมามองจุดเด่นของการฝากเงิน ก็น่าคิดว่าผู้ออมเงินควรตัดสินใจอย่างไร
จุดเด่นประการแรกคือ ความต้องการใช้เงินเมื่อคราวจําเป็น การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ผู้ออมเงินสามารถไถ่ ถอนเงินได้ เต็มจํานวนทันทีเมื่อจําเป็นต้องใช้ เงิน สิ่งที่ ไม่ได้ รับกรณีไถ่ ถอนก่อนครบกําหนดการฝากคงเป็นเพียงรายได้ดอกเบี้ย สําหรับสลากออมสินพิเศษ การไถ่ถอนก่อนกําหนดนอกจากทําให้ผู้ออมเงินสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัลและดอกเบี้ยแล้ว มูลค่าสลากออมสินที่ไถ่ถอนยังมีมูลค่าไม่เต็มจํานวนอีกด้วย
จุดเด่นประการที่สองคือ การไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยของผู้ออมเงิน สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์มีบัญชีเงินฝากประเภทที่ผู้ออมเงินไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15 % แต่ผู้ออมเงินจะต้องฝากเงินในแต่ละเดือนด้วยอัตราเท่ากันโดยมูลค่าเงินฝากขั้นต่ําสุด 500 บาท และขั้นสูงสุด 25,000 บาท ระยะเวลาในการฝากมีตั้งแต่ 24 – 60 เดือน
มูลค่าเงินฝากตลอดอายุไม่เกิน 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา 12 เดือน บวก 0.75 – 1 %
การเปรียบเทียบเหตุผลและข้อมูลเบื้องต้นนี้ คงเป็นประโยชน์สําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้ การที่จะตัดสินใจอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ออมเงิน ซึ่งนอกจากควรพิจารณาผลตอบแทนที่ จะได้รับแล้ว ยังควรจะต้อง
คํานึงถึงศักยภาพของตนเอง อย่างเช่น ความจําเป็นในการใช้เงิน และฐานะทางการเงิน การกระจายเงินออมไปใน
ทางเลือกต่างๆอย่างเหมาะสมน่าจะเป็นวิธีแนะนําที่ดีวิธีหนึ่ง
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
11/17/2552
ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้
บัวหลวง Money Tips : ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารหนี้
ชนิตราภา นาวาเจริญ
บลจ.บัวหลวง จำกัด
ถ้าพูดถึงคำว่า “ความเสี่ยง” คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคำๆนี้ เป็นคำที่น่ากลัวอีกคำหนึ่งสำหรับนักลงทุน และเราก็มักจะได้ยินคำเตือนที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน วันนี้เราจึงนำนักลงทุนมารู้จักกับคำว่าความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในแต่ละครั้ง
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่นักลงทุนได้คาดหวังไว้ ความเสี่ยงในการลงทุนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนได้ใช้ในการตัดสินใจที่จะลงทุนในตราสารหนี้ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และเพื่อทำให้นักลงทุนมั่นใจในการตัดสนใจลงทุนของตน
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้มีอยู่หลายอย่าง ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างความเสี่ยงที่เห็นได้เด่นชัด เพื่อให้นักลงทุนได้นำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบกับการตัดสินใจลงทุน
ความเสี่ยงด้านราคาและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านราคาเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่งผลให้เมื่อถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการลงทุน ราคาของตราสารหนี้ที่ขายได้จริงจะแตกต่างจากระดับที่คาดหวังไว้แต่แรก ส่งผลให้กำไรจากส่วนต่างของราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นจะทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ลดลง ดังนั้น ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ลงทุนที่ถือตราสารหนี้จนครบกำหนดไถ่ถอนคืนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงประเภทนี้ เพราะตราสารหนี้กำหนดเป็นการล่วงหน้าแล้วว่าราคาไถ่ถอนคืนจะเป็นราคาที่ตราไว้
ความเสี่ยงด้านเครดิต คือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ที่กำหนดให้ผู้ออกจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และกำไรส่วนต่างของราคา ซึ่งการที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนครบถ้วนตามที่กล่าวไว้นั้น ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายเงินตามภาวะผูกพันของหุ้นกู้ อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ออกมีผลประกอบการตกต่ำซึ่งนำไปสู่การขาดสภาพคล่อง อาจจะทำให้ผู้ออกผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของตราสารหนี้ได้เลย ส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับชำระค่าดอกเบี้ยและเงินต้นตามที่กำหนดไว้ ความเสี่ยงประเภทนี้อาจพิจารณาได้จากการถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกและของตราสารหนี้จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขายตราสารหนี้ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงต้องมีการเพิ่มหรือลดราคา เพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้นโดยทั่วไปตราสารหนี้จะมีปริมาณการซื้อขายมากในช่วงที่ตราสารหนี้เพิ่งนำออกขายในตลาด แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาพคล่องของการซื้อขายก็จะคล่อยๆลดลง ทำให้นักลงทุนประสบปัญหาไม่สามารถขายตราสารหนี้ออกไปก่อนที่จะครบกำหนดไถ่ถอนคืน ณ ราคาที่ควรจะเป็น แต่ถ้าผู้ลงทุนถือตราสารหนี้ไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่คืนก็จะไม่มีความเสี่ยงชนิดนี้เกิดขึ้น
ความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ คือ ความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ได้คาดคิดกับผู้ออก ซึ่งมีผลต่อราคาของตราสารหนี้ เช่น ผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินครั้งใหญ่ การเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงานทำให้บริษัทต้องหยุดกิจการ เป็นต้น เหตุการณ์ต่างๆทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท แม้เหตุการณ์เหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้น จึงจัดเป็นความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด
ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติการลงทุนในตราสารหนี้เป็นการลงทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย ความเสี่ยงชนิดนี้จะถูกรวมไว้ในอัตราผลตอบแทนจากตราสารหนี้นั้นๆ โดยทางอ้อมอยู่แล้ว และจะแปรผันโดยตรงกับอายุคงเหลือของตราสารหนี้
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เกิดในกรณีที่ลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดต่างประเทศที่มีการซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ และได้รับผลตอบแทนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ผู้ลงทุนชาวไทยสนใจผลตอบแทนในรูปสกุลเงินบาท ดังนั้นผู้ลงทุนชาวไทยที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจำเป็นต้องพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทกับสกุลต่างประเทศนั้นๆ เพื่อแปลงค่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นผลตอบแทนในรูปเงินบาท ถ้าการพยากรณ์ไม่แม่นยำก็จะทำให้ผลตอบแทนในรูปเงินบาทแตกต่างจากระดับที่คาดไว้และเกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น แต่ในปัจจุบันก็มีวิธีที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยผู้ออกอาศัยการรับประกันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ล่วงหน้า
ความเสี่ยงในด้านต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ลงทุนก็สามารถที่จะป้องกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาข้อมูลของผู้ลงทุน ถ้าเรารู้จักศึกษาข้อมูลของตราสารที่จะไปลงทุน เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงในด้านต่างๆลงได้ ดังคำเตือนที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ชนิตราภา นาวาเจริญ
บลจ.บัวหลวง จำกัด
ถ้าพูดถึงคำว่า “ความเสี่ยง” คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าคำๆนี้ เป็นคำที่น่ากลัวอีกคำหนึ่งสำหรับนักลงทุน และเราก็มักจะได้ยินคำเตือนที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน วันนี้เราจึงนำนักลงทุนมารู้จักกับคำว่าความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในแต่ละครั้ง
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่นักลงทุนได้คาดหวังไว้ ความเสี่ยงในการลงทุนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนได้ใช้ในการตัดสินใจที่จะลงทุนในตราสารหนี้ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และเพื่อทำให้นักลงทุนมั่นใจในการตัดสนใจลงทุนของตน
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้มีอยู่หลายอย่าง ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างความเสี่ยงที่เห็นได้เด่นชัด เพื่อให้นักลงทุนได้นำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบกับการตัดสินใจลงทุน
ความเสี่ยงด้านราคาและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านราคาเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่งผลให้เมื่อถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการลงทุน ราคาของตราสารหนี้ที่ขายได้จริงจะแตกต่างจากระดับที่คาดหวังไว้แต่แรก ส่งผลให้กำไรจากส่วนต่างของราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นจะทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ลดลง ดังนั้น ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ลงทุนที่ถือตราสารหนี้จนครบกำหนดไถ่ถอนคืนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงประเภทนี้ เพราะตราสารหนี้กำหนดเป็นการล่วงหน้าแล้วว่าราคาไถ่ถอนคืนจะเป็นราคาที่ตราไว้
ความเสี่ยงด้านเครดิต คือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ที่กำหนดให้ผู้ออกจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย และกำไรส่วนต่างของราคา ซึ่งการที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนครบถ้วนตามที่กล่าวไว้นั้น ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายเงินตามภาวะผูกพันของหุ้นกู้ อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ออกมีผลประกอบการตกต่ำซึ่งนำไปสู่การขาดสภาพคล่อง อาจจะทำให้ผู้ออกผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นของตราสารหนี้ได้เลย ส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับชำระค่าดอกเบี้ยและเงินต้นตามที่กำหนดไว้ ความเสี่ยงประเภทนี้อาจพิจารณาได้จากการถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกและของตราสารหนี้จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขายตราสารหนี้ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงต้องมีการเพิ่มหรือลดราคา เพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้นโดยทั่วไปตราสารหนี้จะมีปริมาณการซื้อขายมากในช่วงที่ตราสารหนี้เพิ่งนำออกขายในตลาด แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาพคล่องของการซื้อขายก็จะคล่อยๆลดลง ทำให้นักลงทุนประสบปัญหาไม่สามารถขายตราสารหนี้ออกไปก่อนที่จะครบกำหนดไถ่ถอนคืน ณ ราคาที่ควรจะเป็น แต่ถ้าผู้ลงทุนถือตราสารหนี้ไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่คืนก็จะไม่มีความเสี่ยงชนิดนี้เกิดขึ้น
ความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ คือ ความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ได้คาดคิดกับผู้ออก ซึ่งมีผลต่อราคาของตราสารหนี้ เช่น ผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินครั้งใหญ่ การเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงานทำให้บริษัทต้องหยุดกิจการ เป็นต้น เหตุการณ์ต่างๆทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท แม้เหตุการณ์เหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้น จึงจัดเป็นความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด
ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติการลงทุนในตราสารหนี้เป็นการลงทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย ความเสี่ยงชนิดนี้จะถูกรวมไว้ในอัตราผลตอบแทนจากตราสารหนี้นั้นๆ โดยทางอ้อมอยู่แล้ว และจะแปรผันโดยตรงกับอายุคงเหลือของตราสารหนี้
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เกิดในกรณีที่ลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดต่างประเทศที่มีการซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ และได้รับผลตอบแทนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ผู้ลงทุนชาวไทยสนใจผลตอบแทนในรูปสกุลเงินบาท ดังนั้นผู้ลงทุนชาวไทยที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจำเป็นต้องพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทกับสกุลต่างประเทศนั้นๆ เพื่อแปลงค่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นผลตอบแทนในรูปเงินบาท ถ้าการพยากรณ์ไม่แม่นยำก็จะทำให้ผลตอบแทนในรูปเงินบาทแตกต่างจากระดับที่คาดไว้และเกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น แต่ในปัจจุบันก็มีวิธีที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยผู้ออกอาศัยการรับประกันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ล่วงหน้า
ความเสี่ยงในด้านต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ลงทุนก็สามารถที่จะป้องกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาข้อมูลของผู้ลงทุน ถ้าเรารู้จักศึกษาข้อมูลของตราสารที่จะไปลงทุน เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงในด้านต่างๆลงได้ ดังคำเตือนที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"
บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"
1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)
2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)
6.ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
7.ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว
8.ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9.นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
10.อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง
1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)
2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)
6.ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
7.ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว
8.ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9.นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
10.อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง
ให้ลูกกู้เงินเรียน
ให้ลูกกู้เงินเรียน
วันก่อนฟังวิทยุช่อง ๙๖.๕ ดร. วิกรม กรมดิษฐ์ เป็นวิทยากร มีคนถามคำถามว่า มีลูก 3 คน ตอนนี้เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ลูกทะเลาะกันเรื่องเงิน ประมาณว่าได้เงินไม่เท่ากัน ก็บ่นโวยวาย จะทำยังไงดี
ดร. วิกรมบอกว่า ถ้าเขาเป็นพ่อแม่ เขาจะไม่ให้เงินลูกเรียน แต่จะให้ลูกไปกู้เงินเรียน ใครอยากได้มาก ได้น้อยเท่าไหร่ ก็เบิกได้ตามใจชอบ แต่พอเรียนจบ ทำงานแล้วก็ต้องมาผ่อนใช้กันเอง ทีนี้ลูกจะไม่มีทางบ่นว่า ได้เงินมาก ได้เงินน้อย เพราะใครอยากจะรับผิดชอบเท่าไหร่ ก็แล้วแต่คนนั้น เขาบอกว่า พ่อแม่สมัยนี้เลี้ยงลูกเป็นลูกบังเกิดเกล้า ให้เงินลูก แล้วยังโดนทวงบุญคุณ
เราว่าถ้าพ่อแม่ทั่วๆ ไป ให้เงินลูกใช้ตามใจชอบมาเป็นสิบปี อยู่ๆ จะมาบอกลูกว่า เอาหละจะหยุดให้เงินแล้วนะ ให้ไปกู้เงินธนาคารมาใช้จ่าย มาเรียนหนังสือ ก็ดูจะสุดโต่งไปสักหน่อย แต่ถ้าพ่อแม่อยากจะสร้างวินัยในการใช้เงินให้ลูกๆ ก็อาจจะลองเอาไอเดียนี้ไปปรับใช้ได้ เช่น แทนที่จะให้ลูกกู้เงินธนาคาร ก็ให้ลูกกู้เงินพ่อแม่นี่แหละ จดบัญชีกันทุกอาทิตย์ ทุกเดือน ว่าเบิกไปทีละเท่าไหร่ๆ
พอเรียนจบก็มาสรุปบัญชีกันว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ แล้วก็บอกลูกด้วยว่า ทำงานได้เงินเดือนแล้วก็ต้องเอาเงินเดือนมาผ่อนใช้คืน ส่วนเงินที่พ่อแม่ได้จากลูกมา จะเอาไปเก็บออมไว้ให้ลูกในอนาคต หรือพ่อแม่จะเอาคืนจริงๆ ก็สุดแท้แต่ความต้องการของพ่อแม่
ตอนสมัยเราเรียนหนังสือ แม่เราก็จดบัญชีเอาไว้ รู้สึกจะเริ่มตั้งแต่สมัยที่เราเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ตอน ม. 1 ไม่แน่ใจว่าจดไปจนเราเรียนจบปริญญาตรี หรือจดต่อไปถึงตอนที่เราไปเรียนเมืองนอกด้วย ระหว่างเรียนแม่ก็จะคอยขู่ๆ ว่า เดี๋ยวว่างๆ ต้องเอามารวมบัญชีดู ว่าเราเป็นหนี้แม่อยู่เท่าไหร่ สุดท้ายจนป่านนี้ก็ยังไม่ได้รวมบัญชี แต่การที่เรารู้ว่าแม่จดบัญชีไว้ทุกบาททุกสตางค์ที่เราเบิกเอามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน/ใช้/เที่ยว ค่าหนังสือ ค่าเทอม ค่ากิจกรรมเกี่ยวกับการเรียน ก็มีส่วนทำให้เรารู้ค่าของเงิน
อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกรู้จักค่าของเงิน ก็คือ พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง อย่าคิดว่าเงินเล็กๆ น้อยๆ ลูกขอก็ให้ง่ายๆ บางทีเงินเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่มีเหตุผลในการใช้ ถึงแม้ให้ลูกไปแล้วจะไม่ได้ทำให้พ่อแม่จนลง แต่ก็จะสร้างนิสัยการใช้เงินแบบไม่ระมัดระวังให้ลูก เท่ากับเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
วันก่อนฟังวิทยุช่อง ๙๖.๕ ดร. วิกรม กรมดิษฐ์ เป็นวิทยากร มีคนถามคำถามว่า มีลูก 3 คน ตอนนี้เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว ลูกทะเลาะกันเรื่องเงิน ประมาณว่าได้เงินไม่เท่ากัน ก็บ่นโวยวาย จะทำยังไงดี
ดร. วิกรมบอกว่า ถ้าเขาเป็นพ่อแม่ เขาจะไม่ให้เงินลูกเรียน แต่จะให้ลูกไปกู้เงินเรียน ใครอยากได้มาก ได้น้อยเท่าไหร่ ก็เบิกได้ตามใจชอบ แต่พอเรียนจบ ทำงานแล้วก็ต้องมาผ่อนใช้กันเอง ทีนี้ลูกจะไม่มีทางบ่นว่า ได้เงินมาก ได้เงินน้อย เพราะใครอยากจะรับผิดชอบเท่าไหร่ ก็แล้วแต่คนนั้น เขาบอกว่า พ่อแม่สมัยนี้เลี้ยงลูกเป็นลูกบังเกิดเกล้า ให้เงินลูก แล้วยังโดนทวงบุญคุณ
เราว่าถ้าพ่อแม่ทั่วๆ ไป ให้เงินลูกใช้ตามใจชอบมาเป็นสิบปี อยู่ๆ จะมาบอกลูกว่า เอาหละจะหยุดให้เงินแล้วนะ ให้ไปกู้เงินธนาคารมาใช้จ่าย มาเรียนหนังสือ ก็ดูจะสุดโต่งไปสักหน่อย แต่ถ้าพ่อแม่อยากจะสร้างวินัยในการใช้เงินให้ลูกๆ ก็อาจจะลองเอาไอเดียนี้ไปปรับใช้ได้ เช่น แทนที่จะให้ลูกกู้เงินธนาคาร ก็ให้ลูกกู้เงินพ่อแม่นี่แหละ จดบัญชีกันทุกอาทิตย์ ทุกเดือน ว่าเบิกไปทีละเท่าไหร่ๆ
พอเรียนจบก็มาสรุปบัญชีกันว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ แล้วก็บอกลูกด้วยว่า ทำงานได้เงินเดือนแล้วก็ต้องเอาเงินเดือนมาผ่อนใช้คืน ส่วนเงินที่พ่อแม่ได้จากลูกมา จะเอาไปเก็บออมไว้ให้ลูกในอนาคต หรือพ่อแม่จะเอาคืนจริงๆ ก็สุดแท้แต่ความต้องการของพ่อแม่
ตอนสมัยเราเรียนหนังสือ แม่เราก็จดบัญชีเอาไว้ รู้สึกจะเริ่มตั้งแต่สมัยที่เราเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ตอน ม. 1 ไม่แน่ใจว่าจดไปจนเราเรียนจบปริญญาตรี หรือจดต่อไปถึงตอนที่เราไปเรียนเมืองนอกด้วย ระหว่างเรียนแม่ก็จะคอยขู่ๆ ว่า เดี๋ยวว่างๆ ต้องเอามารวมบัญชีดู ว่าเราเป็นหนี้แม่อยู่เท่าไหร่ สุดท้ายจนป่านนี้ก็ยังไม่ได้รวมบัญชี แต่การที่เรารู้ว่าแม่จดบัญชีไว้ทุกบาททุกสตางค์ที่เราเบิกเอามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน/ใช้/เที่ยว ค่าหนังสือ ค่าเทอม ค่ากิจกรรมเกี่ยวกับการเรียน ก็มีส่วนทำให้เรารู้ค่าของเงิน
อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกรู้จักค่าของเงิน ก็คือ พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง อย่าคิดว่าเงินเล็กๆ น้อยๆ ลูกขอก็ให้ง่ายๆ บางทีเงินเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่มีเหตุผลในการใช้ ถึงแม้ให้ลูกไปแล้วจะไม่ได้ทำให้พ่อแม่จนลง แต่ก็จะสร้างนิสัยการใช้เงินแบบไม่ระมัดระวังให้ลูก เท่ากับเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
หวั่นผลเสีย "การออมเงินเพื่อกู้"แนะเปลี่ยนเป็น "การออมเงินเพื่อให้"
หวั่นผลเสีย "การออมเงินเพื่อกู้"แนะเปลี่ยนเป็น "การออมเงินเพื่อให้"
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน 15 จังหวัดภาคเหนือ จัดงานสัมมนาเพื่อสรุปบทเรียนพื้นที่ตำบลนำร่อง 38 ตำบล พัฒนาระบบสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ และเตรียมเสนอพื้นที่ตำบลขยาย 130 ตำบลกองทุนสวัสดิการชาวบ้านขึ้น ณ วัดก่วมใต้ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีแกนนำเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้กว่า 400 คน
นายสามารถ พุทธา ประธานที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการจัดกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน 38 ตำบลนำร่องในเขตภาคเหนือ เป็นรูปแบบการออมเงินวันละบาท ซึ่งเป็นการปรับฐานให้คนมารวมกัน เมื่อคนรวมกันมากขึ้นก็สามารถรวมปัญญาของแต่ละคน แล้วขยายผลไปสู่ชุมชนใกล้เคียง จนมีสมาชิกและเครือข่ายเพิ่มขึ้น แล้วนำเงินออมที่มีมาจัดสวัสดิการให้แก่กัน เพื่อความมั่นคงในชีวิต ดูแลช่วยเหลือกันบนพื้นฐานของความผูกพัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน แบ่งทุกข์ร่วมกันในชุมชน
“ตัวอย่างการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้านจังหวัดลำปาง ที่เน้นการ ออมเพื่อกู้ สู่การออมเพื่อให้ สร้างความเลื่อมใสและศรัทธา ในปี 2542 เราให้สมาชิกในกลุ่มออมทรัพย์ของเขตเทศบาลลำปางไปเรียนรู้จากหลายชุมชน พอกลับมาดำเนินการประมาณหนึ่งปี จึงรู้ว่าการออมเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้กับชาวบ้าน หนำซ้ำยังเป็นการทำลายระบบครอบครัวให้แตกแยกเรื่อยมา การออมเพื่อกู้เป็นการสร้างศัตรูอย่างถาวร พอถึงกำหนดส่งคืนไม่มีเงินมาคืนกลุ่มออมทรัพย์ ทำให้ครอบครัวทะเลาะกันอยู่เรื่อยๆเกิดปัญหาไม่มีวันจบสิ้น” ประธานที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ กล่าวและเสริมว่า
ต่อมาจึงได้ปรับแนวคิดการออมทรัพย์ดังกล่าวใหม่เป็น “การออมทรัพย์เพื่อให้” จะได้ผลบุญมากกว่า ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความสนใจ จึงนำเงินมาออมทรัพย์ร่วมกัน แล้วนำมาจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกในยามเดือดร้อน การออมเพื่อให้เริ่มขยายแนวความคิดไปสู่ชุมชนใกล้เคียง สามารถแก้ไขปัญหาความจนได้ จากนั้นก็เริ่มขยายสู่ระดับอำเภอ คือ เถิน เกาะข่า แม่เมาะ และอำเภอเมืองกว่า 10 ตำบล ดำเนินการมาได้ 2-3 ปี มีสมาชิกหลายพันคน
การจัดการกองทุนนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรก 50% ของเงินออมทรัพย์นำมาจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกแบบครบวงจร ให้สวัสดิการสมาชิกไปแล้ว 3 ล้านกว่าบาท ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากนี้ยังให้สวัสดิการสำหรับพี่น้องที่ไปขึ้นทะเบียนคนจนในเรื่องการคลอดบุตร เยี่ยมไข้ให้สงเคราะห์ อีก 2 แสนกว่าบาท 650 คน ส่วนที่สอง 30% นำมาทำธุรกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน จัดตั้งเป็นกองทุนรับซื้อขยะ ทำสวนผักปลอดสาร สร้างธนาคารขี้วัวให้สมาชิกที่เลี้ยงวัวนำขี้วัวมาออมแทนที่จะนำเงินมาออมแต่ใช้ขี้วัว เอามาทำปุ๋ยอินทรีย์แจกจ่ายให้กับสมาชิก และส่วนที่สาม 20% นำมาเป็นกองทุนกลางเพื่อเป็นค่าเดินทางให้เครือข่ายกองทุนสวัสดิการมาพบปะกันทุกวันที่ 3 ของเดือนเพื่อนำความรู้ใหม่มาแลกเปลี่ยนกัน
“การจัดสวัสดิการชาวบ้านจึงเป็นความสุขของชุมชน ยึดถือปฏิบัติให้รู้จักกลับมารู้จักเก็บออม รู้จักกินอยู่อย่างพอเพียง นำไปปรับใช้จนนำไปสู่การมีสัจจะร่วมกัน การมีส่วนร่วมจึงเป็นพลังแห่งความสามัคคี อยากให้อีก 130 ตำบลที่กำลังจะตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน ยึดหลักของการมีสัจจะ ความเกื้อกูลกันในชุมชน” นายสามารถ กล่าวทิ้งท้าย
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน 15 จังหวัดภาคเหนือ จัดงานสัมมนาเพื่อสรุปบทเรียนพื้นที่ตำบลนำร่อง 38 ตำบล พัฒนาระบบสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ และเตรียมเสนอพื้นที่ตำบลขยาย 130 ตำบลกองทุนสวัสดิการชาวบ้านขึ้น ณ วัดก่วมใต้ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีแกนนำเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้กว่า 400 คน
นายสามารถ พุทธา ประธานที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการจัดกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน 38 ตำบลนำร่องในเขตภาคเหนือ เป็นรูปแบบการออมเงินวันละบาท ซึ่งเป็นการปรับฐานให้คนมารวมกัน เมื่อคนรวมกันมากขึ้นก็สามารถรวมปัญญาของแต่ละคน แล้วขยายผลไปสู่ชุมชนใกล้เคียง จนมีสมาชิกและเครือข่ายเพิ่มขึ้น แล้วนำเงินออมที่มีมาจัดสวัสดิการให้แก่กัน เพื่อความมั่นคงในชีวิต ดูแลช่วยเหลือกันบนพื้นฐานของความผูกพัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน แบ่งทุกข์ร่วมกันในชุมชน
“ตัวอย่างการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้านจังหวัดลำปาง ที่เน้นการ ออมเพื่อกู้ สู่การออมเพื่อให้ สร้างความเลื่อมใสและศรัทธา ในปี 2542 เราให้สมาชิกในกลุ่มออมทรัพย์ของเขตเทศบาลลำปางไปเรียนรู้จากหลายชุมชน พอกลับมาดำเนินการประมาณหนึ่งปี จึงรู้ว่าการออมเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้กับชาวบ้าน หนำซ้ำยังเป็นการทำลายระบบครอบครัวให้แตกแยกเรื่อยมา การออมเพื่อกู้เป็นการสร้างศัตรูอย่างถาวร พอถึงกำหนดส่งคืนไม่มีเงินมาคืนกลุ่มออมทรัพย์ ทำให้ครอบครัวทะเลาะกันอยู่เรื่อยๆเกิดปัญหาไม่มีวันจบสิ้น” ประธานที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชาวบ้านภาคเหนือ กล่าวและเสริมว่า
ต่อมาจึงได้ปรับแนวคิดการออมทรัพย์ดังกล่าวใหม่เป็น “การออมทรัพย์เพื่อให้” จะได้ผลบุญมากกว่า ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความสนใจ จึงนำเงินมาออมทรัพย์ร่วมกัน แล้วนำมาจัดสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกในยามเดือดร้อน การออมเพื่อให้เริ่มขยายแนวความคิดไปสู่ชุมชนใกล้เคียง สามารถแก้ไขปัญหาความจนได้ จากนั้นก็เริ่มขยายสู่ระดับอำเภอ คือ เถิน เกาะข่า แม่เมาะ และอำเภอเมืองกว่า 10 ตำบล ดำเนินการมาได้ 2-3 ปี มีสมาชิกหลายพันคน
การจัดการกองทุนนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรก 50% ของเงินออมทรัพย์นำมาจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกแบบครบวงจร ให้สวัสดิการสมาชิกไปแล้ว 3 ล้านกว่าบาท ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากนี้ยังให้สวัสดิการสำหรับพี่น้องที่ไปขึ้นทะเบียนคนจนในเรื่องการคลอดบุตร เยี่ยมไข้ให้สงเคราะห์ อีก 2 แสนกว่าบาท 650 คน ส่วนที่สอง 30% นำมาทำธุรกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน จัดตั้งเป็นกองทุนรับซื้อขยะ ทำสวนผักปลอดสาร สร้างธนาคารขี้วัวให้สมาชิกที่เลี้ยงวัวนำขี้วัวมาออมแทนที่จะนำเงินมาออมแต่ใช้ขี้วัว เอามาทำปุ๋ยอินทรีย์แจกจ่ายให้กับสมาชิก และส่วนที่สาม 20% นำมาเป็นกองทุนกลางเพื่อเป็นค่าเดินทางให้เครือข่ายกองทุนสวัสดิการมาพบปะกันทุกวันที่ 3 ของเดือนเพื่อนำความรู้ใหม่มาแลกเปลี่ยนกัน
“การจัดสวัสดิการชาวบ้านจึงเป็นความสุขของชุมชน ยึดถือปฏิบัติให้รู้จักกลับมารู้จักเก็บออม รู้จักกินอยู่อย่างพอเพียง นำไปปรับใช้จนนำไปสู่การมีสัจจะร่วมกัน การมีส่วนร่วมจึงเป็นพลังแห่งความสามัคคี อยากให้อีก 130 ตำบลที่กำลังจะตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน ยึดหลักของการมีสัจจะ ความเกื้อกูลกันในชุมชน” นายสามารถ กล่าวทิ้งท้าย
4 วิธีการใช้เงินอย่างไม่ฟุ่มเฟือย
4 วิธีการใช้เงินอย่างไม่ฟุ่มเฟือย
แม้จะใช้ชีวิตเรืยบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ในโลกยุคใหม่ อย่างไรก็ต้องมีเงินไว้แลกเปลี่ยนข้าวของและปัจจัยที่จําเป็นในชีวิตประจําวันใช่ไหมคะ
และคนทํางานรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็มีรายได้หลักมาจากเงินเดือนทั้งนั้น จึงมีหลายคนที่หลายครั้งมีจิตประหวัดคิดถึงเงินบ่อย ๆ พานก่อความกลุ้มกังวล หนักเข้าก็กลายเป็นความกลัว เสียสูขภาพจิตยิ่งนัก อย่ากระนั้น มีวิธีกําจัดความกลัวเงินไม่พอใช้มาฝาก
1 อย่าย่ามใจ ควรตรวจเงินในกระเป๋าสัปดาห์ละครั้งค่ะเพื่อเปรียบเทียบส่วนที่ใช้ไปกับเงินที่เหลือติดในกระเป๋าของคุณ
2 จัดบรรยากาศแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เพราะเมื่อสี่งแวดล้อมวุ่นวาย
ก่อความเครียดเอาได้ อันจะนํามาซึ้งการใช้เงินอย่างไร้สติสําหรับบางคนได้
3 รู้ข้อกําจัดของตัวเอง จงรู้ศักยภาพการหมุนเงินของตัวเอง อย่าบุ่มบ่ามนั่นผ่อนนี่นะค่ะ
4 เบนวิธีคิดมาเป็นนักอนุรักษ์ การใช้ของอย่างรู้คุณค่า รีไซเคิลสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว รับผิดชอบต่อสังคมและสี่งแวดล้อม ช่วยให้คุณกลายเป็นคนเห็นค่าของข้าวของและยับยั้งการใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายได้นะคะ
แม้จะใช้ชีวิตเรืยบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ในโลกยุคใหม่ อย่างไรก็ต้องมีเงินไว้แลกเปลี่ยนข้าวของและปัจจัยที่จําเป็นในชีวิตประจําวันใช่ไหมคะ
และคนทํางานรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็มีรายได้หลักมาจากเงินเดือนทั้งนั้น จึงมีหลายคนที่หลายครั้งมีจิตประหวัดคิดถึงเงินบ่อย ๆ พานก่อความกลุ้มกังวล หนักเข้าก็กลายเป็นความกลัว เสียสูขภาพจิตยิ่งนัก อย่ากระนั้น มีวิธีกําจัดความกลัวเงินไม่พอใช้มาฝาก
1 อย่าย่ามใจ ควรตรวจเงินในกระเป๋าสัปดาห์ละครั้งค่ะเพื่อเปรียบเทียบส่วนที่ใช้ไปกับเงินที่เหลือติดในกระเป๋าของคุณ
2 จัดบรรยากาศแวดล้อมให้ผ่อนคลาย เพราะเมื่อสี่งแวดล้อมวุ่นวาย
ก่อความเครียดเอาได้ อันจะนํามาซึ้งการใช้เงินอย่างไร้สติสําหรับบางคนได้
3 รู้ข้อกําจัดของตัวเอง จงรู้ศักยภาพการหมุนเงินของตัวเอง อย่าบุ่มบ่ามนั่นผ่อนนี่นะค่ะ
4 เบนวิธีคิดมาเป็นนักอนุรักษ์ การใช้ของอย่างรู้คุณค่า รีไซเคิลสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว รับผิดชอบต่อสังคมและสี่งแวดล้อม ช่วยให้คุณกลายเป็นคนเห็นค่าของข้าวของและยับยั้งการใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายได้นะคะ
วางแผนการใช้เงิน
วางแผนการใช้เงิน
ถ้าไม่ได้เกิดมามีรูปเป็นทรัพย์ จะหวังรวยทางลัดก็คงยาก หรือ จะหวังฟลุ๊ค ก็ต้องพกดวงมาด้วย แต่ที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ทำได้แน่ ก็คือ วางแผนในเรื่องการใช้เงินที่ได้รับ ในแต่ละเดือน อย่างประหยัด ซึ่งเดซี่มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาแนะนำค่ะ แต่จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่ที่ใจของคุณค่ะ
สร้างนิสัยการออม
แม้เศรษฐีเงินออม อาจต้องใช้เวลามากอยู่ และยังต้องใช้ความอดทน ค่อนข้างมากโข แต่ความหวังที่จะเห็นเงินล้าน ในบัญชีเงินฝาก ก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อแต่อย่างใด เริ่มต้นเก็บ 10 % ของเงินเดือนไว้เป็นเงินออม ถ้าจะให้ดีฝากเป็นบัญชีเงินฝากประจำ แม้ดอกเบี้ยที่ได้จะไม่มากมายนัก แต่ช่วยสร้างนิสัยการออมได้ ข้อนี้สำคัญมากต้องลงมือทำ โดยไม่มีเงื่อนไข ลงมือก่อน ก็มีโอกาสรวยก่อนใครนะคะ
วางแผนการใช้เงิน
ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของคุณทุกสัปดาห์ โดยการจดบันทึกรายการ ที่คุณต้องควักเงินจ่ายทุกรายการ วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่า คุณหมดเงินไปกับรายจ่ายประเภทไหนบ้าง และจะเลือกตัดทอนรายจ่ายส่วนใดออกได้
วางแผนปลดหนี้
ถ้าคุณกำลังมีหนี้สินพะรุงพะรัง เลือกจ่ายหนี้ที่มีอัตรา ดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อน โดยเฉพาะหนี้จากเครดิตการ์ดของคุณ ที่ดอกเบี้ยสุดโหดนั่นแหล่ะ
ทำตัวเป็นคุณประหยัด ช็อปแบบประหยัด
ลืมเรื่องแฟชั่นไปเสียบ้าง ถ้าคุณเคยคุ้นเคยกับการซื้อเสื้อผ้า ชนิดใช้ได้ดีปีละหน ลองเปลี่ยนมาซื้อประเภทใช้ได้บ่อย ๆ แทบทุกโอกาส จะช่วยเซพตังค์ เพราะไม่ต้องซื้อกันบ่อยนัก สมัครเป็นสมาชิกหนังสือ หนังสือดี ๆ น่ะ ทำให้คุณรอบรู้ ถ้าคุณเป็นหนอนหนังสือตัวยง สมัครเป็นสมาชิกสิ ประหยัดสตางค์ ไปอีก 15-20 % นะ ซื้อของตอนลดราคา ช่วยประหยัดไปได้มากทีเดียว แต่ก่อนที่จะไปซื้อ จดรายการของที่จะซื้อไปด้วย พร้อมกะงบไว้คร่าวๆ เตรียมเงินสดไปให้พอดี และไม่ควรเดินไปเรื่อยๆ ไม่งั้นคุณจะจ่ายเพลินมือ ทางที่ดีไม่พกเครดิตการ์ดไปด้วย เพราะของยั่วใจ ให้คุณต้องจ่ายสตางค์น่ะ มีมากจริงๆ
เที่ยวอย่างประหยัด
1. ไปเที่ยวช่วงโลว์ซีซัน ค่าโรงแรมถูกกว่าตั้ง 30-50 % แน่ะ
2. . เที่ยวแบบประหยัดอีกวิธี ก็คือ เตรียมอาหารไปปิคนิคกับเพื่อน ที่สวนสาธารณะเช่น สวนลุมพินี สวนจตุจักร สวนรถไฟ สวนหลวงร.9 พุทธมณฑล
กินอย่างประหยัด
กินให้น้อยลง กินมาก จ่ายมาก กินน้อย จ่ายน้อย แถมกินมาก ยังตายง่าย กินน้อยดีกว่านะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ยอมปล่อยตัว ให้หิวโซ แต่กินเมื่อรู้สึกหิว และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ราคาไม่แพง ที่สำคัญไม่ต้องไปเสียเงิน เข้าคอร์สลดความอ้วน หรือ จ่ายค่าอาหารเสริมแพงๆ ทั้งประหยัดทั้งมีรูปร่างดี แบบนี้ถ้าไม่เรียกว่าคุ้ม แล้วจะเรียกว่าอะไร กินอาหารที่บ้านให้มากขึ้น นอกจากช่วยเซฟเงินแล้ว ยังลดปริมาณผงชูรส ในกระเพาะอาหารอีกด้วย และเท่ากับช่วยคุณเซฟ ค่ารักษาพยาบาลในบั้นปลายได้อีกต่อหนึ่งค่ะ
สรรหาของฟรี ความเพลิดเพลิน ที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ ก็ยังพอหาได้ อ่านหนังสือฟรีที่ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ใกล้ตลาดเทเวศน์ ห้องสมุดประชาชน ชื่นชมงานศิลป์ แบบไม่ต้องใช้เงินตรา ได้ที่ หอศิลปมหาวิทยาศิลปากร วังท่าพระ พักผ่อนในสวนสวย ความเพลิดเพลิน ที่ไม่ต้องเสียเงิน อุทยานเบญจสิริ ติดกับห้าง ดิ เอ็มโพเรียม สวนลุมพินี สวนหลวงร.9 ถนนศรีนครินทร์ ฯลฯ
วางแผนการใช้เงิน
ถ้าไม่ได้เกิดมามีรูปเป็นทรัพย์ จะหวังรวยทางลัดก็คงยาก หรือ จะหวังฟลุ๊ค ก็ต้องพกดวงมาด้วย แต่ที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ทำได้แน่ ก็คือ วางแผนในเรื่องการใช้เงินที่ได้รับ ในแต่ละเดือน อย่างประหยัด ซึ่งเดซี่มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาแนะนำค่ะ แต่จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่ที่ใจของคุณค่ะ
สร้างนิสัยการออม
แม้เศรษฐีเงินออม อาจต้องใช้เวลามากอยู่ และยังต้องใช้ความอดทน ค่อนข้างมากโข แต่ความหวังที่จะเห็นเงินล้าน ในบัญชีเงินฝาก ก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อแต่อย่างใด เริ่มต้นเก็บ 10 % ของเงินเดือนไว้เป็นเงินออม ถ้าจะให้ดีฝากเป็นบัญชีเงินฝากประจำ แม้ดอกเบี้ยที่ได้จะไม่มากมายนัก แต่ช่วยสร้างนิสัยการออมได้ ข้อนี้สำคัญมากต้องลงมือทำ โดยไม่มีเงื่อนไข ลงมือก่อน ก็มีโอกาสรวยก่อนใครนะคะ
วางแผนการใช้เงิน
ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของคุณทุกสัปดาห์ โดยการจดบันทึกรายการ ที่คุณต้องควักเงินจ่ายทุกรายการ วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่า คุณหมดเงินไปกับรายจ่ายประเภทไหนบ้าง และจะเลือกตัดทอนรายจ่ายส่วนใดออกได้
วางแผนปลดหนี้
ถ้าคุณกำลังมีหนี้สินพะรุงพะรัง เลือกจ่ายหนี้ที่มีอัตรา ดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อน โดยเฉพาะหนี้จากเครดิตการ์ดของคุณ ที่ดอกเบี้ยสุดโหดนั่นแหล่ะ
ทำตัวเป็นคุณประหยัด ช็อปแบบประหยัด
ลืมเรื่องแฟชั่นไปเสียบ้าง ถ้าคุณเคยคุ้นเคยกับการซื้อเสื้อผ้า ชนิดใช้ได้ดีปีละหน ลองเปลี่ยนมาซื้อประเภทใช้ได้บ่อย ๆ แทบทุกโอกาส จะช่วยเซพตังค์ เพราะไม่ต้องซื้อกันบ่อยนัก สมัครเป็นสมาชิกหนังสือ หนังสือดี ๆ น่ะ ทำให้คุณรอบรู้ ถ้าคุณเป็นหนอนหนังสือตัวยง สมัครเป็นสมาชิกสิ ประหยัดสตางค์ ไปอีก 15-20 % นะ ซื้อของตอนลดราคา ช่วยประหยัดไปได้มากทีเดียว แต่ก่อนที่จะไปซื้อ จดรายการของที่จะซื้อไปด้วย พร้อมกะงบไว้คร่าวๆ เตรียมเงินสดไปให้พอดี และไม่ควรเดินไปเรื่อยๆ ไม่งั้นคุณจะจ่ายเพลินมือ ทางที่ดีไม่พกเครดิตการ์ดไปด้วย เพราะของยั่วใจ ให้คุณต้องจ่ายสตางค์น่ะ มีมากจริงๆ
เที่ยวอย่างประหยัด
1. ไปเที่ยวช่วงโลว์ซีซัน ค่าโรงแรมถูกกว่าตั้ง 30-50 % แน่ะ
2. . เที่ยวแบบประหยัดอีกวิธี ก็คือ เตรียมอาหารไปปิคนิคกับเพื่อน ที่สวนสาธารณะเช่น สวนลุมพินี สวนจตุจักร สวนรถไฟ สวนหลวงร.9 พุทธมณฑล
กินอย่างประหยัด
กินให้น้อยลง กินมาก จ่ายมาก กินน้อย จ่ายน้อย แถมกินมาก ยังตายง่าย กินน้อยดีกว่านะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ยอมปล่อยตัว ให้หิวโซ แต่กินเมื่อรู้สึกหิว และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ราคาไม่แพง ที่สำคัญไม่ต้องไปเสียเงิน เข้าคอร์สลดความอ้วน หรือ จ่ายค่าอาหารเสริมแพงๆ ทั้งประหยัดทั้งมีรูปร่างดี แบบนี้ถ้าไม่เรียกว่าคุ้ม แล้วจะเรียกว่าอะไร กินอาหารที่บ้านให้มากขึ้น นอกจากช่วยเซฟเงินแล้ว ยังลดปริมาณผงชูรส ในกระเพาะอาหารอีกด้วย และเท่ากับช่วยคุณเซฟ ค่ารักษาพยาบาลในบั้นปลายได้อีกต่อหนึ่งค่ะ
สรรหาของฟรี ความเพลิดเพลิน ที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ ก็ยังพอหาได้ อ่านหนังสือฟรีที่ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ใกล้ตลาดเทเวศน์ ห้องสมุดประชาชน ชื่นชมงานศิลป์ แบบไม่ต้องใช้เงินตรา ได้ที่ หอศิลปมหาวิทยาศิลปากร วังท่าพระ พักผ่อนในสวนสวย ความเพลิดเพลิน ที่ไม่ต้องเสียเงิน อุทยานเบญจสิริ ติดกับห้าง ดิ เอ็มโพเรียม สวนลุมพินี สวนหลวงร.9 ถนนศรีนครินทร์ ฯลฯ
วางแผนการใช้เงิน
ชีวิตการแต่งงานและการเงิน
ชีวิตการแต่งงานและการเงิน
แต่งงาน... แต่งเงิน...
การแต่งงานใครๆ ก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญในชีวิตของคนเรา ไม่ใช่เรื่องของคนแค่สองคนแต่ยังต้องรวมไปถึงญาติ และครอบครัวของทั้งสองฝ่ายด้วย ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาคู่แต่งงานมักจะให้ความสำคัญกับงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส งานเลี้ยง งานฉลองที่มีแขกเหรื่อมากมาย ทั้งญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้องของทั้งสองฝ่ายเยอะแยะไปหมด
แม้ว่าในปัจจุบันจะมี Wedding Organizer มี Wedding Studio รับจัดการ ดูแล และออกแบบงานแต่งงานให้แบบครบวงจรก็ตาม ว่าที่เจ้าบ่าว เจ้าสาวทั้งหลายก็ยังมีเรื่องให้วิ่งวุ่นๆ หลายเรื่องเพื่อให้งานเลี้ยงแม้เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงออกมาดีที่สุด
ลองมาช่วยกันคิดดูเล่นๆ ค่ะว่าต้องทำอะไรกันบ้าง เริ่มตั้งแต่วางแนวคิด ออกแบบงาน เลือกสถานที่ เลือกแบบการ์ด หาของชำร่วย เลือกอาหาร ชิมอาหาร เลือกชุด ลองชุด ตระเวนแจกการ์ด ถ่ายรูปแต่งงาน เตรียมรูปทำสไลด์ แถมยังต้องมีการไปอาบน้ำแร่ แช่น้ำนม ขัดผิว นวดหน้า หมักผม ทำเล็บ อีกสารพัดสารพัน คิดแล้วก็เห็นเงินสะพัด มีการกระจายรายได้ไปหลายแวดวงด้วยกัน นี่ขนาดยังไม่รวมพิธีสงฆ์ พิธีรดน้ำสังข์ ขบวนขันหมาก สินสอดทองหมั้น พิธียกน้ำชาแบบจีน พิธีตามหลักศาสนาคริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่นๆ
นั่นก็ว่าด้วยเรื่องก่อนแต่ง พอแต่งงานไปแล้ว น่าจะต้องวางแผนการแต่งเงินด้วย คนเราต่อให้รักกันปานใด รู้จักกันมานานเพียงใด หากไม่จัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ของชีวิตคู่ให้ชัดเจน ปล่อยให้คลุมๆ เครือๆ ไม่รู้ว่าคู่ชีวิตมีเงินเดือนประมาณเท่าใด ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอะไร มีหนี้สินอยู่บ้างมั้ย เป็นหนี้อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร ต้องส่งเสีย ดูแลครอบครัว พ่อแม่พี่น้องบ้างมั้ย ความไม่รู้หรือความคลุมเครือจะก่อให้เกิดการระหองระแหง สร้างความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ความไม่เข้าใจกัน ซึ่งจะบั่นทอนความสุข ความอบอุ่นในการใช้ชีวิตคู่ไปอย่างน่าเสียดาย
การแต่งเงินที่ดี ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคู่ ที่จะต้องร่วมกันออกแบบ โดยควรจะเริ่มจากการทำบันทึกรายได้ และการใช้จ่ายสักสองหรือสามเดือน เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของทั้งสองคน และเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เริ่มตั้งแต่บันทึกเงินเดือน รายได้ต่างๆ แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายร่วมทั้ง ค่าเช่าบ้านหรือผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถหรือค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัว การบันทึกนี้จะช่วยให้ทั้งคู่ได้รับรู้รายได้ และภาระค่าใช้จ่ายของกันและกัน รวมทั้งส่วนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ลองนึกดูหากเรารู้แต่ว่าคู่ชีวิตของเรามีรายได้ มีเงินเดือนเท่านั้น เท่านี้ แล้วประเมินเอาเองว่า น่าจะมีเงินให้เรา หรือให้ครอบครัวเท่านั้น เท่านี้ น่าจะซื้อนั่น จ่ายนี่ให้เราได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะโดยปกติเรามักมีแนวโน้มจะคิดและตีความอะไรเข้าข้างตัวเอง แล้วความไม่เข้าใจกันก็จะก่อร่างสร้างตัวขึ้น เพราะความไม่รู้ เพราะมีแต่ข้อมูลรายได้ด้านเดียว
นอกจากนี้ การทำบันทึกแบบนี้จะทำให้ทั้งคู่ได้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของกันและกันด้วย คู่ชีวิตของเราอาจจะงกกว่าที่เรารู้จัก หรือฟุ่มเฟือยมากกว่าที่เราคิด การรับรู้น่าจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อปรับจูนให้เข้ากันได้ดีขึ้น ข้อมูลสำคัญนี้จะช่วยให้การแต่งเงินเป็นไปอย่างเหมาะสม หลายคู่อาจจะตกลงจะรวมกระเป๋ากันแล้วให้คุณแม่บ้านเป็นผู้บริหาร แต่หลายคู่อาจจะยังคงแยกกระเป๋ากัน แต่มี "กองทุนครอบครัวอบอุ่น" สำหรับค่าใช้จ่ายร่วมโดยอาจจะรับผิดชอบคนละเท่าๆ กัน หรือตามสัดส่วนรายได้ก็แล้วแต่จะพูดคุยกัน เพื่อยังคงความเป็นอิสระ ความส่วนตัวไว้บ้าง
หลายคนอาจจะต้องพบกับปัญหาทางการเงินของคู่ชีวิตที่คาดไม่ถึง แต่เมื่อเราตัดสินใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว คู่ชีวิตที่ดี ย่อมต้องเชื่อมั่นในกันและกัน ช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคทางการเงินไปให้ได้ อาจจะต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ตั้งเป้าหมาย หาวิธีจัดการหนี้ และตัดลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้การจัดการหนี้สำเร็จลุล่วงไปไม่เป็นก้างขวางทางทำลายความรักที่เคยมีให้กัน
ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ทุกคู่ควรมีการกำหนดเป้าหมายในอนาคตร่วมกัน อย่างเช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ การท่องเที่ยว การดูแลคุณพ่อคุณแม่ ญาติๆ ของทั้งสองฝ่าย การมีลูก การศึกษาของลูก การเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ การปรับปรุงตกแต่งบ้าน ซึ่งต้องกำหนดด้วยว่าเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อจะได้จัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่นคง" สำหรับเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นใจในอนาคต
เมื่อครอบครัวมั่นคงแล้ว ก็ต้องไม่ลืมจัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่งคั่ง" สำหรับการขยายดอกผล สร้างความมั่งคั่งให้เงินทองที่มี ได้ผลิดอกออกผลจากการออม การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามที่ควรจะเป็น
และต้องไม่ลืมวางแผนเผื่อเหตุฉุกเฉินไว้บ้าง เพราะความไม่แน่นอน เหตุไม่คาดฝัน หรืออุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ หลายคู่อาจจะเลือกทำประกันภัย ประกันชีวิต แต่ก็น่าจะวางแผนต้องเผื่อการตกงาน การลดลงของรายได้ เศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งเหตุฉุกเฉินของญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย จึงอาจจะต้องมี "กองทุนครอบครัวสุขสันต์" ไว้บ้าง...
ฝากบอกคุณสามีค่ะว่า ภริยา ปรมา สขา หรือภรรยาเป็นเพื่อนชั้นยอด... และขอฝากบอกคุณภรรยาด้วยค่ะว่า สุสฺสูสา เสฎฺฐา ภริยานํ หรือภรรยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐกว่าภรรยาทั้งหลาย
ชีวิตการแต่งงานและการเงิน
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.bangkokbizweek.com/
แต่งงาน... แต่งเงิน...
การแต่งงานใครๆ ก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญในชีวิตของคนเรา ไม่ใช่เรื่องของคนแค่สองคนแต่ยังต้องรวมไปถึงญาติ และครอบครัวของทั้งสองฝ่ายด้วย ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาคู่แต่งงานมักจะให้ความสำคัญกับงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส งานเลี้ยง งานฉลองที่มีแขกเหรื่อมากมาย ทั้งญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้องของทั้งสองฝ่ายเยอะแยะไปหมด
แม้ว่าในปัจจุบันจะมี Wedding Organizer มี Wedding Studio รับจัดการ ดูแล และออกแบบงานแต่งงานให้แบบครบวงจรก็ตาม ว่าที่เจ้าบ่าว เจ้าสาวทั้งหลายก็ยังมีเรื่องให้วิ่งวุ่นๆ หลายเรื่องเพื่อให้งานเลี้ยงแม้เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงออกมาดีที่สุด
ลองมาช่วยกันคิดดูเล่นๆ ค่ะว่าต้องทำอะไรกันบ้าง เริ่มตั้งแต่วางแนวคิด ออกแบบงาน เลือกสถานที่ เลือกแบบการ์ด หาของชำร่วย เลือกอาหาร ชิมอาหาร เลือกชุด ลองชุด ตระเวนแจกการ์ด ถ่ายรูปแต่งงาน เตรียมรูปทำสไลด์ แถมยังต้องมีการไปอาบน้ำแร่ แช่น้ำนม ขัดผิว นวดหน้า หมักผม ทำเล็บ อีกสารพัดสารพัน คิดแล้วก็เห็นเงินสะพัด มีการกระจายรายได้ไปหลายแวดวงด้วยกัน นี่ขนาดยังไม่รวมพิธีสงฆ์ พิธีรดน้ำสังข์ ขบวนขันหมาก สินสอดทองหมั้น พิธียกน้ำชาแบบจีน พิธีตามหลักศาสนาคริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่นๆ
นั่นก็ว่าด้วยเรื่องก่อนแต่ง พอแต่งงานไปแล้ว น่าจะต้องวางแผนการแต่งเงินด้วย คนเราต่อให้รักกันปานใด รู้จักกันมานานเพียงใด หากไม่จัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ของชีวิตคู่ให้ชัดเจน ปล่อยให้คลุมๆ เครือๆ ไม่รู้ว่าคู่ชีวิตมีเงินเดือนประมาณเท่าใด ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอะไร มีหนี้สินอยู่บ้างมั้ย เป็นหนี้อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร ต้องส่งเสีย ดูแลครอบครัว พ่อแม่พี่น้องบ้างมั้ย ความไม่รู้หรือความคลุมเครือจะก่อให้เกิดการระหองระแหง สร้างความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ความไม่เข้าใจกัน ซึ่งจะบั่นทอนความสุข ความอบอุ่นในการใช้ชีวิตคู่ไปอย่างน่าเสียดาย
การแต่งเงินที่ดี ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคู่ ที่จะต้องร่วมกันออกแบบ โดยควรจะเริ่มจากการทำบันทึกรายได้ และการใช้จ่ายสักสองหรือสามเดือน เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของทั้งสองคน และเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เริ่มตั้งแต่บันทึกเงินเดือน รายได้ต่างๆ แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายร่วมทั้ง ค่าเช่าบ้านหรือผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถหรือค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัว การบันทึกนี้จะช่วยให้ทั้งคู่ได้รับรู้รายได้ และภาระค่าใช้จ่ายของกันและกัน รวมทั้งส่วนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ลองนึกดูหากเรารู้แต่ว่าคู่ชีวิตของเรามีรายได้ มีเงินเดือนเท่านั้น เท่านี้ แล้วประเมินเอาเองว่า น่าจะมีเงินให้เรา หรือให้ครอบครัวเท่านั้น เท่านี้ น่าจะซื้อนั่น จ่ายนี่ให้เราได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะโดยปกติเรามักมีแนวโน้มจะคิดและตีความอะไรเข้าข้างตัวเอง แล้วความไม่เข้าใจกันก็จะก่อร่างสร้างตัวขึ้น เพราะความไม่รู้ เพราะมีแต่ข้อมูลรายได้ด้านเดียว
นอกจากนี้ การทำบันทึกแบบนี้จะทำให้ทั้งคู่ได้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของกันและกันด้วย คู่ชีวิตของเราอาจจะงกกว่าที่เรารู้จัก หรือฟุ่มเฟือยมากกว่าที่เราคิด การรับรู้น่าจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อปรับจูนให้เข้ากันได้ดีขึ้น ข้อมูลสำคัญนี้จะช่วยให้การแต่งเงินเป็นไปอย่างเหมาะสม หลายคู่อาจจะตกลงจะรวมกระเป๋ากันแล้วให้คุณแม่บ้านเป็นผู้บริหาร แต่หลายคู่อาจจะยังคงแยกกระเป๋ากัน แต่มี "กองทุนครอบครัวอบอุ่น" สำหรับค่าใช้จ่ายร่วมโดยอาจจะรับผิดชอบคนละเท่าๆ กัน หรือตามสัดส่วนรายได้ก็แล้วแต่จะพูดคุยกัน เพื่อยังคงความเป็นอิสระ ความส่วนตัวไว้บ้าง
หลายคนอาจจะต้องพบกับปัญหาทางการเงินของคู่ชีวิตที่คาดไม่ถึง แต่เมื่อเราตัดสินใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว คู่ชีวิตที่ดี ย่อมต้องเชื่อมั่นในกันและกัน ช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคทางการเงินไปให้ได้ อาจจะต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ตั้งเป้าหมาย หาวิธีจัดการหนี้ และตัดลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้การจัดการหนี้สำเร็จลุล่วงไปไม่เป็นก้างขวางทางทำลายความรักที่เคยมีให้กัน
ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ทุกคู่ควรมีการกำหนดเป้าหมายในอนาคตร่วมกัน อย่างเช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ การท่องเที่ยว การดูแลคุณพ่อคุณแม่ ญาติๆ ของทั้งสองฝ่าย การมีลูก การศึกษาของลูก การเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ การปรับปรุงตกแต่งบ้าน ซึ่งต้องกำหนดด้วยว่าเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อจะได้จัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่นคง" สำหรับเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นใจในอนาคต
เมื่อครอบครัวมั่นคงแล้ว ก็ต้องไม่ลืมจัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่งคั่ง" สำหรับการขยายดอกผล สร้างความมั่งคั่งให้เงินทองที่มี ได้ผลิดอกออกผลจากการออม การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามที่ควรจะเป็น
และต้องไม่ลืมวางแผนเผื่อเหตุฉุกเฉินไว้บ้าง เพราะความไม่แน่นอน เหตุไม่คาดฝัน หรืออุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ หลายคู่อาจจะเลือกทำประกันภัย ประกันชีวิต แต่ก็น่าจะวางแผนต้องเผื่อการตกงาน การลดลงของรายได้ เศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งเหตุฉุกเฉินของญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย จึงอาจจะต้องมี "กองทุนครอบครัวสุขสันต์" ไว้บ้าง...
ฝากบอกคุณสามีค่ะว่า ภริยา ปรมา สขา หรือภรรยาเป็นเพื่อนชั้นยอด... และขอฝากบอกคุณภรรยาด้วยค่ะว่า สุสฺสูสา เสฎฺฐา ภริยานํ หรือภรรยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐกว่าภรรยาทั้งหลาย
ชีวิตการแต่งงานและการเงิน
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.bangkokbizweek.com/
เงิน...หาได้ ใช้เป็น
เงิน...หาได้ ใช้เป็น
บางคนหาเงินได้เยอะ... ก็ใช้เยอะ ไม่คิดถึงอนาคตว่ายังอีกยาวไกล ยังมีโอกาสที่จะต้องใช้เงินในทุกช่วงของชีวิตอีกมาก รวมถึงยังอาจต้องเผชิญกับสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น เมื่อคุณมีรายได้
คุณควรจะวางแผนบริหารเงินและค่าใช้จ่าย โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
จ่ายให้ตนเอง แล้วชำระหนี้สิน
ใช้เงินอย่างประหยัด และหมั่นทำบัญชีรายรับรายจ่าย
แบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้สำหรับอนาคตของตนเองทันทีที่มีรายได้เข้ามา อย่าละเลยที่จะเก็บออม ซึ่งการออมเป็นประจำจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการออม
ให้แก่ตัวคุณเอง
คุณควรตระหนักถึงความจำเป็นก่อนการซื้อของทุกครั้ง ซึ่งการทำบันทึกรายรับรายจ่ายจะช่วยให้คุณมีระเบียบวินัยในการใช้จ่าย และสามารถสามารถควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองได้
เลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากสิ่งไม่คาดฝัน
นอกจากการออมเงินแล้ว คุณสามารถเพิ่มมูลค่าเงินออมของคุณให้มากขึ้นได้ด้วยการลงทุน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ให้เงินทำงาน” ที่สำคัญ... อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง คุณควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง
เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำประกันจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบายามเกิดเหตุการณ์คับขันและต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนทางการเงินที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินและความมั่นใจในการดำรงชีวิตแก่ตนเองและครอบครัว
โปรแกรมงบการเงินส่วนบุคคล
บางคนหาเงินได้เยอะ... ก็ใช้เยอะ ไม่คิดถึงอนาคตว่ายังอีกยาวไกล ยังมีโอกาสที่จะต้องใช้เงินในทุกช่วงของชีวิตอีกมาก รวมถึงยังอาจต้องเผชิญกับสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น เมื่อคุณมีรายได้
คุณควรจะวางแผนบริหารเงินและค่าใช้จ่าย โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
จ่ายให้ตนเอง แล้วชำระหนี้สิน
ใช้เงินอย่างประหยัด และหมั่นทำบัญชีรายรับรายจ่าย
แบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้สำหรับอนาคตของตนเองทันทีที่มีรายได้เข้ามา อย่าละเลยที่จะเก็บออม ซึ่งการออมเป็นประจำจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการออม
ให้แก่ตัวคุณเอง
คุณควรตระหนักถึงความจำเป็นก่อนการซื้อของทุกครั้ง ซึ่งการทำบันทึกรายรับรายจ่ายจะช่วยให้คุณมีระเบียบวินัยในการใช้จ่าย และสามารถสามารถควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองได้
เลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากสิ่งไม่คาดฝัน
นอกจากการออมเงินแล้ว คุณสามารถเพิ่มมูลค่าเงินออมของคุณให้มากขึ้นได้ด้วยการลงทุน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ให้เงินทำงาน” ที่สำคัญ... อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง คุณควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง
เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำประกันจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบายามเกิดเหตุการณ์คับขันและต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนทางการเงินที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินและความมั่นใจในการดำรงชีวิตแก่ตนเองและครอบครัว
โปรแกรมงบการเงินส่วนบุคคล
ช้อปอย่างชาญฉลาด
ช้อป...!!! อย่างฉลาด
ช่วงนี้จะขอพูดถึงการใช้เงินช้อปปิ้งของคุณผู้หญิงหน่อยนะคะ ช้อปให้เป็น ก็มีเงินออมมากคะ
ในยุคเศรษฐกิจ ต้องรัดเข็มขัดเช่นนี้ จะทำอะไรหรือซื้ออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ เลยก็คือ ค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการช้อปปิ้ง การเดินทาง ท่องเที่ยว รวมถึงการใช้สอยเงินในเรื่องต่างๆ
ฉบับนี้ แนะนำหลากทิปส์วิธีประหยัดเงิน เพื่อให้คุณไม่ต้องกลายเป็นคนชักหน้าไม่ถึงหลังในอนาคต และมีความสุข กับการใช้จ่ายเงินทองที่หามาได้ให้มากที่สุด
ช้อปอย่างชาญฉลาด
คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการ ‘ช้อปปิ้ง’ เป็นกิจกรรมคลายเครียดยอดฮิตสำหรับคนมีชีวิตชิคๆ ในเมือง แต่ในยุคภาวะเศรษฐกิจฝืดเช่นนี้ คงต้องเริ่มพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับการช้อปอย่างไม่ลืมหูลืมตาเสียแล้ว และนี่คือทิปส์ง่ายๆ ในการช้อปปิ้ง เป็นการตั้งสติก่อนสตาร์ทก่อนออกไปช้อปกระจาย
1 เลือกซื้อแต่ของที่จำเป็น อย่าซื้อเพื่อสะสมแต้ม หรือสะสมยอดแลกของแถม ของบางอย่างหากพิจารณาแล้วว่ายังไม่จำเป็นต้องใช้ในตอนนั้น ก็ให้รอช่วงลดราคาตามเทศกาลต่างๆ ของใช้ฟุ่มเฟือยประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ ควรกลับไปถามตัวเองก่อนว่าอยากได้จริงหรือไม่ซื้อแล้วได้ใช้คุ้มค่าไหม
2 เปรียบเทียบคุณภาพและราคาสินค้า หากสินค้าสองอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน ให้เลือกซื้อของที่ราคาถูกกว่า ไม่ต้องไปยึดติดกับแบรนด์สินค้าที่อาจตั้งราคาไว้สูงเกินจริง
3 หากแพงแต่ซื้อแล้วคุ้ม ใช้ได้นาน ของมีความทนทาน ก็ยอมจ่ายไปเถอะ ดีกว่าซื้อของราคาถูกมาแต่ต้องซื้อบ่อยๆ อย่างพวกรองเท้า กระเป๋ามือสอง ที่เมื่อคำนวณดูแล้วจ่ายมากกว่าซื้อของแพงชิ้นเดียว เสียอีก อย่าเป็นพวกเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเลย
4 ช้อปแบบวางแผนล่วงหน้า โดยการจดรายการของที่จะซื้อ นอกจากนี้หากของที่จะซื้อมีเพียงแค่ชิ้นสองชิ้น คำนวณค่าน้ำมันรถไปห้างแล้ว แพงกว่าซื้อที่ร้านสะดวกซื้อแถวบ้าน ก็ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอกให้เปลืองแรง แถมยังเปลืองน้ำมันอีกด้วย
5 ซื้อเสื้อผ้าเรียบๆ แบบคลาสสิกเก็บไว้บ้าง อย่างพวกเสื้อสูท ชื่อชุดเดรสสีพื้นๆ เพราะของพวกนี้จะสามารถหยิบมาใส่เมื่อไรก็ได้ อาจเอามาประยุกต์นิดหน่อย เท่านี้ ก็ใช้ได้อีกนาน ไม่ตกเทรนด์แน่นอน
6 ลดการใช้เครดิตการ์ด เพราะเวลาเรารูดซื้อของ จะไม่เห็นเงินสดละลายหายไปต่อหน้าต่อตา กว่าจะรู้ตัว
อีกทีก็สายไปแล้ว หรือไม่ก็ใช้แค่ใบเดียว และจ่ายค่าบัตรแบบไม่ผ่อนชำระ
7 ซื้อของลดราคา เหมาโหลถูกกว่า เพื่อความประหยัดและคุ้มสุดๆ หรือเลือกซื้อ ช่วงซื้อ 1 แถม 1 โดยอาจหารครึ่งกับเพื่อน แต่ก็ต้องดูให้ดีๆ อย่าหลงคำโฆษณา ชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ ควรพิจารณาดูเสียก่อนว่ามีความคุ้มค่าจริงๆ
ช้อปอย่างชาญฉลาด
ที่มา mthai
11/16/2552
ความเข้าใจผิด 10 ประการเกี่ยวกับการวางแผนการเงินบุคคล
ความเข้าใจผิด 10 ประการเกี่ยวกับการวางแผนการเงินบุคคล
วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ แล้ว ทำให้ไม่อับจนตกทุกข์ได้ยากในอนาคต แต่ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนการเงินบุคคลของคนไทย ส่วนใหญ่ยังมีเพียงหยิบมือเดียว แถมความเข้าใจในหลายๆ เรื่อง ยังเป็นความเข้าใจที่ผิดๆ อาชีพนักวางแผนการเงิน หรือ Financial Planner เป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องฝ่าด่านความเข้าใจที่ผิดจำนวนไม่น้อย กว่าที่จะเข้าถึงหัวใจของผู้ที่เห็นความสำคัญในเรื่องการวางแผนการเงินได้
1. การวางแผนการเงินบุคคลเป็นเรื่องของคนรวยไม่ใช่เรื่องของคนจนและคนเกือบจน (ฐานะปานกลาง)
นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยที่จะวางแผนการเงินของตนเอง ความจริงแล้วการวางแผนการเงินเกี่ยวข้องโดยตรงกับคนทุกระดับฐานะการเงินไม่ว่าจะมีหรือจน
จริง ๆ แล้วคนฐานะปานกลางลงมามีความจำเป็นที่ต้องการแผนการเงินที่มากกว่ากลุ่มคนรวยเสียอีกเพื่อให้หลุดพ้นจากความจนหรือปัญหาภาระหนี้สิน เพียงแต่ระดับความลึกหรือความซับซ้อนของแผนอาจจะไม่มากเท่ากรณีของกลุ่มคนรวยที่มีทางเลือกในการวางแผนและความซับซ้อนที่มากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีปัญหาการเงินที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถ้ามีการวางแผนการเงินที่ดี ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รู้ที่มาที่ไปของเงิน ลดหรือตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้มีรายรับสุทธิภายหลังหักค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น นำไปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ และมีวินัยที่จะทำอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้ฐานะการเงินดีขึ้นได้
2. รวยแล้วไม่จำเป็นต้องวางแผนการเงินก็ได้
คนส่วนใหญ่มักจะชะล่าใจและมั่นใจมากเกินไปในฐานะและความมั่งคั่งที่ตนเองมีอยู่ทำให้ไม่สนใจที่จะวางแผนการเงิน โดยคิดว่าการวางแผนการเงินจะช่วยให้รวยขึ้น ดังนั้นถ้าตนเองรวยอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวางแผนการเงินก็ได้ ทำให้เกิดความประมาทไม่ระมัดระรัง และอาจนำมาซึ่งความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินทำให้ความมั่งคั่งลดลง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้คนรวยกลายเป็นคนล้มละลายได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
กรณีของนักมวยชื่อดัง ไมค์ ไทสัน ในสมัยที่รุ่งๆ ขึ้นชกแต่ละครั้งได้ค่าตัวไม่ต่ำกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 1,000 ล้านบาทต้นๆ) มีฐานะทางการเงินมั่นคง เคยมีทรัพย์สินเงินทองที่ได้จากการชกมวยมากมายถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 10,000 ล้านบาทต้นๆ) ทว่า จากขาดการวางแผนการเงินที่ดี หลังเลิกอาชีพจากการเป็นนักมวย ทรัพย์สินเงินทองค่อยๆ ร่อยหรอลงทุนวันและประสบกับปัญหาการเงิน และในปี 2546 ไมค์ ไทสันถูกประกาศเป็นบุคคลล้มละลาย และทุกวันนี้เขาต้องตระเวนชกมวยโชว์ทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเงินที่ได้มาจ่ายหนี้สินที่มีอยู่ล้นพ้นตัว
3. การวางแผนการเงินที่ดีช่วยให้ทุกคนรวยเท่าเทียมเสมอกัน
การวางแผนการเงินที่ดีและการมีวินัยในการปฏิบัติตามแผนการเงินดังกล่าวอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้มีฐานะการเงินดีขึ้นรวยขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรวยเท่าเทียมกันได้ทุกคน เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความมั่งคั่งพื้นฐานหรือความรวยดั้งเดิมที่มีอยู่ของแต่ละคนที่ต่างกันซึ่งเป็นฐานของการต่อยอดความรวยในอนาคต “ถ้าอย่างนั้นการวางแผนการเงินจะมีประโยชน์อะไร?” การวางแผนการเงินถึงแม้จะไม่ได้ช่วยให้รวยเท่าเทียมกันได้ แต่จะช่วยให้สามารถบรรลุถึงความพึงพอใจที่เท่าเทียมกันได้
เมื่อสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ตั้งใจและมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ถึงแม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะมีมูลค่าทางการเงินที่ต่างกันก็ตาม เช่น นาย ก. และนาย ข. มีความแตกต่างกันที่ฐานะเงินทอง โดย นาย ก. มีทรัพย์สินเงินทองในหลักร้อยล้านบาท ส่วนนาย ข. มีเพียงหลักล้านต้นๆ แต่ทั้งสองมีความตั้งใจที่เหมือนกันคือ ต้องการมีบ้านอีกหลังหนึ่งในอีกห้าปีข้างหน้า ต่างกันตรงที่บ้านที่ทั้งคู่คาดหวังในอนาคตแน่นนอนย่อมมีมูลค่าที่ต่างกัน เนื่องจากฐานะการเงินที่ต่างกัน
โดย บ้านที่นาย ก. ต้องการมีราคาหรือมูลค่าสูงกว่ามูลค่าหรือราคาของบ้านที่นาย ข. ต้องการ และเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปห้าปี การมีแผนการเงินที่ดีและการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งคัดช่วยให้ทั้งคู่สามารถมีบ้านตามที่ตั้งใจหรือตั้งเป้าหมายเอาไว้ได้ ซึ่งการบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินดังกล่าวทำให้ทั้งคู่มีความพึงพอใจและมีความภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกันถึงแม้ว่าบ้านทั้งสองหลังจะมีราคาที่ต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงฐานะทางการเงินหรือระดับความรวยที่ต่างกัน
4. การวางแผนการเงิน คือ การวางแผนการลงทุนหรือแผนการประกัน
ถ้าพิจารณาในเชิงแนวคิด (Conceptual level) ความหมายของการวางแผนการเงินครอบคลุมในสามส่วน ทั้งในส่วนของ การคุ้มครองความมั่งคั่ง (Wealth protection) เพื่อให้ทรัพย์สินที่มีอยู่เดิมไม่เสื่อมค่าหรือลดน้อยถอยลง การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth creation) เพื่อให้มีทรัพย์สินมากขึ้นกว่าที่มีอยู่เดิม และการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth distribution) เพื่อส่งต่อทรัพย์สินที่ได้สั่งสมมาต่อไปให้แก่ลูกหลานหรือทายาทรวมถึงไว้ใช้ส่วนตัวในตอนบั้นปลายภายหลังเกษียณ
จากความหมายในเชิงแนวคิดจะนำไปสู่แผนการปฏิบัติ ที่ประกอบด้วย การวางแผนการประกันภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อคุ้มครองความมั่งคั่ง การวางแผนภาษีเพื่อให้มีภาระภาษีที่ลดลงและมีรายได้สุทธิภายหลังภาษีที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการวางแผนการลงทุนที่จะช่วยให้ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่งอกเงยเพิ่มขึ้น ภายใต้กรอบแนวคิดของการสร้างความมั่งคั่ง และแผนปฏิบัติการสุดท้ายคือ การวางแผนมรดกและแผนเพื่อวัยเกษียณ ภายใต้แนวคิดของการกระจายความมั่งคั่ง
5. การวางแผนการเงินเหมือนการแช่งตัวเอง
ตามทัศนคติเดิมๆ บางคนมักคิดว่าการทำประกัน เป็นการแช่งตัวเอง บวกกับความเข้าใจที่ว่าการวางแผนการเงิน คือ การวางแผนประกัน ทำให้เกิดทัศนคติต่อการวางแผนการเงินบุคคลในแง่ลบ และละเลยไม่ให้ความสนใจการวางแผนการเงิน
ในความเป็นจริงแนวคิดของการประกันเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเฉลี่ยความสูญเสียที่ตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินที่เกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งไปในคนหมู่มากให้เข้ามาช่วยแบ่งเบา ทำให้บุคคลดังกล่าวและคนหมู่มากที่เข้ามาร่วมเฉลี่ยความสูญเสีย สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ภายใต้มาตรฐานการดำรงชีพที่ไม่แตกต่างจากเดิม
ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านหนึ่งมีบ้านอยู่ 100 ครัวเรือน และทุกปีจะเกิดอุทกภัยทำให้บ้านหลังใดหลังหนึ่งพังเสียหายต้องทำการปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินมากถึง 100,000 บาท ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านดังกล่าวจึงคิดตกลงกันว่าทุกบ้านจะออกเงินบ้านละ 1,000 บาททุกปี เก็บไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าบ้านของลูกบ้านคนใดถูกน้ำพัดพังลงไปสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปสร้างบ้านขึ้นมาใหม่
จะเห็นได้ว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อบ้านหลังที่ถูกน้ำพัดพังลงไปและบ้านหลังอื่นๆ ในหมู่บ้านดังกล่าว เนื่องมาจากแนวคิดของการประกันเป็นการเฉลี่ยความเสียหายไปให้คนหมู่มาก ทำให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข
จะเห็นได้ว่าการวางแผนการประกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงิน เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งได้ตลอดเวลา ช่วยให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ ไม่ใช่การแช่งตัวเองตามทัศนคติที่เชื่อกันมาแบบผิดๆ
6. การวางแผนภาษีกับการหนีภาษีเป็นเรื่องเดียวกัน
ข้อเท็จจริงคือทั้งสองเรื่องต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าจะให้ผลสุดท้ายที่เหมือนกันก็ตาม คือ ช่วยให้มีเงินเหลือเก็บภายหลังจากหักภาระภาษีมากขึ้น แต่มีวิธีการและให้ผลทางกฎหมายที่ต่างกัน โดย การหนีภาษีเป็นการหลีกเลี่ยงหรือมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษีหรือเสียน้อยลง เช่น การยื่นแสดงรายได้ไม่ครบถ้วนหรือต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะที่การวางแผนภาษีเป็นการอาศัยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้ที่ปฏิบัติตามสามารถลดหย่อนภาระภาษีที่ต้องเสียให้แก่รัฐลงได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำเงินที่ประหยัดจากภาระภาษีที่ลดลงไปใช้ในการออม การลงทุน และในด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตนเอง
7. การวางแผนเพื่อวัยเกษียณเป็นเรื่องอนาคต
เป็นเรื่องของคนที่เข้าใกล้วัยเกษียณเท่านั้น คนส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว และบางส่วนที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของวัยกลางคนมักจะละเลยและผลัดวันประกันพรุ่งเรื่องการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ โดยมองว่าเป็นเรื่องระยะยาว ไว้ไปเริ่มในช่วงที่ใกล้วัยเกษียณ และไปทุ่มให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น เช่น การมีของใช้ส่วนตัวที่มีราคา การมีรถยนต์ และการมีบ้าน
ทำให้เงินออมทั้งหมดที่มีถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น ทำให้ไม่มีเงินออมเหลือเพียงพอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ ผลคือ มีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณที่ยากลำบาก เป็นภาระของญาติพี่น้อง ลูกหลาน หรือเป็นภาระของสังคม
แต่ไม่ได้หมายความว่าควรที่จะละเลยเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นเพื่อเก็บออมไว้สำหรับใช้ในวัยเกษียณแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นทำให้ขาดความรื่นเริงในการดำเนินชีวิต แต่ต้องการที่จะชี้ให้เห็นว่าถ้ามีการวางแผนเพื่อวัยเกษียณแต่เนิ่นๆ เริ่มตั้งแต่วันนี้ มีการจัดสรรเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นและอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป้าหมายในวัยเกษียณ โดยนำไปออมหรือลงทุนอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้น และผลตอบแทนจากการลงทุนจะช่วยให้เงินออมเพื่อวัยเกษียณจำนวนดังกล่าวงอกเงยต่อเนื่อง
แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวช่วยให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นได้มีความสุขกับการดำเนินชีวิต และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุขตามที่ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินไม่เป็นภาระของใคร ดังนั้นสองสิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอ คือ การออมหรือการวางแผนเพื่อวัยเกษียณยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่ง และไม่ควรมองข้ามการออมถึงแม้ว่าออมน้อยแต่ถ้าออมบ่อยๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามกำลังทรัพย์ที่มากขึ้น ก็จะช่วยให้มีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข
8. แผนการเงินของใครก็เหมือนๆ กัน
ลองนึกถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เช่น เสื้อบางตัวถึงแม้ว่าจะเป็นแบบเดียวกัน สีเหมือนกันแต่ก็ยังต้องมีขนาดที่ต่างกันทั้ง ขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สำหรับแต่ละคนที่มีขนาดตัวที่ต่างกันจะเห็นได้ว่าเสื้อแบบเดียวกัน ยังต้องมีหลากหลายขนาดเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของแต่ละคนที่มีขนาดตัวที่ต่างกัน
แผนการเงินของแต่ละบุคคลก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันแต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันเนื่องจากแต่ละคน มีเงื่อนไขข้อจำกัดเฉพาะบางประการ เป้าหมายและฐานะทางการเงินที่ต่างกัน ย่อมต้องการวิธีการและแผนการเงินในรายละเอียดที่ต่างกันไป ดังนั้นแผนการเงินของใครก็ตามจะเป็นแผนเฉพาะที่ตอบสนองต่อเป้าหมายทางการเงินของบุคคลนั้นๆ ในบางครั้งอาจนำไปปรับใช้กับบุคลลอื่นที่มีคุณลักษณะเฉพาะและฐานะทางการเงินที่ใกล้เคียงกันได้ แต่จะขาดๆ เกินๆ ไม่สมบูรณ์แบบ และอาจนำมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าจะเปรียบเทียบกับขนาดของเสื้อ การทำแผนการเงินบุคคลเปรียบเสมือนเสื้อที่มีการวัดตัวตัดให้พอดีเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล ไม่ใช่เสื้อสำเร็จรูปทั่วไป
9. แผนการเงินทำครั้งเดียวก็ใช้ได้ตลอด
ในข้อที่ 8 ได้เปรียบเทียบแผนการเงินบุคคลเหมือนกับเสื้อผ้าที่มีการวัดตัวตัดให้พอดีเฉพาะของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเวลาผ่านไปสัดส่วนโครงสร้างร่างกาเปลี่ยนไปอาจจะอ้วนขึ้น ผอมลง หรือสูงขึ้น เสื้อผ้าที่เคยพอดีอาจกลายเป็นคับหรือหลวม ต้องมีการปรับแก้ไขใหม่ให้พอดี หรืออาจจะต้องมีการวัดตัวตัดใหม่ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้
แผนการเงินก็เช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาบนเงื่อนไข ข้อจำกัดหรือฐานทางการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (สมมติฐาน) และเมื่อเวลาผ่านไปเงื่อนไขหรือข้อจำกัดต่างๆ เหล่านั้นก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น มีฐานะการเงินดีขึ้น เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และการลงทุนไม่เป็นไปตามคาดการณ์ หรือสถานะทางสังคมเปลี่ยนไปแต่งงานมีครอบครัว และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น
เงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนไปทำให้ต้องมีการปรับแผนการเงินใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แผนการเงินที่ไม่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคลที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถทำให้บุคคลที่เป็นเจ้าของแผนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ต้องการได้ ทั้งนี้โดยปกติในแต่ละปีจะต้องมีการติดตามตรวจสอบและปรับแผนการเงินให้เหมาะสมกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
10. การวางแผนการเงินทำเองก็ได้ไม่ต้องพึ่งมืออาชีพ
เนื่องจากการวางแผนการเงินเป็นเรื่องใหม่ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายสามารถทำเองได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งมืออาชีพ ซึ่งในความเป็นจริงผู้มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและวางแผนการเงินโดยเปรียบเทียบจะคล้ายกับหมอที่มีหน้าที่ในการวิเคราะห์คนไข้และหาทางในการรักษาให้ถูกต้องตรงกับโรคเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วยและกลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
นักวางแผนการเงินก็เช่นกันมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ฐานะ ปัญหา และเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าแต่ละรายซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน และให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาทางการเงินที่มี รวมถึงข้อเสนอแนะ และแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินภายใต้ข้อจำกัดเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ ซึ่งการให้คำแนะนำที่ผิดพลาดหรือการจัดทำแผนทางการเงินด้วยตัวเองโดยปราศจากความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนอกจากจะทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินที่รุนแรงตามมา
ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวของลูกค้าแต่เพียงคนเดี่ยวเท่านั้นแต่ยังส่ง ผลกระทบต่อเนื่องไปถึงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส ลูกหลาน และผู้ที่อยู่ในภาระความรับผิดชอบของลูกค้าคนดังกล่าว ทำให้ประสบกับความยากลำบากทางการเงินตามไปด้วย ดังนั้น การทำแผนการเงินควรที่จะต้องอาศัยมืออาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของแผนการเงินบุคคลระดับหนึ่ง
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าแผนการเงินมีความสำคัญต่อทุกคน และควรเริ่มลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งเร็วยิ่งดี โดยอาศัยมืออาชีพที่มีความรู้เนื่องจากแผนการเงินบุคคลที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของแผนการประกัน แผนภาษี แผนการลงทุน และแผนเพื่อวัยเกษียณ แต่ละแผนมีเนื้อหารายละเอียด ความซับซ้อน และยังมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมต่อระหว่างแผนการเงินค่อนข้างมาก นอกจากนี้นักวางแผนการเงินจะต้องมีจรรยาบรรณ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพที่มากพอ
เรียบเรียบจากคอลัมน์ Capital Market Society โดย มนต์ชัย เปี่ยมพงศ์สุข และอลงกรณ์ สวัสดิภาพ นิตยสาร M&W ฉบับเดือนมกราคม 2551
วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ แล้ว ทำให้ไม่อับจนตกทุกข์ได้ยากในอนาคต แต่ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนการเงินบุคคลของคนไทย ส่วนใหญ่ยังมีเพียงหยิบมือเดียว แถมความเข้าใจในหลายๆ เรื่อง ยังเป็นความเข้าใจที่ผิดๆ อาชีพนักวางแผนการเงิน หรือ Financial Planner เป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องฝ่าด่านความเข้าใจที่ผิดจำนวนไม่น้อย กว่าที่จะเข้าถึงหัวใจของผู้ที่เห็นความสำคัญในเรื่องการวางแผนการเงินได้
1. การวางแผนการเงินบุคคลเป็นเรื่องของคนรวยไม่ใช่เรื่องของคนจนและคนเกือบจน (ฐานะปานกลาง)
นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยที่จะวางแผนการเงินของตนเอง ความจริงแล้วการวางแผนการเงินเกี่ยวข้องโดยตรงกับคนทุกระดับฐานะการเงินไม่ว่าจะมีหรือจน
จริง ๆ แล้วคนฐานะปานกลางลงมามีความจำเป็นที่ต้องการแผนการเงินที่มากกว่ากลุ่มคนรวยเสียอีกเพื่อให้หลุดพ้นจากความจนหรือปัญหาภาระหนี้สิน เพียงแต่ระดับความลึกหรือความซับซ้อนของแผนอาจจะไม่มากเท่ากรณีของกลุ่มคนรวยที่มีทางเลือกในการวางแผนและความซับซ้อนที่มากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีปัญหาการเงินที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถ้ามีการวางแผนการเงินที่ดี ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รู้ที่มาที่ไปของเงิน ลดหรือตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้มีรายรับสุทธิภายหลังหักค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น นำไปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ และมีวินัยที่จะทำอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้ฐานะการเงินดีขึ้นได้
2. รวยแล้วไม่จำเป็นต้องวางแผนการเงินก็ได้
คนส่วนใหญ่มักจะชะล่าใจและมั่นใจมากเกินไปในฐานะและความมั่งคั่งที่ตนเองมีอยู่ทำให้ไม่สนใจที่จะวางแผนการเงิน โดยคิดว่าการวางแผนการเงินจะช่วยให้รวยขึ้น ดังนั้นถ้าตนเองรวยอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวางแผนการเงินก็ได้ ทำให้เกิดความประมาทไม่ระมัดระรัง และอาจนำมาซึ่งความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินทำให้ความมั่งคั่งลดลง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้คนรวยกลายเป็นคนล้มละลายได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี
กรณีของนักมวยชื่อดัง ไมค์ ไทสัน ในสมัยที่รุ่งๆ ขึ้นชกแต่ละครั้งได้ค่าตัวไม่ต่ำกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 1,000 ล้านบาทต้นๆ) มีฐานะทางการเงินมั่นคง เคยมีทรัพย์สินเงินทองที่ได้จากการชกมวยมากมายถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 10,000 ล้านบาทต้นๆ) ทว่า จากขาดการวางแผนการเงินที่ดี หลังเลิกอาชีพจากการเป็นนักมวย ทรัพย์สินเงินทองค่อยๆ ร่อยหรอลงทุนวันและประสบกับปัญหาการเงิน และในปี 2546 ไมค์ ไทสันถูกประกาศเป็นบุคคลล้มละลาย และทุกวันนี้เขาต้องตระเวนชกมวยโชว์ทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเงินที่ได้มาจ่ายหนี้สินที่มีอยู่ล้นพ้นตัว
3. การวางแผนการเงินที่ดีช่วยให้ทุกคนรวยเท่าเทียมเสมอกัน
การวางแผนการเงินที่ดีและการมีวินัยในการปฏิบัติตามแผนการเงินดังกล่าวอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้มีฐานะการเงินดีขึ้นรวยขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรวยเท่าเทียมกันได้ทุกคน เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความมั่งคั่งพื้นฐานหรือความรวยดั้งเดิมที่มีอยู่ของแต่ละคนที่ต่างกันซึ่งเป็นฐานของการต่อยอดความรวยในอนาคต “ถ้าอย่างนั้นการวางแผนการเงินจะมีประโยชน์อะไร?” การวางแผนการเงินถึงแม้จะไม่ได้ช่วยให้รวยเท่าเทียมกันได้ แต่จะช่วยให้สามารถบรรลุถึงความพึงพอใจที่เท่าเทียมกันได้
เมื่อสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ตั้งใจและมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ถึงแม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะมีมูลค่าทางการเงินที่ต่างกันก็ตาม เช่น นาย ก. และนาย ข. มีความแตกต่างกันที่ฐานะเงินทอง โดย นาย ก. มีทรัพย์สินเงินทองในหลักร้อยล้านบาท ส่วนนาย ข. มีเพียงหลักล้านต้นๆ แต่ทั้งสองมีความตั้งใจที่เหมือนกันคือ ต้องการมีบ้านอีกหลังหนึ่งในอีกห้าปีข้างหน้า ต่างกันตรงที่บ้านที่ทั้งคู่คาดหวังในอนาคตแน่นนอนย่อมมีมูลค่าที่ต่างกัน เนื่องจากฐานะการเงินที่ต่างกัน
โดย บ้านที่นาย ก. ต้องการมีราคาหรือมูลค่าสูงกว่ามูลค่าหรือราคาของบ้านที่นาย ข. ต้องการ และเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปห้าปี การมีแผนการเงินที่ดีและการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งคัดช่วยให้ทั้งคู่สามารถมีบ้านตามที่ตั้งใจหรือตั้งเป้าหมายเอาไว้ได้ ซึ่งการบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินดังกล่าวทำให้ทั้งคู่มีความพึงพอใจและมีความภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกันถึงแม้ว่าบ้านทั้งสองหลังจะมีราคาที่ต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงฐานะทางการเงินหรือระดับความรวยที่ต่างกัน
4. การวางแผนการเงิน คือ การวางแผนการลงทุนหรือแผนการประกัน
ถ้าพิจารณาในเชิงแนวคิด (Conceptual level) ความหมายของการวางแผนการเงินครอบคลุมในสามส่วน ทั้งในส่วนของ การคุ้มครองความมั่งคั่ง (Wealth protection) เพื่อให้ทรัพย์สินที่มีอยู่เดิมไม่เสื่อมค่าหรือลดน้อยถอยลง การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth creation) เพื่อให้มีทรัพย์สินมากขึ้นกว่าที่มีอยู่เดิม และการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth distribution) เพื่อส่งต่อทรัพย์สินที่ได้สั่งสมมาต่อไปให้แก่ลูกหลานหรือทายาทรวมถึงไว้ใช้ส่วนตัวในตอนบั้นปลายภายหลังเกษียณ
จากความหมายในเชิงแนวคิดจะนำไปสู่แผนการปฏิบัติ ที่ประกอบด้วย การวางแผนการประกันภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อคุ้มครองความมั่งคั่ง การวางแผนภาษีเพื่อให้มีภาระภาษีที่ลดลงและมีรายได้สุทธิภายหลังภาษีที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการวางแผนการลงทุนที่จะช่วยให้ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่งอกเงยเพิ่มขึ้น ภายใต้กรอบแนวคิดของการสร้างความมั่งคั่ง และแผนปฏิบัติการสุดท้ายคือ การวางแผนมรดกและแผนเพื่อวัยเกษียณ ภายใต้แนวคิดของการกระจายความมั่งคั่ง
5. การวางแผนการเงินเหมือนการแช่งตัวเอง
ตามทัศนคติเดิมๆ บางคนมักคิดว่าการทำประกัน เป็นการแช่งตัวเอง บวกกับความเข้าใจที่ว่าการวางแผนการเงิน คือ การวางแผนประกัน ทำให้เกิดทัศนคติต่อการวางแผนการเงินบุคคลในแง่ลบ และละเลยไม่ให้ความสนใจการวางแผนการเงิน
ในความเป็นจริงแนวคิดของการประกันเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเฉลี่ยความสูญเสียที่ตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินที่เกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งไปในคนหมู่มากให้เข้ามาช่วยแบ่งเบา ทำให้บุคคลดังกล่าวและคนหมู่มากที่เข้ามาร่วมเฉลี่ยความสูญเสีย สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ภายใต้มาตรฐานการดำรงชีพที่ไม่แตกต่างจากเดิม
ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านหนึ่งมีบ้านอยู่ 100 ครัวเรือน และทุกปีจะเกิดอุทกภัยทำให้บ้านหลังใดหลังหนึ่งพังเสียหายต้องทำการปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินมากถึง 100,000 บาท ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านดังกล่าวจึงคิดตกลงกันว่าทุกบ้านจะออกเงินบ้านละ 1,000 บาททุกปี เก็บไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าบ้านของลูกบ้านคนใดถูกน้ำพัดพังลงไปสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปสร้างบ้านขึ้นมาใหม่
จะเห็นได้ว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อบ้านหลังที่ถูกน้ำพัดพังลงไปและบ้านหลังอื่นๆ ในหมู่บ้านดังกล่าว เนื่องมาจากแนวคิดของการประกันเป็นการเฉลี่ยความเสียหายไปให้คนหมู่มาก ทำให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข
จะเห็นได้ว่าการวางแผนการประกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงิน เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งได้ตลอดเวลา ช่วยให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ ไม่ใช่การแช่งตัวเองตามทัศนคติที่เชื่อกันมาแบบผิดๆ
6. การวางแผนภาษีกับการหนีภาษีเป็นเรื่องเดียวกัน
ข้อเท็จจริงคือทั้งสองเรื่องต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าจะให้ผลสุดท้ายที่เหมือนกันก็ตาม คือ ช่วยให้มีเงินเหลือเก็บภายหลังจากหักภาระภาษีมากขึ้น แต่มีวิธีการและให้ผลทางกฎหมายที่ต่างกัน โดย การหนีภาษีเป็นการหลีกเลี่ยงหรือมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษีหรือเสียน้อยลง เช่น การยื่นแสดงรายได้ไม่ครบถ้วนหรือต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะที่การวางแผนภาษีเป็นการอาศัยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้ที่ปฏิบัติตามสามารถลดหย่อนภาระภาษีที่ต้องเสียให้แก่รัฐลงได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำเงินที่ประหยัดจากภาระภาษีที่ลดลงไปใช้ในการออม การลงทุน และในด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตนเอง
7. การวางแผนเพื่อวัยเกษียณเป็นเรื่องอนาคต
เป็นเรื่องของคนที่เข้าใกล้วัยเกษียณเท่านั้น คนส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว และบางส่วนที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของวัยกลางคนมักจะละเลยและผลัดวันประกันพรุ่งเรื่องการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ โดยมองว่าเป็นเรื่องระยะยาว ไว้ไปเริ่มในช่วงที่ใกล้วัยเกษียณ และไปทุ่มให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น เช่น การมีของใช้ส่วนตัวที่มีราคา การมีรถยนต์ และการมีบ้าน
ทำให้เงินออมทั้งหมดที่มีถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น ทำให้ไม่มีเงินออมเหลือเพียงพอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ ผลคือ มีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณที่ยากลำบาก เป็นภาระของญาติพี่น้อง ลูกหลาน หรือเป็นภาระของสังคม
แต่ไม่ได้หมายความว่าควรที่จะละเลยเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นเพื่อเก็บออมไว้สำหรับใช้ในวัยเกษียณแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นทำให้ขาดความรื่นเริงในการดำเนินชีวิต แต่ต้องการที่จะชี้ให้เห็นว่าถ้ามีการวางแผนเพื่อวัยเกษียณแต่เนิ่นๆ เริ่มตั้งแต่วันนี้ มีการจัดสรรเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นและอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป้าหมายในวัยเกษียณ โดยนำไปออมหรือลงทุนอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้น และผลตอบแทนจากการลงทุนจะช่วยให้เงินออมเพื่อวัยเกษียณจำนวนดังกล่าวงอกเงยต่อเนื่อง
แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวช่วยให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นได้มีความสุขกับการดำเนินชีวิต และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุขตามที่ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินไม่เป็นภาระของใคร ดังนั้นสองสิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอ คือ การออมหรือการวางแผนเพื่อวัยเกษียณยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่ง และไม่ควรมองข้ามการออมถึงแม้ว่าออมน้อยแต่ถ้าออมบ่อยๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามกำลังทรัพย์ที่มากขึ้น ก็จะช่วยให้มีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข
8. แผนการเงินของใครก็เหมือนๆ กัน
ลองนึกถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เช่น เสื้อบางตัวถึงแม้ว่าจะเป็นแบบเดียวกัน สีเหมือนกันแต่ก็ยังต้องมีขนาดที่ต่างกันทั้ง ขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สำหรับแต่ละคนที่มีขนาดตัวที่ต่างกันจะเห็นได้ว่าเสื้อแบบเดียวกัน ยังต้องมีหลากหลายขนาดเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของแต่ละคนที่มีขนาดตัวที่ต่างกัน
แผนการเงินของแต่ละบุคคลก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันแต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันเนื่องจากแต่ละคน มีเงื่อนไขข้อจำกัดเฉพาะบางประการ เป้าหมายและฐานะทางการเงินที่ต่างกัน ย่อมต้องการวิธีการและแผนการเงินในรายละเอียดที่ต่างกันไป ดังนั้นแผนการเงินของใครก็ตามจะเป็นแผนเฉพาะที่ตอบสนองต่อเป้าหมายทางการเงินของบุคคลนั้นๆ ในบางครั้งอาจนำไปปรับใช้กับบุคลลอื่นที่มีคุณลักษณะเฉพาะและฐานะทางการเงินที่ใกล้เคียงกันได้ แต่จะขาดๆ เกินๆ ไม่สมบูรณ์แบบ และอาจนำมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าจะเปรียบเทียบกับขนาดของเสื้อ การทำแผนการเงินบุคคลเปรียบเสมือนเสื้อที่มีการวัดตัวตัดให้พอดีเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล ไม่ใช่เสื้อสำเร็จรูปทั่วไป
9. แผนการเงินทำครั้งเดียวก็ใช้ได้ตลอด
ในข้อที่ 8 ได้เปรียบเทียบแผนการเงินบุคคลเหมือนกับเสื้อผ้าที่มีการวัดตัวตัดให้พอดีเฉพาะของแต่ละบุคคล แต่เมื่อเวลาผ่านไปสัดส่วนโครงสร้างร่างกาเปลี่ยนไปอาจจะอ้วนขึ้น ผอมลง หรือสูงขึ้น เสื้อผ้าที่เคยพอดีอาจกลายเป็นคับหรือหลวม ต้องมีการปรับแก้ไขใหม่ให้พอดี หรืออาจจะต้องมีการวัดตัวตัดใหม่ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้
แผนการเงินก็เช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาบนเงื่อนไข ข้อจำกัดหรือฐานทางการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (สมมติฐาน) และเมื่อเวลาผ่านไปเงื่อนไขหรือข้อจำกัดต่างๆ เหล่านั้นก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น มีฐานะการเงินดีขึ้น เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และการลงทุนไม่เป็นไปตามคาดการณ์ หรือสถานะทางสังคมเปลี่ยนไปแต่งงานมีครอบครัว และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น
เงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนไปทำให้ต้องมีการปรับแผนการเงินใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แผนการเงินที่ไม่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคลที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถทำให้บุคคลที่เป็นเจ้าของแผนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ต้องการได้ ทั้งนี้โดยปกติในแต่ละปีจะต้องมีการติดตามตรวจสอบและปรับแผนการเงินให้เหมาะสมกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
10. การวางแผนการเงินทำเองก็ได้ไม่ต้องพึ่งมืออาชีพ
เนื่องจากการวางแผนการเงินเป็นเรื่องใหม่ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายสามารถทำเองได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งมืออาชีพ ซึ่งในความเป็นจริงผู้มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและวางแผนการเงินโดยเปรียบเทียบจะคล้ายกับหมอที่มีหน้าที่ในการวิเคราะห์คนไข้และหาทางในการรักษาให้ถูกต้องตรงกับโรคเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วยและกลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
นักวางแผนการเงินก็เช่นกันมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ฐานะ ปัญหา และเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าแต่ละรายซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน และให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาทางการเงินที่มี รวมถึงข้อเสนอแนะ และแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินภายใต้ข้อจำกัดเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ ซึ่งการให้คำแนะนำที่ผิดพลาดหรือการจัดทำแผนทางการเงินด้วยตัวเองโดยปราศจากความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนอกจากจะทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินที่รุนแรงตามมา
ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวของลูกค้าแต่เพียงคนเดี่ยวเท่านั้นแต่ยังส่ง ผลกระทบต่อเนื่องไปถึงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส ลูกหลาน และผู้ที่อยู่ในภาระความรับผิดชอบของลูกค้าคนดังกล่าว ทำให้ประสบกับความยากลำบากทางการเงินตามไปด้วย ดังนั้น การทำแผนการเงินควรที่จะต้องอาศัยมืออาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของแผนการเงินบุคคลระดับหนึ่ง
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าแผนการเงินมีความสำคัญต่อทุกคน และควรเริ่มลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งเร็วยิ่งดี โดยอาศัยมืออาชีพที่มีความรู้เนื่องจากแผนการเงินบุคคลที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของแผนการประกัน แผนภาษี แผนการลงทุน และแผนเพื่อวัยเกษียณ แต่ละแผนมีเนื้อหารายละเอียด ความซับซ้อน และยังมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมต่อระหว่างแผนการเงินค่อนข้างมาก นอกจากนี้นักวางแผนการเงินจะต้องมีจรรยาบรรณ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพที่มากพอ
เรียบเรียบจากคอลัมน์ Capital Market Society โดย มนต์ชัย เปี่ยมพงศ์สุข และอลงกรณ์ สวัสดิภาพ นิตยสาร M&W ฉบับเดือนมกราคม 2551
เมื่อผมตกงาน..
เมื่อผมตกงาน..
คงไม่มีใครอยากตกงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องของอนาคตเราก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
เพราะฉะนั้นทุกคนจึงไม่ควรประมาทเมื่อมีงานทำมีรายได้ก็ควรจะต้องรู้จักรักษางานหรืออาชีพที่มีอยู่นั้นให้ดีที่สุด รู้จักการเก็บออมสำหรับใช้จ่ายในอนาคต หรือในยามที่ไม่มีรายได้
“เมื่อผมตกงาน ผมรู้ซึ้งถึงคุณค่าของเงินออมอย่างมาก” เป็นคำพูดของสามีแฟนคอลัมน์ท่านหนึ่ง ที่เธอเฝ้าพยายามแนะนำสามีของเธอให้แบ่งเงินเดือนบางส่วนมาออมบ้าง เธอพยายามพูดอยู่เกือบปี จึงสำเร็จ สามีของเธอทำงานกับบริษัทต่างชาติเงินเดือนประมาณ 70,000 บาท อันดับแรกเธอแนะนำสามีของเธอให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ฝากเท่าๆ กันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 2 ปี ไม่ต้องเสียภาษี
โดยแนะนำให้ฝากเดือนละ 20,000 บาท แต่สามีเธอไม่สนใจเพราะเป็นคนไม่ค่อยมีวินัยในการออมเท่าไรไม่แน่ใจจะฝากได้ทุกเดือนหรือไม่ แต่สามีคิดว่าจะเก็บในบัญชีออมทรัพย์ที่เป็นบัญชีเงินเดือน ซึ่งแน่นอนไม่น่าจะเก็บได้ตามที่ตั้งใจเพราะบัญชีนั้นมีบัตร ATM ถอนได้ง่ายดายมากประกอบกับสามีของเธอเป็นคนใจโตเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งไปกันใหญ่
เธอจึงปรึกษาว่าน่าจะใช้เครื่องมือใดในการออม ได้แนะนำให้เปิดบัญชีกองทุนรวมที่สามารถซื้อ-ขายได้ทุกวัน ลงทุนในตราสารหนี้ ความเสี่ยงต่ำ ไม่เสียภาษี สามีตกลงเปิดบัญชีกองทุนรวม จำนวนเงิน 50,000 บาทในครั้งแรก โดยเธอเป็นผู้ดูแลบัญชีติดตามให้ฝากทุกเดือนพร้อมรายงานยอดเงินในบัญชี เพื่อให้เกิดกำลังใจกับผู้ออม โดยทุกเดือนสามีจะนำเงินมาให้เธอซื้อกองทุนให้ทุกเดือนประมาณ 20,000-50,000 บาท
จนในที่สุดสามีของเธอสามารถเก็บเงินได้ร่วมล้านบาทภายในระยะเวลาปีครึ่ง และรู้สึกสนุกกับการออมมากๆ ซึ่งระหว่างเส้นทางของการออมก็จะนำเงินบางส่วนไปซื้อกองทุนรวมที่ผลตอบแทนดีๆ บ้าง หรือ นำไปฝากประจำระยะสั้นๆ บ้าง แหละแล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อสามีของเธอซึ่งมีผลงานดี เป็นกำลังของบริษัทถูกเลิกจ้างอย่างไร้สาเหตุ แต่เท่าที่ฟังดูน่าจะเกิดจากการขัดแย้งกับหัวหน้างานชาวต่างชาติมากกว่า ถึงวันนี้เขาตกงานมาเป็นระยะเวลาร่วมปีแล้ว การหางานใหม่ไม่ง่ายนักด้วยเงินเดือนที่สูงพอสมควรบวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนต่างๆ ทำให้หลายๆ งานที่น่าจะได้กลับเงียบหายไป
ตลอดระยะเวลาร่วมปีที่ตกงานเขาใช้เงินอย่างประหยัดและรู้ถึงคุณค่าของเงินออมก้อนนี้อย่างมากที่ช่วยให้เขามีกินมีใช้ ไม่รู้สึกเครียดจนเกินไปและไม่ต้องเป็นภาระของภรรยา เขาบอกว่าไม่รู้จะขอบคุณภรรยาอย่างไรที่แนะนำเขาให้ออมในวันนั้น วันนี้ถึงแม้ตกงานแต่ก็ยังสามารถเลี้ยงตัวเองอยู่ได้ หากรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด
“ผมอยากจะบอกผู้อ่านทุกท่านว่า เพราะเงินออมก้อนนี้แท้ๆ ที่ช่วยชีวิตผมยามที่ผมตกงาน จนถึงทุกวันนี้ผมก็ยังไม่มีงานทำ แต่ผมไม่เคยท้อที่จะหางานต่อไป ออมเถอะครับยามที่ทุกท่านยังมีรายได้ วันหนึ่งข้างหน้าเงินออมก้อนนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่านมากๆ ในวันที่ท่านไม่มีรายได้ (ตกงาน เกษียณ ฯลฯ) ในวันที่ท่านเดือดร้อนจำเป็นต้องใช้เงิน เงินออมช่วยท่านได้ ช่วยกันเก็บเงินเถอะครับ มีแต่ได้กับได้”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
คงไม่มีใครอยากตกงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องของอนาคตเราก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
เพราะฉะนั้นทุกคนจึงไม่ควรประมาทเมื่อมีงานทำมีรายได้ก็ควรจะต้องรู้จักรักษางานหรืออาชีพที่มีอยู่นั้นให้ดีที่สุด รู้จักการเก็บออมสำหรับใช้จ่ายในอนาคต หรือในยามที่ไม่มีรายได้
“เมื่อผมตกงาน ผมรู้ซึ้งถึงคุณค่าของเงินออมอย่างมาก” เป็นคำพูดของสามีแฟนคอลัมน์ท่านหนึ่ง ที่เธอเฝ้าพยายามแนะนำสามีของเธอให้แบ่งเงินเดือนบางส่วนมาออมบ้าง เธอพยายามพูดอยู่เกือบปี จึงสำเร็จ สามีของเธอทำงานกับบริษัทต่างชาติเงินเดือนประมาณ 70,000 บาท อันดับแรกเธอแนะนำสามีของเธอให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ฝากเท่าๆ กันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 2 ปี ไม่ต้องเสียภาษี
โดยแนะนำให้ฝากเดือนละ 20,000 บาท แต่สามีเธอไม่สนใจเพราะเป็นคนไม่ค่อยมีวินัยในการออมเท่าไรไม่แน่ใจจะฝากได้ทุกเดือนหรือไม่ แต่สามีคิดว่าจะเก็บในบัญชีออมทรัพย์ที่เป็นบัญชีเงินเดือน ซึ่งแน่นอนไม่น่าจะเก็บได้ตามที่ตั้งใจเพราะบัญชีนั้นมีบัตร ATM ถอนได้ง่ายดายมากประกอบกับสามีของเธอเป็นคนใจโตเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งไปกันใหญ่
เธอจึงปรึกษาว่าน่าจะใช้เครื่องมือใดในการออม ได้แนะนำให้เปิดบัญชีกองทุนรวมที่สามารถซื้อ-ขายได้ทุกวัน ลงทุนในตราสารหนี้ ความเสี่ยงต่ำ ไม่เสียภาษี สามีตกลงเปิดบัญชีกองทุนรวม จำนวนเงิน 50,000 บาทในครั้งแรก โดยเธอเป็นผู้ดูแลบัญชีติดตามให้ฝากทุกเดือนพร้อมรายงานยอดเงินในบัญชี เพื่อให้เกิดกำลังใจกับผู้ออม โดยทุกเดือนสามีจะนำเงินมาให้เธอซื้อกองทุนให้ทุกเดือนประมาณ 20,000-50,000 บาท
จนในที่สุดสามีของเธอสามารถเก็บเงินได้ร่วมล้านบาทภายในระยะเวลาปีครึ่ง และรู้สึกสนุกกับการออมมากๆ ซึ่งระหว่างเส้นทางของการออมก็จะนำเงินบางส่วนไปซื้อกองทุนรวมที่ผลตอบแทนดีๆ บ้าง หรือ นำไปฝากประจำระยะสั้นๆ บ้าง แหละแล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อสามีของเธอซึ่งมีผลงานดี เป็นกำลังของบริษัทถูกเลิกจ้างอย่างไร้สาเหตุ แต่เท่าที่ฟังดูน่าจะเกิดจากการขัดแย้งกับหัวหน้างานชาวต่างชาติมากกว่า ถึงวันนี้เขาตกงานมาเป็นระยะเวลาร่วมปีแล้ว การหางานใหม่ไม่ง่ายนักด้วยเงินเดือนที่สูงพอสมควรบวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนต่างๆ ทำให้หลายๆ งานที่น่าจะได้กลับเงียบหายไป
ตลอดระยะเวลาร่วมปีที่ตกงานเขาใช้เงินอย่างประหยัดและรู้ถึงคุณค่าของเงินออมก้อนนี้อย่างมากที่ช่วยให้เขามีกินมีใช้ ไม่รู้สึกเครียดจนเกินไปและไม่ต้องเป็นภาระของภรรยา เขาบอกว่าไม่รู้จะขอบคุณภรรยาอย่างไรที่แนะนำเขาให้ออมในวันนั้น วันนี้ถึงแม้ตกงานแต่ก็ยังสามารถเลี้ยงตัวเองอยู่ได้ หากรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด
“ผมอยากจะบอกผู้อ่านทุกท่านว่า เพราะเงินออมก้อนนี้แท้ๆ ที่ช่วยชีวิตผมยามที่ผมตกงาน จนถึงทุกวันนี้ผมก็ยังไม่มีงานทำ แต่ผมไม่เคยท้อที่จะหางานต่อไป ออมเถอะครับยามที่ทุกท่านยังมีรายได้ วันหนึ่งข้างหน้าเงินออมก้อนนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่านมากๆ ในวันที่ท่านไม่มีรายได้ (ตกงาน เกษียณ ฯลฯ) ในวันที่ท่านเดือดร้อนจำเป็นต้องใช้เงิน เงินออมช่วยท่านได้ ช่วยกันเก็บเงินเถอะครับ มีแต่ได้กับได้”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
เงินๆทองๆ-5 ขั้นตอนวางแผนการเงินแบบง่ายๆ
เงินๆทองๆ-5 ขั้นตอนวางแผนการเงินแบบง่ายๆ
คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าการวางแผนล่วงหน้าให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและได้ทำอะไรๆ
อย่างที่อยากทำ เช่น ถ้าเราไม่วางแผนก่อนออกจากบ้านในแต่ละวัน เราอาจจะไม่ได้ใช้เวลาที่มีให้คุ้มค่าเพราะไปเสียเวลารถติดอยู่บนถนน หรืออาจจะไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นครบได้ทุกสิ่ง เป็นต้น
เรื่องการเงินก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่ได้โชคดีเกิดมาบนกองเงินกองทองที่สามารถใช้เงินมากเท่าที่เราอยากจะใช้ การวางแผนการเงินก็ย่อยเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะช่วยให้เราทราบถึงรายรับ-รายจ่าย รวมไปถึงจำนวนเงินที่ให้เราได้มีใช้ในแต่ละวัน แต่ละเหตุผล และสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่หลายๆ คนพอพูดถึงการวางแผนการเงินอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องตัวเลขที่ยาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) รู้จักสุขภาพทางการเงินของตนเอง เหมือนตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ที่จะทำให้รู้สภาพร่างกายและสิ่งที่ควรระวัง การตรวจสอบว่าปัจจุบันเรามีทรัพย์สินสุทธิอยู่เท่าไร (ทรัพย์สินหักออกด้วยหนี้สิน - ทั้งนี้ ทรัพย์สินรวมทั้งเงินสด และอื่นๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ทองคำ ฯลฯ ในมูลค่าเงินสด) รวมไปถึงทราบถึงรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนโดยการทำบัญชีรับ-จ่าย
2) ตั้งเป้าหมายทางการเงิน ที่ควรแบ่งเป็นระยะสั้น กลาง และยาว เช่น ระยะสั้นหมายถึงในแต่ละเดือนมีรายการอะไรที่จำเป็นต้องใช้บ้าง ระยะกลางอาจหมายถึงการผ่อนรถยนต์หรือเก็บเงินศึกษาต่อ ระยะยาวหมายถึงการผ่อนบ้าน หรือการออมเงินเพื่อใช้ยามเกษียณ
3) เปรียบเทียบสุขภาพทางการเงินกับเป้าหมาย ว่าทำได้จริงและสมเหตุสมผลหรือไม่ ประเด็นคือ คนเรามักจะรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้เนื่องจากตั้งเป้าหมายทางการเงินไม่เหมาะสมกับทรัพย์สินสุทธิและระดับรายรับ-รายจ่ายของตน หากจำเป็นควรปรับเป้าหมายทางการเงินให้เหมาะสม หรืออาจหาแนวทางในการเพิ่มรายรับ/ลดรายจ่ายด้วยวิธีอื่นๆ
4) วางแผนการออมเพื่อให้มีเงินตามเป้าหมาย หลักการสำคัญคือ “ออมก่อนใช้” ที่จำเป็นต้องหักเงินมาออมก่อนที่จะนำเงินไปใช้หรือไปชำระหนี้ การออมอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะปริมาณน้อย ก็ยังเป็นการสร้างวินัยให้ตนเอง และสามารถทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้
5) ลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่วางไว้ พร้อมทบทวนแผนเป็นระยะและปรับเป้าหมายหากจำเป็น การวางแผนทางการเงินควรยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสุขภาพทางการเงินหรือเป้าหมายทางการเงินของเรา ที่อาจเปลี่ยนไปได้ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา
เงินๆทองๆ-5 ขั้นตอนวางแผนการเงินแบบง่ายๆ
คงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าการวางแผนล่วงหน้าให้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและได้ทำอะไรๆ
อย่างที่อยากทำ เช่น ถ้าเราไม่วางแผนก่อนออกจากบ้านในแต่ละวัน เราอาจจะไม่ได้ใช้เวลาที่มีให้คุ้มค่าเพราะไปเสียเวลารถติดอยู่บนถนน หรืออาจจะไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นครบได้ทุกสิ่ง เป็นต้น
เรื่องการเงินก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่ได้โชคดีเกิดมาบนกองเงินกองทองที่สามารถใช้เงินมากเท่าที่เราอยากจะใช้ การวางแผนการเงินก็ย่อยเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะช่วยให้เราทราบถึงรายรับ-รายจ่าย รวมไปถึงจำนวนเงินที่ให้เราได้มีใช้ในแต่ละวัน แต่ละเหตุผล และสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่หลายๆ คนพอพูดถึงการวางแผนการเงินอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องตัวเลขที่ยาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) รู้จักสุขภาพทางการเงินของตนเอง เหมือนตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ที่จะทำให้รู้สภาพร่างกายและสิ่งที่ควรระวัง การตรวจสอบว่าปัจจุบันเรามีทรัพย์สินสุทธิอยู่เท่าไร (ทรัพย์สินหักออกด้วยหนี้สิน - ทั้งนี้ ทรัพย์สินรวมทั้งเงินสด และอื่นๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ทองคำ ฯลฯ ในมูลค่าเงินสด) รวมไปถึงทราบถึงรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนโดยการทำบัญชีรับ-จ่าย
2) ตั้งเป้าหมายทางการเงิน ที่ควรแบ่งเป็นระยะสั้น กลาง และยาว เช่น ระยะสั้นหมายถึงในแต่ละเดือนมีรายการอะไรที่จำเป็นต้องใช้บ้าง ระยะกลางอาจหมายถึงการผ่อนรถยนต์หรือเก็บเงินศึกษาต่อ ระยะยาวหมายถึงการผ่อนบ้าน หรือการออมเงินเพื่อใช้ยามเกษียณ
3) เปรียบเทียบสุขภาพทางการเงินกับเป้าหมาย ว่าทำได้จริงและสมเหตุสมผลหรือไม่ ประเด็นคือ คนเรามักจะรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้เนื่องจากตั้งเป้าหมายทางการเงินไม่เหมาะสมกับทรัพย์สินสุทธิและระดับรายรับ-รายจ่ายของตน หากจำเป็นควรปรับเป้าหมายทางการเงินให้เหมาะสม หรืออาจหาแนวทางในการเพิ่มรายรับ/ลดรายจ่ายด้วยวิธีอื่นๆ
4) วางแผนการออมเพื่อให้มีเงินตามเป้าหมาย หลักการสำคัญคือ “ออมก่อนใช้” ที่จำเป็นต้องหักเงินมาออมก่อนที่จะนำเงินไปใช้หรือไปชำระหนี้ การออมอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะปริมาณน้อย ก็ยังเป็นการสร้างวินัยให้ตนเอง และสามารถทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้
5) ลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่วางไว้ พร้อมทบทวนแผนเป็นระยะและปรับเป้าหมายหากจำเป็น การวางแผนทางการเงินควรยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสุขภาพทางการเงินหรือเป้าหมายทางการเงินของเรา ที่อาจเปลี่ยนไปได้ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา
เงินๆทองๆ-5 ขั้นตอนวางแผนการเงินแบบง่ายๆ
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่1
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่1
ในโลกสมัยใหม่ที่เราอยู่อาศัยกันทุกวันนี้ ล้วนเต็ม ไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ข้อมูลทางการเงิน ตัวเลข ตาราง ต่างๆ นานา ที่เมื่อก่อน มีไว้ให้ผู้จัดการกองทุนใช้วิเคราะห์เท่านั้น แต่ทว่าเดี๋ยวนี้นักลงทุนก็สามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมได้ โดยคลิกคำสั่งซื้อหรือขายบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โลกยุคข่าวสารสมัยใหม่นี้ได้ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่โลกแห่งการลงทุนอย่างแท้จริง
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนจำนวนมากจากทั่วทุกสารทิศถูกโยน เข้าใส่นักลงทุน ไม่ว่าพวกเขาจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม การวิเคราะห์เชิง ปริมาณอย่างละเอียดซับซ้อน ราคาหุ้นที่กำลังเกิดการซื้อขายจริง หรือข้อมูลประเภทเดียวกันนี้อีกเป็นจำนวนมากมีให้นักลงทุนบอกรับเป็นสมาชิก แต่ข้อมูลมากมายมหาศาลนี้ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าลงทุนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนอัตราสูงๆ กลับคืนมา โลก ของการลงทุนในทุกวันนี้จริงๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าที่มันเคยเป็น คือมันเป็นอย่างไรมันก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น แต่เราต่างหากที่อาจจะเป็นคนทำให้กระบวนการลงทุนยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าเดิม ถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรดี?
ผมมีวิธีอย่างง่ายๆ ในการเลือกซื้อกองทุนรวมมานำเสนอใน M&Wฉบับนี้ แต่ก่อนอื่นผมอยากจะบอกว่ามันมีสิ่งที่ตรงข้ามกันอยู่เสมอในโลก ยุคใหม่นี้ กล่าวคือยิ่งภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวเรามีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เท่าใด เราอาจจะต้องยิ่งแสวงหาวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายมากที่สุด เพื่อให้ บรรลุจุดมุ่งหมายของเรา
ข้อมูลและคำแนะนำที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ ผมเอามาจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ Association of Investment Management Companies (AIMC) โดยมีบริษัทจัดการที่เป็นสมาชิกเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขต่างๆ ที่ปรากฏ ทางเลือกสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมที่มีอยู่ใน ตอนนี้ก็มีแตกต่างหลากหลายอย่างมาก ผมขอเสนอแนวทางหรือวิธีการ อย่างง่ายๆ 12 ข้อสำหรับแผนการลงทุนทางด้านกองทุนรวมของท่านผู้อ่านครับ
1. ท่านต้องรู้ด้วยตัวเองว่ากองทุนประเภทไหนที่เหมาะกับตัวท่าน (Types of Funds)
หากหยิบหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันมาเปิดดูรายชื่อกองทุนรวม ท่านจะเห็นชื่อ และประเภทกองทุนมากมายลายตาไปหมด ชื่อเหล่านี้มักจะเป็นคำที่กว้างๆ เพราะตอนนี้มีการจัดตั้งกองทุนอยู่ทั้งหมดราว 500 กอง แบ่งออกเป็น 12ประเภท อย่างที่บอกแหละครับว่าชื่อกองทุนไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมาก นอกจาก ไอเดียกว้างๆ ว่าเป็นกองทุนอะไรเท่านั้น ลองดูตัวอย่างประเภทกองทุนรวม ที่มีอยู่ 12 แบบ
1.1 กองทุนปิด(Closed End Fund)
กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง และเปิดให้มีการจองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ มีกำหนดอายุโครงการแน่นอน และบริษัทจัดการไม่รับ ซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการ ผู้ถือ หน่วยลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนครบ กำหนดอายุโครงการได้ โดยส่วนใหญ่แล้วอายุโครงการ จะมีกำหนด 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี และเพื่อเพิ่มสภาพ คล่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการมักเอาหน่วย ลงทุนของกองทุนปิดไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง หรือจัดให้มีตัวแทนจัดการซื้อขาย (Market Maker)
1.2 กองทุนเปิด (Open End Fund)
กองทุนรวมที่สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ ไม่มี กำหนดอายุโครงการ และบริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วย ลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ทุก วัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกหกเดือน กองทุนเปิดเป็นที่นิยมมากกว่ากองทุน ปิด เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า
1.3 กองทุนรวมที่ระดม เงินลงทุนจากต่างประเทศ(Country Fund)
กองทุนรวมที่บริษัทจัดการตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่มีภูมิลำเนานอกประเทศ เพื่อที่จะระดมเงินมาลงทุนในประเทศไทย กองทุนรวมประเภทนี้มักจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
1.4 กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ย ในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม
1.5 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือ ตราสารหนี้หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดย วิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด หรือให้ความ เห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้
1.6 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว(Long Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุนรวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
1.7 กองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้ระยะสั้น (Short Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุน รวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี
1.8 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและมีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม หรือมี อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงินมีนโยบาย การลงทุนที่คล้ายคลึงกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำสุด เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้นของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง
1.9กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
ลงทุนในตราสารได้ทุกประเภท ผู้จัดการกองทุนสามารถ แสวงหาโอกาสลงทุนที่ดีกว่าได้ ทั้งในตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ โดยเป็นการจัดสรรเงินลงทุนประเภท สมดุล มีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนใน ตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุนรวม เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนเหมาะสำหรับผู้ลงทุน ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
1.10 กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund)
ลงทุนในตราสารทุกประเภทเช่นเดียวกับกองทุนรวม ผสม แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนแต่อย่างใด การจัดสรรเงิน ลงทุนของกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นระหว่างตลาด ตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ จึงอยู่ที่ดุลพินิจของผู้จัดการกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นเหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
1.11 กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund 0f Funds)
มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดง สิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยใน รอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม กองทุนประเภทนี้มีข้อดีคือมีการ กระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง และมีต้นทุน เฉลี่ยต่ำด้วย
1.12 กองทุนรวมใบสำคัญแสดง สิทธิ (Warrant Funds)
มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม ทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีความเสี่ยงสูง กองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก
1.13 กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector Fund)
มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกัน ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
1.14 กองทุนรวมSpecial Fund
เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน นโยบายลงทุน ของกองทุนนี้จะทำการลงทุนซื้อหรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ แล้วนำมาขายหรือให้เช่าอีกทอดหนึ่ง ส่วนการ ขายหน่วยลงทุนของกองทุนประเภทนี้จะขายให้แก่นักลงทุนสถาบันเท่านั้น ไม่ขายให้นักลงทุนรายย่อยหรือ บุคคลธรรมดาทั่วไป
1.15 กองทุนรวม Special Fund
มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน รวม แต่ไม่ประสงค์ที่จะดำรงตามอัตราส่วนการลงทุน ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เนื่องจากกองทุนรวม Special Fund มีการลงทุนกระจุกตัวกว่า สำนักงาน ก.ล.ต.จึงกำหนดให้กองทุนรวมประเภทนี้มีคำเตือนเป็น พิเศษเกี่ยวกับความเสี่ยง
ในโลกสมัยใหม่ที่เราอยู่อาศัยกันทุกวันนี้ ล้วนเต็ม ไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ข้อมูลทางการเงิน ตัวเลข ตาราง ต่างๆ นานา ที่เมื่อก่อน มีไว้ให้ผู้จัดการกองทุนใช้วิเคราะห์เท่านั้น แต่ทว่าเดี๋ยวนี้นักลงทุนก็สามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมได้ โดยคลิกคำสั่งซื้อหรือขายบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โลกยุคข่าวสารสมัยใหม่นี้ได้ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่โลกแห่งการลงทุนอย่างแท้จริง
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนจำนวนมากจากทั่วทุกสารทิศถูกโยน เข้าใส่นักลงทุน ไม่ว่าพวกเขาจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม การวิเคราะห์เชิง ปริมาณอย่างละเอียดซับซ้อน ราคาหุ้นที่กำลังเกิดการซื้อขายจริง หรือข้อมูลประเภทเดียวกันนี้อีกเป็นจำนวนมากมีให้นักลงทุนบอกรับเป็นสมาชิก แต่ข้อมูลมากมายมหาศาลนี้ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าลงทุนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนอัตราสูงๆ กลับคืนมา โลก ของการลงทุนในทุกวันนี้จริงๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าที่มันเคยเป็น คือมันเป็นอย่างไรมันก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น แต่เราต่างหากที่อาจจะเป็นคนทำให้กระบวนการลงทุนยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าเดิม ถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรดี?
ผมมีวิธีอย่างง่ายๆ ในการเลือกซื้อกองทุนรวมมานำเสนอใน M&Wฉบับนี้ แต่ก่อนอื่นผมอยากจะบอกว่ามันมีสิ่งที่ตรงข้ามกันอยู่เสมอในโลก ยุคใหม่นี้ กล่าวคือยิ่งภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวเรามีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เท่าใด เราอาจจะต้องยิ่งแสวงหาวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายมากที่สุด เพื่อให้ บรรลุจุดมุ่งหมายของเรา
ข้อมูลและคำแนะนำที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ ผมเอามาจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ Association of Investment Management Companies (AIMC) โดยมีบริษัทจัดการที่เป็นสมาชิกเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขต่างๆ ที่ปรากฏ ทางเลือกสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมที่มีอยู่ใน ตอนนี้ก็มีแตกต่างหลากหลายอย่างมาก ผมขอเสนอแนวทางหรือวิธีการ อย่างง่ายๆ 12 ข้อสำหรับแผนการลงทุนทางด้านกองทุนรวมของท่านผู้อ่านครับ
1. ท่านต้องรู้ด้วยตัวเองว่ากองทุนประเภทไหนที่เหมาะกับตัวท่าน (Types of Funds)
หากหยิบหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันมาเปิดดูรายชื่อกองทุนรวม ท่านจะเห็นชื่อ และประเภทกองทุนมากมายลายตาไปหมด ชื่อเหล่านี้มักจะเป็นคำที่กว้างๆ เพราะตอนนี้มีการจัดตั้งกองทุนอยู่ทั้งหมดราว 500 กอง แบ่งออกเป็น 12ประเภท อย่างที่บอกแหละครับว่าชื่อกองทุนไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมาก นอกจาก ไอเดียกว้างๆ ว่าเป็นกองทุนอะไรเท่านั้น ลองดูตัวอย่างประเภทกองทุนรวม ที่มีอยู่ 12 แบบ
1.1 กองทุนปิด(Closed End Fund)
กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง และเปิดให้มีการจองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ มีกำหนดอายุโครงการแน่นอน และบริษัทจัดการไม่รับ ซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการ ผู้ถือ หน่วยลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนครบ กำหนดอายุโครงการได้ โดยส่วนใหญ่แล้วอายุโครงการ จะมีกำหนด 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี และเพื่อเพิ่มสภาพ คล่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการมักเอาหน่วย ลงทุนของกองทุนปิดไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง หรือจัดให้มีตัวแทนจัดการซื้อขาย (Market Maker)
1.2 กองทุนเปิด (Open End Fund)
กองทุนรวมที่สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ ไม่มี กำหนดอายุโครงการ และบริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วย ลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ทุก วัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกหกเดือน กองทุนเปิดเป็นที่นิยมมากกว่ากองทุน ปิด เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า
1.3 กองทุนรวมที่ระดม เงินลงทุนจากต่างประเทศ(Country Fund)
กองทุนรวมที่บริษัทจัดการตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่มีภูมิลำเนานอกประเทศ เพื่อที่จะระดมเงินมาลงทุนในประเทศไทย กองทุนรวมประเภทนี้มักจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
1.4 กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ย ในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม
1.5 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือ ตราสารหนี้หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดย วิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด หรือให้ความ เห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้
1.6 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว(Long Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุนรวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
1.7 กองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้ระยะสั้น (Short Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุน รวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี
1.8 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและมีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม หรือมี อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงินมีนโยบาย การลงทุนที่คล้ายคลึงกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำสุด เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้นของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง
1.9กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
ลงทุนในตราสารได้ทุกประเภท ผู้จัดการกองทุนสามารถ แสวงหาโอกาสลงทุนที่ดีกว่าได้ ทั้งในตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ โดยเป็นการจัดสรรเงินลงทุนประเภท สมดุล มีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนใน ตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุนรวม เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนเหมาะสำหรับผู้ลงทุน ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
1.10 กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund)
ลงทุนในตราสารทุกประเภทเช่นเดียวกับกองทุนรวม ผสม แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนแต่อย่างใด การจัดสรรเงิน ลงทุนของกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นระหว่างตลาด ตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ จึงอยู่ที่ดุลพินิจของผู้จัดการกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นเหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
1.11 กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund 0f Funds)
มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดง สิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยใน รอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม กองทุนประเภทนี้มีข้อดีคือมีการ กระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง และมีต้นทุน เฉลี่ยต่ำด้วย
1.12 กองทุนรวมใบสำคัญแสดง สิทธิ (Warrant Funds)
มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม ทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีความเสี่ยงสูง กองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก
1.13 กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector Fund)
มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกัน ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
1.14 กองทุนรวมSpecial Fund
เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน นโยบายลงทุน ของกองทุนนี้จะทำการลงทุนซื้อหรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ แล้วนำมาขายหรือให้เช่าอีกทอดหนึ่ง ส่วนการ ขายหน่วยลงทุนของกองทุนประเภทนี้จะขายให้แก่นักลงทุนสถาบันเท่านั้น ไม่ขายให้นักลงทุนรายย่อยหรือ บุคคลธรรมดาทั่วไป
1.15 กองทุนรวม Special Fund
มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน รวม แต่ไม่ประสงค์ที่จะดำรงตามอัตราส่วนการลงทุน ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เนื่องจากกองทุนรวม Special Fund มีการลงทุนกระจุกตัวกว่า สำนักงาน ก.ล.ต.จึงกำหนดให้กองทุนรวมประเภทนี้มีคำเตือนเป็น พิเศษเกี่ยวกับความเสี่ยง
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่2
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่2
ต่อนะคะ
2. เลือกซื้อกองทุนตามความต้องการลงทุนของท่าน (Choose funds that suit your needs)
ชื่อแปลกๆ ของประเภทกองทุนรวมมากมายในตาราง 1 นั้น ความจริง แล้วยังสามารถจัดให้แคบลงมาได้เหลือแค่ 3 ประเภทเท่านั้นคือกองทุนหุ้น หรือเอาชื่อที่เป็นทางการหน่อยก็คือกองทุนตราสารทุน (Equity Funds) เป็นกองทุนที่ระดมเงินไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทน รวมดีในระยะยาว) ลำดับถัดมาเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เอาไปลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่างๆ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม) และสุดท้าย เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งนำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วเงิน ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี (เพื่อให้เงินต้นมีความมั่นคง)
กองทุนทั้งสามประเภทที่กล่าวมามีจุดที่ต่างกัน คือเรื่องของความ เสี่ยง กองทุนหุ้นมีความเสี่ยงมากที่สุด กองทุนตราสารหนี้ก็เสี่ยง รองลงมา และกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นก็เสี่ยงน้อยที่สุดแต่ก็ให้อัตรา ผลตอบแทนต่ำสุดด้วย ท่านจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทใดก็ต้อง ประเมินว่าจะให้น้ำหนักในเรื่องของอัตราผลตอบแทนหรือความเสี่ยง รวมทั้งดูในแง่ขอบเขตการลงทุน และแผนการกระจายสินทรัพย์ของตัวท่านเอง (Asset Allocation)
3. ระวังเรื่องผลงานในอดีต (Beware of past performance)
ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่เป็นที่สนใจของนักลงทุนส่วนใหญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มี ประสบการณ์ลงทุนมาแล้วหรือเป็นมือใหม่ก็คือ เรื่องผลดำเนินงานในอดีตของ กองทุนหรือที่เราเรียกกันว่า Track Record ซึ่งอาจจะอุปมาได้กับการแข่งม้า แต่ผลงานในอดีต แม้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ทว่ามันอาจจะชวนให้เข้าใจผิด ในการประเมินวิธีการทำงานของผู้จัดการกองทุนได้
ตามหลักแล้วกองทุนที่ผลดำเนินงานในอดีตมีอัตราผลตอบแทนดีกว่าผล ตอบแทนของดัชนีตลาดที่มีการนำมาใช้เปรียบเทียบด้วยนั้น ในระยะยาวหรือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวมักจะอยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนีตลาด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการที่จะได้ผลตอบแทนสูงๆ นั้น ผู้จัดการ กองทุนก็ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงด้วย จึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดัชนีของตลาดที่เอามาเปรียบเทียบ
พวกเราส่วนมากคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า หากมันดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ มันก็มีโอกาสที่จะไม่ใช่ของจริง ซึ่งท่านอาจจะเอามาปรับใช้กับวิธีเลือกกองทุน ได้ในแง่ที่ว่า หากดูผลดำเนินงานในอดีตของกองทุนแห่งหนึ่งแล้ว พบว่ามีอัตรา ผลตอบแทนที่ดีมากผิดปกติ ท่านอาจจะใช้กฎข้อนี้และเริ่มตั้งคำถามได้แล้วว่า มันจะมีผลตอบแทนดีเช่นนั้นไปอีกนานเท่าใด
4. ท่านควรมองหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลานาน (Long-term, Consistency)
ผมคิดว่าสุภาษิตไทยที่บอกว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เป็น หลักการที่น่าจะเอามาปรับใช้ในการตรวจสอบผลดำเนินงานของกองทุนรวม ได้อย่างดี ท่านควรดูตัวเลขผลตอบแทนของกองทุนอย่างน้อยที่สุด 3 ปีย้อนหลัง หรือจะให้ดีก็ดูย้อนไปถึง 5 ปีเลยก็ได้ โดยเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ที่อยู่ ในทำเนียบเดียวกัน แต่ที่สำคัญนั้นท่านต้องเปรียบเทียบกองทุนที่อยู่ในประเภท เดียวกัน เช่น เทียบกองทุนหุ้นกับกองทุนหุ้น ไม่ใช่เอากองหุ้นไปเทียบกับกอง ตราสารหนี้ เพราะกองทุนสองประเภทนี้มีเป้าหมายการลงทุน และนโยบาย ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
5. ให้ระวังเรื่องผลตอบแทนที่เย้ายวนใจและอันดับความเสี่ยง (Beware of tempting yield and credit risk !!!)
คำแนะนำข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในกรณีที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ครับ เพราะตลาดตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ในประเทศเรานั้นต้องบอกว่าเพิ่งจะจัดตั้งได้ไม่กี่ปีนี่เอง มีสภาพคล่องน้อยครับ ดังนั้นราคาหุ้กู้บางตัวในตลาด จะมีความผันผวนสูงและเป็นราคาที่ไม่ถือว่าสะท้อนความต้องการของตลาดอย่าง แท้จริง
บริษัทจัดการรู้ดีว่านักลงทุนมักจะเน้นในเรื่องของความมั่นคงและอัตราผล ตอบแทนในระดับสูง ดังนั้นจึงมีบริษัทจัดการบางแห่งที่ทำทุกอย่างเพื่อให้มีตัวเลข อัตราผลตอบแทนดีๆ พวกเขาไม่สนใจว่าตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อลงทุนไว้ในพอร์ตจะมีอันดับความเสี่ยงสูงและสภาพคล่องที่จะซื้อขายเปลี่ยนมือก็อยู่ในระดับต่ำ ชื่อบริษัทผู้ออกก็ไม่เป็นที่รู้จัก และมันก็เหมือนซื้อเข้ามาเก็บแช่นิ่งไว้ในพอร์ต
เทคนิคในการที่จะเพิ่มตัวเลขผลตอบแทนนี้อาจจะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่คุ้มเลย ก็ได้ แต่วิธีนี้เป็นการเล่นกับความเสี่ยงที่ยากจะประเมินได้ ถ้าคุณเห็นกองทุน ตราสารหนี้แห่งหนึ่งมีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของกองทุนตรา สารหนี้ประเภทเดียวกันและมีอายุของตราสารที่ลงทุนอยู่ในพอร์ตใกล้เคียงกัน คุณควรสอบถามผู้จัดการกองทุนเพื่อขอดูว่ามีตราสารอะไรอยู่ในพอร์ตของเขาบ้าง
6. ให้ดูสภาพคล่องและอายุของตราสารด้วยความระมัดระวัง (Look carefully at maturities & liquidity !!)
นี่เป็นคำแนะนำข้อที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อที่เพิ่งกล่าวถึง ทำไมน่ะหรือครับ เพราะหลายปีที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ระยะยาวมีประวัติทำผล ตอบแทนได้สูง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะดำรงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะเมื่ออัตราดอกเบี้ย ลดลงต่ำมากเป็นประวัติการณ์ในตอนนี้ และจริงๆ แล้วกองทุนตราสารหนี้ที่มี อายุของตราสารที่ถือลงทุนอยู่ ยังเหลืออีกนานมากนั้น จะมีความผันผวน เรื่องราคาสูงมาก ถ้าอัตราดอกเบี้ยหันทิศกลับ โดยเพิ่มขึ้นแค่ 1% เท่านั้น กองทุน ประเภทที่ผมเอ่ยมานี้จะถูกผลกระทบอย่างหนัก โดยผลตอบแทนจะลดลง 10% หรือมากกว่านั้น ทำให้ดอกเบี้ยที่สะสมมามากกว่าปี สูญหายไปในพริบตา
คุณอาจพอรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากคุณคิดว่าจะลงทุนระยะยาว และนี่ก็เป็นความผันผวนในช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณมีเป้าการลงทุนที่สั้นกว่า นั้น เช่น 2 ปีหรือน้อยกว่านี้ ผมคิดว่าคุณควรจะแบ่งเงินออกมาแล้วไปซื้อกองทุน ที่ถือตราสารระยะสั้น
คุณสามารถหาผลตอบแทนได้ถึง 75% - 80% จากกองทุนตราสารหนี้ ระยะยาว โดยมีความผันผวนน้อยกว่าประมาณ 40%
นอกจากเรื่องอายุของตราสารแล้ว ประเด็นเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขาย เปลี่ยนมือก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ลักษณะของกองทุนตราสารหนี้ส่วนมาก ที่จัดตั้งขึ้นในเวลานี้จะเป็นแบบกองทุนเปิดที่ขายให้นักลงทุนทั่วไป นั่นหมายความ ว่านักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้ทุกวันทำการ โดยบางกองทุนไม่ต้องเสียค่า ธรรมเนียมซื้อ-ขายด้วย ถือเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับนักลงทุน แต่ในฟาก ของสินทรัพย์ที่กองทุนไปซื้อลงทุน มันไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขายแบบนั้น
ดังนั้น เราจะเห็นลักษณะของการจับคู่แบบผิดๆ (mismatch) ระหว่าง โครงสร้างของกองทุนเปิดกับสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในช่วงสถานการณ์ปกติผู้จัดการกองทุนจะไม่มีปัญหาในการบริหารสภาพคล่องของกองทุน แต่ใน สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นกู้เผชิญกับความผันผวน ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็ตาม การบริหารสภาพคล่องของกองทุนตราสารหนี้จะมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น เพราะจะมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนทุกวัน
นอกจากนี้ เครื่องมือเพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง เช่น สัญญาซื้อคืนที่เรียก ว่า REPOs ก็ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้กันในเวลานี้ ซึ่งก็หมายความว่าผู้จัดการ กองทุนมีทางเลือกจำกัดมากในการรับมือกับความผันผวนที่ไม่แน่นอนในตลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน
ดังนั้น หากคุณต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว จะเป็นการ ดีกว่าและปลอดภัยยิ่งที่จะแบ่งเงินลงทุนในกองทุนที่มีการขายคืนหน่วย ลงทุนเป็นระยะๆ (Interval Fund) หรือไม่ก็ไปซื้อกองทุนปิดดีกว่าที่จะซื้อเป็น กองทุนเปิดครับ
7. ต้องพิจารณาสไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนด้วย (Consider investment styles)
ท่านผู้อ่านจำนวนมากเมื่ออ่าน/ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อเลือกซื้อกองทุนรวม จะพบว่าหน้าตาของกองทุนเหล่านี้ก็ดูเหมือนๆ กัน คือต่างบริหารภายใต้กฎระเบียบและข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกัน มีพอร์ตการลงทุนเหมือนๆ กัน แต่ท่าน ทราบหรือไม่ว่าโฉมหน้าภายนอกเหล่านี้อาจหลอกสายตาท่านได้ เพราะมีจุดหนึ่งที่ท่านอาจมองไม่เห็น คือ สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุน บางคนมีวิธีการลงทุนที่เน้นเรื่องตัวเลขหรือการทำกำไรมาก (aggressive) บางคน ก็เก่งในเรื่อง การประเมินมูล ค่าการลงทุน (value investing) และบางคน ก็เก่งในเรื่องการ ซื้อๆ ขายๆ หุ้น (trading) หรือ ตราสารหนี้ วิธีหนึ่ง ที่จะช่วยวิเคราะห สไตล์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุนของ ท่านคือดูที่เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ครับ
- BETA เป็นเครื่องวัดตัวหนึ่งที่จะบอกว่ามูลค่ากองทุนได้เคลื่อนไหวไปใน ทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของดัชนีมาตรฐานตลาด เช่น ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) หรือไม่ โดยที่ดัชนีมาตรฐานตัวนี้จะมีค่าเท่ากับ 1.0 หากกองทุนหุ้นที่ท่านผู้อ่านถืออยู่มีค่าเบต้าเท่ากับ 1.20 นั่นหมายความว่า กองทุนกองนี้มีความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าค่าของดัชนีมาตรฐาน อยู่ 20% อธิบายอีกอย่างก็คือ ไม่ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะมีค่าเป็นบวกหรือลบ มูลค่ากองทุนของท่านจะแกว่งตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง 20% เมื่อเทียบกับดัชนี ตลาดฯ
- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation ตัวเลขนี้จะบอกว่า กองทุนที่ท่านถือหน่วยลงทุนอยู่มีการแกว่งตัวของอัตราผลตอบแทนออกจากอัตรา เฉลี่ยที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไว้ที่ระดับ 10 ก็หมายความว่าอัตราผลตอบแทนต่อเดือนของกองทุนมักจะลดลง ได้ไม่เกิน 10% ของอัตราเฉลี่ย หากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับสูงมาก แสดง ว่ากองทุนนั้นก็จะมีความผันผวนในเรื่องอัตราผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน
- ไตรมาสที่เลวร้ายสุดๆ (Worst quarter) เป็นเครื่องวัดความเสี่ยงที่มุ่ง ไปในระยะยาวมากที่สุด มันจะแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทนรายไตรมาสที่ เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งก็ช่วยให้ท่านผู้อ่าน/นักลงทุน ทำใจได้ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์อะไรในอนาคต
เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนมี มุมมองที่ชัดเจนต่อสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันของผู้จัดการกองทุนแต่ละคน แม้ว่าข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่คุณต้องการรู้อาจจะมีให้ไม่ครบถ้วนเพียงแต่บริษัทจัดการทุกแห่งก็จะพยายามจัดหาข้อมูลให้ตามที่ท่านนักลงทุน ร้องขอไปในอนาคตอันใกล้นี้ สมาคมบริษัทจัดการ หรือ AIMC จะจัดทำตัวเลขอัตราผลตอบแทนที่มีการปรับปัจจัยความเสี่ยงแล้ว หรือที่เรียกว่า Risk-Adjusted Return และประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณะให้ทราบด้วย
ต่อนะคะ
2. เลือกซื้อกองทุนตามความต้องการลงทุนของท่าน (Choose funds that suit your needs)
ชื่อแปลกๆ ของประเภทกองทุนรวมมากมายในตาราง 1 นั้น ความจริง แล้วยังสามารถจัดให้แคบลงมาได้เหลือแค่ 3 ประเภทเท่านั้นคือกองทุนหุ้น หรือเอาชื่อที่เป็นทางการหน่อยก็คือกองทุนตราสารทุน (Equity Funds) เป็นกองทุนที่ระดมเงินไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทน รวมดีในระยะยาว) ลำดับถัดมาเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เอาไปลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่างๆ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม) และสุดท้าย เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งนำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วเงิน ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี (เพื่อให้เงินต้นมีความมั่นคง)
กองทุนทั้งสามประเภทที่กล่าวมามีจุดที่ต่างกัน คือเรื่องของความ เสี่ยง กองทุนหุ้นมีความเสี่ยงมากที่สุด กองทุนตราสารหนี้ก็เสี่ยง รองลงมา และกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นก็เสี่ยงน้อยที่สุดแต่ก็ให้อัตรา ผลตอบแทนต่ำสุดด้วย ท่านจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทใดก็ต้อง ประเมินว่าจะให้น้ำหนักในเรื่องของอัตราผลตอบแทนหรือความเสี่ยง รวมทั้งดูในแง่ขอบเขตการลงทุน และแผนการกระจายสินทรัพย์ของตัวท่านเอง (Asset Allocation)
3. ระวังเรื่องผลงานในอดีต (Beware of past performance)
ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่เป็นที่สนใจของนักลงทุนส่วนใหญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มี ประสบการณ์ลงทุนมาแล้วหรือเป็นมือใหม่ก็คือ เรื่องผลดำเนินงานในอดีตของ กองทุนหรือที่เราเรียกกันว่า Track Record ซึ่งอาจจะอุปมาได้กับการแข่งม้า แต่ผลงานในอดีต แม้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ทว่ามันอาจจะชวนให้เข้าใจผิด ในการประเมินวิธีการทำงานของผู้จัดการกองทุนได้
ตามหลักแล้วกองทุนที่ผลดำเนินงานในอดีตมีอัตราผลตอบแทนดีกว่าผล ตอบแทนของดัชนีตลาดที่มีการนำมาใช้เปรียบเทียบด้วยนั้น ในระยะยาวหรือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวมักจะอยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนีตลาด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการที่จะได้ผลตอบแทนสูงๆ นั้น ผู้จัดการ กองทุนก็ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงด้วย จึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดัชนีของตลาดที่เอามาเปรียบเทียบ
พวกเราส่วนมากคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า หากมันดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ มันก็มีโอกาสที่จะไม่ใช่ของจริง ซึ่งท่านอาจจะเอามาปรับใช้กับวิธีเลือกกองทุน ได้ในแง่ที่ว่า หากดูผลดำเนินงานในอดีตของกองทุนแห่งหนึ่งแล้ว พบว่ามีอัตรา ผลตอบแทนที่ดีมากผิดปกติ ท่านอาจจะใช้กฎข้อนี้และเริ่มตั้งคำถามได้แล้วว่า มันจะมีผลตอบแทนดีเช่นนั้นไปอีกนานเท่าใด
4. ท่านควรมองหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลานาน (Long-term, Consistency)
ผมคิดว่าสุภาษิตไทยที่บอกว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เป็น หลักการที่น่าจะเอามาปรับใช้ในการตรวจสอบผลดำเนินงานของกองทุนรวม ได้อย่างดี ท่านควรดูตัวเลขผลตอบแทนของกองทุนอย่างน้อยที่สุด 3 ปีย้อนหลัง หรือจะให้ดีก็ดูย้อนไปถึง 5 ปีเลยก็ได้ โดยเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ที่อยู่ ในทำเนียบเดียวกัน แต่ที่สำคัญนั้นท่านต้องเปรียบเทียบกองทุนที่อยู่ในประเภท เดียวกัน เช่น เทียบกองทุนหุ้นกับกองทุนหุ้น ไม่ใช่เอากองหุ้นไปเทียบกับกอง ตราสารหนี้ เพราะกองทุนสองประเภทนี้มีเป้าหมายการลงทุน และนโยบาย ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
5. ให้ระวังเรื่องผลตอบแทนที่เย้ายวนใจและอันดับความเสี่ยง (Beware of tempting yield and credit risk !!!)
คำแนะนำข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในกรณีที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ครับ เพราะตลาดตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ในประเทศเรานั้นต้องบอกว่าเพิ่งจะจัดตั้งได้ไม่กี่ปีนี่เอง มีสภาพคล่องน้อยครับ ดังนั้นราคาหุ้กู้บางตัวในตลาด จะมีความผันผวนสูงและเป็นราคาที่ไม่ถือว่าสะท้อนความต้องการของตลาดอย่าง แท้จริง
บริษัทจัดการรู้ดีว่านักลงทุนมักจะเน้นในเรื่องของความมั่นคงและอัตราผล ตอบแทนในระดับสูง ดังนั้นจึงมีบริษัทจัดการบางแห่งที่ทำทุกอย่างเพื่อให้มีตัวเลข อัตราผลตอบแทนดีๆ พวกเขาไม่สนใจว่าตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อลงทุนไว้ในพอร์ตจะมีอันดับความเสี่ยงสูงและสภาพคล่องที่จะซื้อขายเปลี่ยนมือก็อยู่ในระดับต่ำ ชื่อบริษัทผู้ออกก็ไม่เป็นที่รู้จัก และมันก็เหมือนซื้อเข้ามาเก็บแช่นิ่งไว้ในพอร์ต
เทคนิคในการที่จะเพิ่มตัวเลขผลตอบแทนนี้อาจจะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่คุ้มเลย ก็ได้ แต่วิธีนี้เป็นการเล่นกับความเสี่ยงที่ยากจะประเมินได้ ถ้าคุณเห็นกองทุน ตราสารหนี้แห่งหนึ่งมีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของกองทุนตรา สารหนี้ประเภทเดียวกันและมีอายุของตราสารที่ลงทุนอยู่ในพอร์ตใกล้เคียงกัน คุณควรสอบถามผู้จัดการกองทุนเพื่อขอดูว่ามีตราสารอะไรอยู่ในพอร์ตของเขาบ้าง
6. ให้ดูสภาพคล่องและอายุของตราสารด้วยความระมัดระวัง (Look carefully at maturities & liquidity !!)
นี่เป็นคำแนะนำข้อที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อที่เพิ่งกล่าวถึง ทำไมน่ะหรือครับ เพราะหลายปีที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ระยะยาวมีประวัติทำผล ตอบแทนได้สูง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะดำรงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะเมื่ออัตราดอกเบี้ย ลดลงต่ำมากเป็นประวัติการณ์ในตอนนี้ และจริงๆ แล้วกองทุนตราสารหนี้ที่มี อายุของตราสารที่ถือลงทุนอยู่ ยังเหลืออีกนานมากนั้น จะมีความผันผวน เรื่องราคาสูงมาก ถ้าอัตราดอกเบี้ยหันทิศกลับ โดยเพิ่มขึ้นแค่ 1% เท่านั้น กองทุน ประเภทที่ผมเอ่ยมานี้จะถูกผลกระทบอย่างหนัก โดยผลตอบแทนจะลดลง 10% หรือมากกว่านั้น ทำให้ดอกเบี้ยที่สะสมมามากกว่าปี สูญหายไปในพริบตา
คุณอาจพอรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากคุณคิดว่าจะลงทุนระยะยาว และนี่ก็เป็นความผันผวนในช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณมีเป้าการลงทุนที่สั้นกว่า นั้น เช่น 2 ปีหรือน้อยกว่านี้ ผมคิดว่าคุณควรจะแบ่งเงินออกมาแล้วไปซื้อกองทุน ที่ถือตราสารระยะสั้น
คุณสามารถหาผลตอบแทนได้ถึง 75% - 80% จากกองทุนตราสารหนี้ ระยะยาว โดยมีความผันผวนน้อยกว่าประมาณ 40%
นอกจากเรื่องอายุของตราสารแล้ว ประเด็นเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขาย เปลี่ยนมือก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ลักษณะของกองทุนตราสารหนี้ส่วนมาก ที่จัดตั้งขึ้นในเวลานี้จะเป็นแบบกองทุนเปิดที่ขายให้นักลงทุนทั่วไป นั่นหมายความ ว่านักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้ทุกวันทำการ โดยบางกองทุนไม่ต้องเสียค่า ธรรมเนียมซื้อ-ขายด้วย ถือเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับนักลงทุน แต่ในฟาก ของสินทรัพย์ที่กองทุนไปซื้อลงทุน มันไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขายแบบนั้น
ดังนั้น เราจะเห็นลักษณะของการจับคู่แบบผิดๆ (mismatch) ระหว่าง โครงสร้างของกองทุนเปิดกับสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในช่วงสถานการณ์ปกติผู้จัดการกองทุนจะไม่มีปัญหาในการบริหารสภาพคล่องของกองทุน แต่ใน สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นกู้เผชิญกับความผันผวน ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็ตาม การบริหารสภาพคล่องของกองทุนตราสารหนี้จะมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น เพราะจะมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนทุกวัน
นอกจากนี้ เครื่องมือเพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง เช่น สัญญาซื้อคืนที่เรียก ว่า REPOs ก็ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้กันในเวลานี้ ซึ่งก็หมายความว่าผู้จัดการ กองทุนมีทางเลือกจำกัดมากในการรับมือกับความผันผวนที่ไม่แน่นอนในตลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน
ดังนั้น หากคุณต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว จะเป็นการ ดีกว่าและปลอดภัยยิ่งที่จะแบ่งเงินลงทุนในกองทุนที่มีการขายคืนหน่วย ลงทุนเป็นระยะๆ (Interval Fund) หรือไม่ก็ไปซื้อกองทุนปิดดีกว่าที่จะซื้อเป็น กองทุนเปิดครับ
7. ต้องพิจารณาสไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนด้วย (Consider investment styles)
ท่านผู้อ่านจำนวนมากเมื่ออ่าน/ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อเลือกซื้อกองทุนรวม จะพบว่าหน้าตาของกองทุนเหล่านี้ก็ดูเหมือนๆ กัน คือต่างบริหารภายใต้กฎระเบียบและข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกัน มีพอร์ตการลงทุนเหมือนๆ กัน แต่ท่าน ทราบหรือไม่ว่าโฉมหน้าภายนอกเหล่านี้อาจหลอกสายตาท่านได้ เพราะมีจุดหนึ่งที่ท่านอาจมองไม่เห็น คือ สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุน บางคนมีวิธีการลงทุนที่เน้นเรื่องตัวเลขหรือการทำกำไรมาก (aggressive) บางคน ก็เก่งในเรื่อง การประเมินมูล ค่าการลงทุน (value investing) และบางคน ก็เก่งในเรื่องการ ซื้อๆ ขายๆ หุ้น (trading) หรือ ตราสารหนี้ วิธีหนึ่ง ที่จะช่วยวิเคราะห สไตล์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุนของ ท่านคือดูที่เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ครับ
- BETA เป็นเครื่องวัดตัวหนึ่งที่จะบอกว่ามูลค่ากองทุนได้เคลื่อนไหวไปใน ทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของดัชนีมาตรฐานตลาด เช่น ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) หรือไม่ โดยที่ดัชนีมาตรฐานตัวนี้จะมีค่าเท่ากับ 1.0 หากกองทุนหุ้นที่ท่านผู้อ่านถืออยู่มีค่าเบต้าเท่ากับ 1.20 นั่นหมายความว่า กองทุนกองนี้มีความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าค่าของดัชนีมาตรฐาน อยู่ 20% อธิบายอีกอย่างก็คือ ไม่ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะมีค่าเป็นบวกหรือลบ มูลค่ากองทุนของท่านจะแกว่งตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง 20% เมื่อเทียบกับดัชนี ตลาดฯ
- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation ตัวเลขนี้จะบอกว่า กองทุนที่ท่านถือหน่วยลงทุนอยู่มีการแกว่งตัวของอัตราผลตอบแทนออกจากอัตรา เฉลี่ยที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไว้ที่ระดับ 10 ก็หมายความว่าอัตราผลตอบแทนต่อเดือนของกองทุนมักจะลดลง ได้ไม่เกิน 10% ของอัตราเฉลี่ย หากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับสูงมาก แสดง ว่ากองทุนนั้นก็จะมีความผันผวนในเรื่องอัตราผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน
- ไตรมาสที่เลวร้ายสุดๆ (Worst quarter) เป็นเครื่องวัดความเสี่ยงที่มุ่ง ไปในระยะยาวมากที่สุด มันจะแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทนรายไตรมาสที่ เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งก็ช่วยให้ท่านผู้อ่าน/นักลงทุน ทำใจได้ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์อะไรในอนาคต
เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนมี มุมมองที่ชัดเจนต่อสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันของผู้จัดการกองทุนแต่ละคน แม้ว่าข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่คุณต้องการรู้อาจจะมีให้ไม่ครบถ้วนเพียงแต่บริษัทจัดการทุกแห่งก็จะพยายามจัดหาข้อมูลให้ตามที่ท่านนักลงทุน ร้องขอไปในอนาคตอันใกล้นี้ สมาคมบริษัทจัดการ หรือ AIMC จะจัดทำตัวเลขอัตราผลตอบแทนที่มีการปรับปัจจัยความเสี่ยงแล้ว หรือที่เรียกว่า Risk-Adjusted Return และประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณะให้ทราบด้วย
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่ 3
แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่ 3
8. ต้องระวังในเรื่องขนาดของสินทรัพย์ (Beware of asset size)
การลงทุนในกองทุนรวม ขนาดของสินทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้อง พิจารณา เพราะมันมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุน แต่การที่จะบอกว่า จำนวนเท่าใดถือเป็นกองทุนขนาดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อนพอสมควร กองทุนที่มีขนาดสินทรัพย์น้อยกว่า 100 ล้านบาทถือว่า มีขนาดเล็กเกินไป เพราะเมื่อดูตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุนแล้ว เราจะพบว่ามันไม่เกิดการประหยัดในเรื่องของขนาดกองทุน พูดง่ายๆ ก็คือค่าใช้จ่ายจะมีจำนวนสูงเมื่อเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
แต่ในอีกสุดขั้วหนึ่งนั้น หากกองทุนมีขนาดของสินทรัพย์เกินกว่า 15,000 ล้านบาท ก็ถือว่าใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดการเงินไทย ประเด็นนี้ เป็นเรื่องจริงนะครับ เพราะภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ตอนนี้บริษัทที่ออก ตราสารหนี้ชั้นดีหาได้ยากมากครับ นั่นหมายความว่าตราสารดีๆ ที่ผู้จัดการกองทุน จะซื้อหามาลงทุนก็มีน้อยด้วยครับ
9. ต้องคอยตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้ (Look for hidden expense)
ค่าใช้จ่ายของกองทุนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของนักลงทุนโดยตรง ในส่วน ของกองทุนหุ้นที่ค่อนข้างแอคทีฟจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการปีละ 1 - 1.5% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ขณะที่กองทุนหุ้นที่เคลื่อนไหวตามการ เปลี่ยนแปลงของดัชนีจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เกิน 0.75% แต่ในส่วน ของกองทุนตราสารหนี้นั้นจะคิดค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากองทุนหุ้นครับ ปีละ 0.5% - 0.75% เท่านั้น
นอกจากดูค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมการจัดการรายปีแล้ว ท่านดูอัตราส่วนค่าใช้จ่ายรวม หรือที่เรียกว่า Total Expense Ratio (TER) ซึ่งเป็นตัวเลขรวมของค่าใช้จ่ายทุกรายการที่เกิดขึ้นของกองทุนครับ อย่างไรก็ดี ผมอยาก จะชี้ให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้อีกรายการหนึ่ง ซึ่งเกิดมาจากการซื้อหลักทรัพย์เข้ามาไว้ในพอร์ตลงทุน และการขายหลักทรัพย์นั้นออกไป ท่านสามารถ ตรวจสอบตัวเลขนี้ได้จากอัตราส่วนการซื้อเข้ามาและขายออกไปในพอร์ตโฟลิโอ ของกองทุนครับ (Portfolio turn over ratio)
อัตราส่วนตัวนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าหุ้นตัวหนึ่งๆ มีการซื้อขายเข้าออก กี่รอบ อัตราส่วนการเข้าออกหลักทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอ หากน้อยกว่า 100% ถือเป็นระดับปกติครับ
10. ใครเป็นคนบริหารเงินของฉัน? (Who's managing my money?)
นี่เป็นคำถามที่สมควรจะถูกถามอย่างยิ่ง เพราะว่าอะไรน่ะหรือครับ ก็เรากำลัง จะมอบความไว้วางใจให้กับคนคนหนึ่ง เข้ามาบริหารเงินที่เราหามาได้ด้วยความ ยากลำบาก มันก็จะต้องทราบพื้นเพของคนผู้นี้กันสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือ สตรีก็ตาม อย่างไรก็ตาม ก็มีบริษัทจัดการจำนวนมากนะครับที่ใช้ระบบตั้งเป็น คณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเงินของท่านผู้อ่าน เรียกว่าใช้ระบบให้คนหลาย คนมาช่วยกันบริหาร (Investment committee) แทนที่จะเป็นวันแมน/วีแมน โชว์ครับ
กระนั้นก็เถอะครับ ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องได้ใบอนุญาตบริหารจัดการ กองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. และต้องมีการระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดการกองทุนกองไหน แต่เราก็ควร ที่จะถามคำถามนั้นกับพวกเขาอยู่ดีแหละครับ คุณเป็นใคร มีประสบการณ์ บริหารกองทุนมานานเพียงใด มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างไรบ้างในการจัดการ กองทุน ผู้จัดการกองทุนที่มีใบอนุญาต CFA หรือเป็นนักวิเคราะห์ทางการเงินระดับสูงจะมีความชำนาญมากกว่าผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตนี้
11. อย่าซื้อกองทุนหลายกองมากเกินไป (Don't own too many funds) มีรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย Morningstar Mutual Funds ในสหรัฐ อเมริกา ได้ข้อสรุปว่าการถือหน่วยลงทุนของกองทุนมากกว่า 4 กองขึ้นไปไม่ได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแต่อย่างใด (ดูตารางประกอบ) ในกรณีของ กองทุนรวมในบ้านเรานั้น ยังไม่มีการทำรายงานศึกษาในเรื่องนี้ แต่แนวโน้ม ก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากในสหรัฐฯ เท่าใดนัก
มันก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องไปซื้อกองทุนถึง 7-8 กองเพื่อที่จะให้เกิด การกระจายการลงทุน ทางเลือกที่ดีน่าจะเป็นการเลือกกองทุนดีๆ สัก 2-3 กอง หรือซื้อกองทุน Index Fund หรือกองทุนผสม ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง ได้มากกว่า
12. ลงทุนเพื่อระยะยาว (Invest for the long term)
นี่เป็นกฎข้อสุดท้ายในการเลือกกองทุนแล้วครับ หลังจากที่คุณมีความชัดเจน กับเป้าหมายการลงทุนระยะยาวของคุณแล้ว รวมทั้งรู้ด้วยว่าคุณจะรับความเสี่ยง ได้มากน้อยแค่ไหน และคุณก็เลือกผสมกันระหว่างกองทุนที่แอคทีฟกับ ไม่แอคทีฟมากแต่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (Index Fund) คราวนี้คุณก็นั่งพักได้แล้วล่ะครับ ปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนทำงานในส่วนที่ ยากๆ ต่อไปเพื่อหาผลตอบแทนให้คุณคำแนะนำสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผมจะให้กับท่านผู้อ่านได้คือควรจะลงทุน เพื่อหวังดอกผลในระยะยาว ประโยคที่บอกว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว อาจจะเอามาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของท่านได้ และท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะบอกด้วยว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่องสำหรับคนรวย แต่คุณจะรวยได้ต้องเป็นนักลงทุน.
8. ต้องระวังในเรื่องขนาดของสินทรัพย์ (Beware of asset size)
การลงทุนในกองทุนรวม ขนาดของสินทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้อง พิจารณา เพราะมันมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุน แต่การที่จะบอกว่า จำนวนเท่าใดถือเป็นกองทุนขนาดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อนพอสมควร กองทุนที่มีขนาดสินทรัพย์น้อยกว่า 100 ล้านบาทถือว่า มีขนาดเล็กเกินไป เพราะเมื่อดูตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุนแล้ว เราจะพบว่ามันไม่เกิดการประหยัดในเรื่องของขนาดกองทุน พูดง่ายๆ ก็คือค่าใช้จ่ายจะมีจำนวนสูงเมื่อเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
แต่ในอีกสุดขั้วหนึ่งนั้น หากกองทุนมีขนาดของสินทรัพย์เกินกว่า 15,000 ล้านบาท ก็ถือว่าใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดการเงินไทย ประเด็นนี้ เป็นเรื่องจริงนะครับ เพราะภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ตอนนี้บริษัทที่ออก ตราสารหนี้ชั้นดีหาได้ยากมากครับ นั่นหมายความว่าตราสารดีๆ ที่ผู้จัดการกองทุน จะซื้อหามาลงทุนก็มีน้อยด้วยครับ
9. ต้องคอยตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้ (Look for hidden expense)
ค่าใช้จ่ายของกองทุนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของนักลงทุนโดยตรง ในส่วน ของกองทุนหุ้นที่ค่อนข้างแอคทีฟจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการปีละ 1 - 1.5% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ขณะที่กองทุนหุ้นที่เคลื่อนไหวตามการ เปลี่ยนแปลงของดัชนีจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เกิน 0.75% แต่ในส่วน ของกองทุนตราสารหนี้นั้นจะคิดค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากองทุนหุ้นครับ ปีละ 0.5% - 0.75% เท่านั้น
นอกจากดูค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมการจัดการรายปีแล้ว ท่านดูอัตราส่วนค่าใช้จ่ายรวม หรือที่เรียกว่า Total Expense Ratio (TER) ซึ่งเป็นตัวเลขรวมของค่าใช้จ่ายทุกรายการที่เกิดขึ้นของกองทุนครับ อย่างไรก็ดี ผมอยาก จะชี้ให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้อีกรายการหนึ่ง ซึ่งเกิดมาจากการซื้อหลักทรัพย์เข้ามาไว้ในพอร์ตลงทุน และการขายหลักทรัพย์นั้นออกไป ท่านสามารถ ตรวจสอบตัวเลขนี้ได้จากอัตราส่วนการซื้อเข้ามาและขายออกไปในพอร์ตโฟลิโอ ของกองทุนครับ (Portfolio turn over ratio)
อัตราส่วนตัวนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าหุ้นตัวหนึ่งๆ มีการซื้อขายเข้าออก กี่รอบ อัตราส่วนการเข้าออกหลักทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอ หากน้อยกว่า 100% ถือเป็นระดับปกติครับ
10. ใครเป็นคนบริหารเงินของฉัน? (Who's managing my money?)
นี่เป็นคำถามที่สมควรจะถูกถามอย่างยิ่ง เพราะว่าอะไรน่ะหรือครับ ก็เรากำลัง จะมอบความไว้วางใจให้กับคนคนหนึ่ง เข้ามาบริหารเงินที่เราหามาได้ด้วยความ ยากลำบาก มันก็จะต้องทราบพื้นเพของคนผู้นี้กันสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือ สตรีก็ตาม อย่างไรก็ตาม ก็มีบริษัทจัดการจำนวนมากนะครับที่ใช้ระบบตั้งเป็น คณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเงินของท่านผู้อ่าน เรียกว่าใช้ระบบให้คนหลาย คนมาช่วยกันบริหาร (Investment committee) แทนที่จะเป็นวันแมน/วีแมน โชว์ครับ
กระนั้นก็เถอะครับ ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องได้ใบอนุญาตบริหารจัดการ กองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. และต้องมีการระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดการกองทุนกองไหน แต่เราก็ควร ที่จะถามคำถามนั้นกับพวกเขาอยู่ดีแหละครับ คุณเป็นใคร มีประสบการณ์ บริหารกองทุนมานานเพียงใด มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างไรบ้างในการจัดการ กองทุน ผู้จัดการกองทุนที่มีใบอนุญาต CFA หรือเป็นนักวิเคราะห์ทางการเงินระดับสูงจะมีความชำนาญมากกว่าผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตนี้
11. อย่าซื้อกองทุนหลายกองมากเกินไป (Don't own too many funds) มีรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย Morningstar Mutual Funds ในสหรัฐ อเมริกา ได้ข้อสรุปว่าการถือหน่วยลงทุนของกองทุนมากกว่า 4 กองขึ้นไปไม่ได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแต่อย่างใด (ดูตารางประกอบ) ในกรณีของ กองทุนรวมในบ้านเรานั้น ยังไม่มีการทำรายงานศึกษาในเรื่องนี้ แต่แนวโน้ม ก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากในสหรัฐฯ เท่าใดนัก
มันก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องไปซื้อกองทุนถึง 7-8 กองเพื่อที่จะให้เกิด การกระจายการลงทุน ทางเลือกที่ดีน่าจะเป็นการเลือกกองทุนดีๆ สัก 2-3 กอง หรือซื้อกองทุน Index Fund หรือกองทุนผสม ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง ได้มากกว่า
12. ลงทุนเพื่อระยะยาว (Invest for the long term)
นี่เป็นกฎข้อสุดท้ายในการเลือกกองทุนแล้วครับ หลังจากที่คุณมีความชัดเจน กับเป้าหมายการลงทุนระยะยาวของคุณแล้ว รวมทั้งรู้ด้วยว่าคุณจะรับความเสี่ยง ได้มากน้อยแค่ไหน และคุณก็เลือกผสมกันระหว่างกองทุนที่แอคทีฟกับ ไม่แอคทีฟมากแต่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (Index Fund) คราวนี้คุณก็นั่งพักได้แล้วล่ะครับ ปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนทำงานในส่วนที่ ยากๆ ต่อไปเพื่อหาผลตอบแทนให้คุณคำแนะนำสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผมจะให้กับท่านผู้อ่านได้คือควรจะลงทุน เพื่อหวังดอกผลในระยะยาว ประโยคที่บอกว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว อาจจะเอามาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของท่านได้ และท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะบอกด้วยว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่องสำหรับคนรวย แต่คุณจะรวยได้ต้องเป็นนักลงทุน.
บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"
บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"
1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)
2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)
6.ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
7.ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว
8.ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9.นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
10.อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง
1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)
2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)
6.ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
7.ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว
8.ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9.นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
10.อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง
จะรวยแบบจนจน หรือจะจนแบบรวยรวย
จะรวยแบบจนจน หรือจะจนแบบรวยรวย
ไม่เฉพาะแต่สวยเลือกได้ หล่อเลือกได้ จะเป็นคนดี เป็นคนไม่ดี จะทำงานสุจริต หรือจะทุจริตคดโกง
จะขยันขันแข็ง หรือจะขี้เกียจสันหลังยาว จะมีความสุขทุกวัน หรือจะระทมทุกข์ตลอดเวลา ที่จริงก็เป็นเรื่องที่เราเลือกได้... ชีวิตมีทางให้เราเลือกเสมอ แต่เรามักมองข้ามไป อาจเป็นเพราะขี้เกียจเลือก เพราะคิดว่าที่มีอยู่ หรือที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีอะไรดีไปกว่านี้ได้ หรือเพราะพิจารณาไม่รอบคอบ บางครั้งเราเห็นทางเลือกแค่ซ้ายกับขวา ทั้งที่ก็ยังมีตรงกลางให้เลือก หรือบางครั้งเรานึกว่ามีเพียงเดินหน้ากับถอยหลัง ทั้งที่ก็ยังสามารถหยุดอยู่ตรงกลาง เพื่อคิดให้แน่ใจก่อนเลือกว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง เราอาจจะต้องถอยหลังเพื่อไปข้างหน้า เพราะการเดินหน้าอย่างไม่ระวังอาจทำให้เราถอยหลังไปไกลกว่าเดิม...!!
หลายครั้งเราไม่สนใจว่ามีทางเลือก จึงมักจะว่าตามๆ กันไป... ก็ทำตามๆ เค้าไป ใครเค้ามีอะไรเราขอมีด้วยคน ใครเค้าทำอะไรเราขอทำด้วยคน ใครเค้ากินอะไรเราขอกินด้วยคน เห็นใครเค้าทำอะไรสบายๆ ดูง่ายๆ ก็ขอทำกะเค้าด้วย... เห็นคนมีสตางค์ ใช้ชีวิตหรูหรา ฟุ่มเฟือย ใช้ข้าวของแบรนด์เนมราคาแพง ก็ทำตามเค้าไป เห็นใครเค้ามีอุปกรณ์ทันสมัย Hi-tech ก็ขอมีกะเค้าด้วย ปัญหาคงจะไม่เกิด หากการทำตามๆ เค้าไป หรือการมีอย่างที่เค้ามี การเป็นอย่างที่เค้าเป็นเหล่านั้นจะไม่สร้างความเดือดร้อน หรือก่อความวุ่นวายให้ตัวเราเองหรือส่วนรวม
แต่โดยทั่วไป ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหล่านี้มักสร้างปัญหาต่อเนื่องอย่างเลี่ยงได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ เรามัวแต่มองคนอื่น เราเลยเลือกเป็นอย่างคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา ที่มักไม่เหมาะสมกับตัวเรา เพราะเราเห็นคนอื่น แล้วก็คิดไปเองว่าเค้าคงมีความสุขกาย สบายใจ เราเลยเลือกเป็นอย่างเขาบ้าง
บ่อยครั้งที่เราลืมมองตนเอง ลืมมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราตามความจริง ลืมสนใจความต้องการที่แท้จริง เราจึงตัดสินใจเลือกไปตามที่เราเห็น โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เมื่อเลือกใช้ เลือกเป็นในแบบที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลที่ตามมา จึงก่อภาระสร้างปัญหาให้ต้องทุกข์ใจได้ไม่หยุดหย่อน ความจริงไม่น่าจะยากที่จะเป็นตัวเอง ที่จะมีความสุขตามสภาพแวดล้อมของตัวเราเอง ที่จะจัดการตัวเองให้เหมาะสมกลมกลืนกับธรรมชาติรอบๆ ตัว
หากเราไม่พิจารณาสภาพแวดล้อมและไม่จัดการปรับตัวเราให้พอเหมาะพอดีกับสภาพแวดล้อมนั้น ถึงจะมีเงินทองหมื่นล้านแสนล้าน มีคฤหาสน์หรูหราในทุกทวีป มีรถยนต์ทุกยี่ห้อ มีเครื่องบินส่วนตัว มีที่ดิน ทรัพย์สมบัติมากมาย รับรองว่าความสุข ความสบายใจก็เกิดขึ้นได้ยาก
ทำยังไงก็จะยังเป็นคนจนแบบรวยรวย อยู่เช่นนั้น จะไม่มีวันร่ำรวยได้อย่างแท้จริง เพราะคนจนแบบรวยรวยเหล่านี้จะเบียดเบียนตนเองโดยไม่รู้ตัว ซ้ำร้ายปัญหาจะขยายวงกว้างขึ้น หากเขาเริ่มเบียดเบียนส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการมีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มมากขึ้น ต้องการมีอำนาจหน้าที่ ต้องการเป็นใหญ่เป็นโต หรือใช้เงินไปในทางไม่ชอบเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ตรงกันข้าม หากคนที่ร่ำรวยเงินทองเหล่านี้ รู้จักตัวเองตามความจริง แล้วรู้จักแบ่งปัน รู้จักเผื่อแผ่ให้แก่ส่วนรวม ทรัพย์สินเงินทองเพียงน้อยนิดของเขาจะสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากมายมหาศาลอย่าง เช่น ค่าอาหารเย็นสุดหรูไม่กี่มื้อ อาจจะสร้างโอกาสให้เด็กบางคนเรียนหนังสือได้เป็นปี หรือราคารถยนต์คันที่ห้าของคนจนแบบรวยรวยเหล่านี้ อาจจะช่วยกอบกู้วิกฤติให้แก่ชุนชนบางแห่งได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เราเห็นมหาเศรษฐีหลายคนที่บริจาคเงินมหาศาลให้แก่การกุศลเพื่อช่วยเหลือสังคมในวงกว้าง อย่างมหาเศรษฐีนักลงทุนอย่างวอร์เรน บัพเฟตต์ หรือคุณปู่ของไฮโซสาวชื่อดังปารีส ฮิลตันที่ยกมรดกเกือบทั้งหมดให้การกุศล เพราะเขามองว่าลูกหลานของเค้าไม่ได้ด้อยโอกาสไปกว่าใคร เพราะลูกหลานของเขายังทำมาหากินได้ ยังมีชีวิตที่ดีได้อย่างปกติ เพราะเงินมากมายเหล่านี้ ก็ได้มาจากผู้คนในสังคม จึงควรจะได้กลับไปช่วยเหลือผู้คนในสังคม ไม่จำกัดแต่คนในครอบครัวเท่านั้น คนรวยแบบไม่จนเหล่านี้ เขาไม่เหลิงในความรวย ทำให้นอกจากจะมีความสุขกายจากข้าวของ เครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกราคาแพงแล้ว เขายังมีความอิ่มเอิบเบิกบานใจจากการกระทำของตนเองด้วย
ส่วนใครที่คิดว่ายังไม่รวยพอ ลองพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัวเองอีกสักครั้ง แล้วลองวางระบบ จัดระเบียบชีวิตตนเองอีกที หลายท่านอาจจะพบว่าสามารถเป็นคนรวยแบบจนจนได้อย่างมีความสุข เพราะความจน ความรวยในทรัพย์สินเงินทองอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในชีวิตเสมอไป เรารวยกันได้ทั่วหน้า รวยตามอัตภาพ ตามสิ่งแวดล้อม รวยในแบบของเรา รวยแบบไม่มีใครเหมือน และไม่ต้องรวยเหมือนใคร
ความรวยจริงๆ จากข้างใน ในแบบของเรา จะสร้างความสง่างาม สร้างคุณค่าในชีวิตได้ จนราศี รัศมีแห่งความรวยแข่งเปล่งประกาย ฉายแววให้ผู้คนรอบตัวได้แปลกใจเป็นแน่แท้ส่วนคนรวยที่เหลิงในความรวย ทั้งไม่รู้จักพอ และใช้เงินใช้ทองไม่เป็นประโยชน์ เขาต้องทุกข์ระทม หน้าชื่นอกตรม อาจจะนั่งยิ้มหวานอยู่ในรถหรูหราราคาแพง ทั้งที่ในใจร้อนรุ่ม กระวนกระวาย ไม่สงบ น่าจะต้องลองถามหาความต้องการที่แท้จริงตามธรรมชาติดู แล้วคำนวณจุดสมดุลที่จะปรับจูน ชีวิตให้มีค่า มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมดูบ้าง เพื่อจะพบว่าการหยุดวิ่ง หยุดความวุ่นวาย หยุดความร้อนรนในชีวิตทำได้ง่ายกว่าที่คิด ไม่ต้องเสียเงินเสียทองมากมายไปจ้างใครต่อใครให้มาช่วยเรา
ลองเป็นคนจนแบบรวยรวยดูค่ะ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ไม่เฉพาะแต่สวยเลือกได้ หล่อเลือกได้ จะเป็นคนดี เป็นคนไม่ดี จะทำงานสุจริต หรือจะทุจริตคดโกง
จะขยันขันแข็ง หรือจะขี้เกียจสันหลังยาว จะมีความสุขทุกวัน หรือจะระทมทุกข์ตลอดเวลา ที่จริงก็เป็นเรื่องที่เราเลือกได้... ชีวิตมีทางให้เราเลือกเสมอ แต่เรามักมองข้ามไป อาจเป็นเพราะขี้เกียจเลือก เพราะคิดว่าที่มีอยู่ หรือที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีอะไรดีไปกว่านี้ได้ หรือเพราะพิจารณาไม่รอบคอบ บางครั้งเราเห็นทางเลือกแค่ซ้ายกับขวา ทั้งที่ก็ยังมีตรงกลางให้เลือก หรือบางครั้งเรานึกว่ามีเพียงเดินหน้ากับถอยหลัง ทั้งที่ก็ยังสามารถหยุดอยู่ตรงกลาง เพื่อคิดให้แน่ใจก่อนเลือกว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง เราอาจจะต้องถอยหลังเพื่อไปข้างหน้า เพราะการเดินหน้าอย่างไม่ระวังอาจทำให้เราถอยหลังไปไกลกว่าเดิม...!!
หลายครั้งเราไม่สนใจว่ามีทางเลือก จึงมักจะว่าตามๆ กันไป... ก็ทำตามๆ เค้าไป ใครเค้ามีอะไรเราขอมีด้วยคน ใครเค้าทำอะไรเราขอทำด้วยคน ใครเค้ากินอะไรเราขอกินด้วยคน เห็นใครเค้าทำอะไรสบายๆ ดูง่ายๆ ก็ขอทำกะเค้าด้วย... เห็นคนมีสตางค์ ใช้ชีวิตหรูหรา ฟุ่มเฟือย ใช้ข้าวของแบรนด์เนมราคาแพง ก็ทำตามเค้าไป เห็นใครเค้ามีอุปกรณ์ทันสมัย Hi-tech ก็ขอมีกะเค้าด้วย ปัญหาคงจะไม่เกิด หากการทำตามๆ เค้าไป หรือการมีอย่างที่เค้ามี การเป็นอย่างที่เค้าเป็นเหล่านั้นจะไม่สร้างความเดือดร้อน หรือก่อความวุ่นวายให้ตัวเราเองหรือส่วนรวม
แต่โดยทั่วไป ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหล่านี้มักสร้างปัญหาต่อเนื่องอย่างเลี่ยงได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ เรามัวแต่มองคนอื่น เราเลยเลือกเป็นอย่างคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา ที่มักไม่เหมาะสมกับตัวเรา เพราะเราเห็นคนอื่น แล้วก็คิดไปเองว่าเค้าคงมีความสุขกาย สบายใจ เราเลยเลือกเป็นอย่างเขาบ้าง
บ่อยครั้งที่เราลืมมองตนเอง ลืมมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราตามความจริง ลืมสนใจความต้องการที่แท้จริง เราจึงตัดสินใจเลือกไปตามที่เราเห็น โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เมื่อเลือกใช้ เลือกเป็นในแบบที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลที่ตามมา จึงก่อภาระสร้างปัญหาให้ต้องทุกข์ใจได้ไม่หยุดหย่อน ความจริงไม่น่าจะยากที่จะเป็นตัวเอง ที่จะมีความสุขตามสภาพแวดล้อมของตัวเราเอง ที่จะจัดการตัวเองให้เหมาะสมกลมกลืนกับธรรมชาติรอบๆ ตัว
หากเราไม่พิจารณาสภาพแวดล้อมและไม่จัดการปรับตัวเราให้พอเหมาะพอดีกับสภาพแวดล้อมนั้น ถึงจะมีเงินทองหมื่นล้านแสนล้าน มีคฤหาสน์หรูหราในทุกทวีป มีรถยนต์ทุกยี่ห้อ มีเครื่องบินส่วนตัว มีที่ดิน ทรัพย์สมบัติมากมาย รับรองว่าความสุข ความสบายใจก็เกิดขึ้นได้ยาก
ทำยังไงก็จะยังเป็นคนจนแบบรวยรวย อยู่เช่นนั้น จะไม่มีวันร่ำรวยได้อย่างแท้จริง เพราะคนจนแบบรวยรวยเหล่านี้จะเบียดเบียนตนเองโดยไม่รู้ตัว ซ้ำร้ายปัญหาจะขยายวงกว้างขึ้น หากเขาเริ่มเบียดเบียนส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการมีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มมากขึ้น ต้องการมีอำนาจหน้าที่ ต้องการเป็นใหญ่เป็นโต หรือใช้เงินไปในทางไม่ชอบเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ตรงกันข้าม หากคนที่ร่ำรวยเงินทองเหล่านี้ รู้จักตัวเองตามความจริง แล้วรู้จักแบ่งปัน รู้จักเผื่อแผ่ให้แก่ส่วนรวม ทรัพย์สินเงินทองเพียงน้อยนิดของเขาจะสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากมายมหาศาลอย่าง เช่น ค่าอาหารเย็นสุดหรูไม่กี่มื้อ อาจจะสร้างโอกาสให้เด็กบางคนเรียนหนังสือได้เป็นปี หรือราคารถยนต์คันที่ห้าของคนจนแบบรวยรวยเหล่านี้ อาจจะช่วยกอบกู้วิกฤติให้แก่ชุนชนบางแห่งได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เราเห็นมหาเศรษฐีหลายคนที่บริจาคเงินมหาศาลให้แก่การกุศลเพื่อช่วยเหลือสังคมในวงกว้าง อย่างมหาเศรษฐีนักลงทุนอย่างวอร์เรน บัพเฟตต์ หรือคุณปู่ของไฮโซสาวชื่อดังปารีส ฮิลตันที่ยกมรดกเกือบทั้งหมดให้การกุศล เพราะเขามองว่าลูกหลานของเค้าไม่ได้ด้อยโอกาสไปกว่าใคร เพราะลูกหลานของเขายังทำมาหากินได้ ยังมีชีวิตที่ดีได้อย่างปกติ เพราะเงินมากมายเหล่านี้ ก็ได้มาจากผู้คนในสังคม จึงควรจะได้กลับไปช่วยเหลือผู้คนในสังคม ไม่จำกัดแต่คนในครอบครัวเท่านั้น คนรวยแบบไม่จนเหล่านี้ เขาไม่เหลิงในความรวย ทำให้นอกจากจะมีความสุขกายจากข้าวของ เครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกราคาแพงแล้ว เขายังมีความอิ่มเอิบเบิกบานใจจากการกระทำของตนเองด้วย
ส่วนใครที่คิดว่ายังไม่รวยพอ ลองพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัวเองอีกสักครั้ง แล้วลองวางระบบ จัดระเบียบชีวิตตนเองอีกที หลายท่านอาจจะพบว่าสามารถเป็นคนรวยแบบจนจนได้อย่างมีความสุข เพราะความจน ความรวยในทรัพย์สินเงินทองอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในชีวิตเสมอไป เรารวยกันได้ทั่วหน้า รวยตามอัตภาพ ตามสิ่งแวดล้อม รวยในแบบของเรา รวยแบบไม่มีใครเหมือน และไม่ต้องรวยเหมือนใคร
ความรวยจริงๆ จากข้างใน ในแบบของเรา จะสร้างความสง่างาม สร้างคุณค่าในชีวิตได้ จนราศี รัศมีแห่งความรวยแข่งเปล่งประกาย ฉายแววให้ผู้คนรอบตัวได้แปลกใจเป็นแน่แท้ส่วนคนรวยที่เหลิงในความรวย ทั้งไม่รู้จักพอ และใช้เงินใช้ทองไม่เป็นประโยชน์ เขาต้องทุกข์ระทม หน้าชื่นอกตรม อาจจะนั่งยิ้มหวานอยู่ในรถหรูหราราคาแพง ทั้งที่ในใจร้อนรุ่ม กระวนกระวาย ไม่สงบ น่าจะต้องลองถามหาความต้องการที่แท้จริงตามธรรมชาติดู แล้วคำนวณจุดสมดุลที่จะปรับจูน ชีวิตให้มีค่า มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมดูบ้าง เพื่อจะพบว่าการหยุดวิ่ง หยุดความวุ่นวาย หยุดความร้อนรนในชีวิตทำได้ง่ายกว่าที่คิด ไม่ต้องเสียเงินเสียทองมากมายไปจ้างใครต่อใครให้มาช่วยเรา
ลองเป็นคนจนแบบรวยรวยดูค่ะ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ 15 วิธี
วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ 15 วิธี
เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ
ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ฟยวนี้
2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล
แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน
3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )
4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด
อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ
ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ
5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี
6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน
พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก
7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ
ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต
8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม
ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ
9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ
10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ
11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล
ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้
12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)
ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ
13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)
14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่
15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ
วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ 15 วิธี
ขอบคุณ www.boardja.com
เงินแต่ละบาท กว่าจะหามาได้ ปาดเหงื่อไม่รู้กี่รอบ
ได้มาแล้ว ต้องเก็บรักษาให้อยู่กับเรานาน เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
1. เริ่มเก็บเงินวันนี้
อ่านหน้านี้จบ เดินไปหยอดกระปุกเลย
แค 10 บาท ก็ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่ที่สำคัญ เริ่มเสียแต่เดี๋ฟยวนี้
2. เงินออม = บิล รักษาวินัย
เอาเงินเข้าบัญชีเงินออม เหมือนเวลาที่คุณต้องไปจ่ายบิล
แค่นี้ คุณก็จะมีเงินออมเข้าทุกเดือน
3. หากล่องออมสิน ซองใส่เงิน กระเป๋าเศษตังค์
แล้วหยอดเงินจำนวนเท่าเดิม เป็นเวลาเท่าๆกันทุกวัน
เช่น 10 บาท ทุกๆวัน หรือ ทุกๆวันเสาร์ และอย่าไปนับ อย่าไปใช้
(แนะให้เป็น กระปุกออมสินแบบ ไม่มีรูแงะ จะดีที่สุด )
4. ตกเย็นกลับถึงบ้าน เทกระเป๋า
เทเอาเศษเหรียญลงในกระปุกให้หมด
อย่าดูถูกเหรียญบาท เพราะ 100 เหรียญ
ก็เท่ากับ แบงก์ ร้อย หนึ่งใบนะ
5. ใช้ การ์ด แคชแบ็ค
ใช้บัตรเครดิตแล้ได้เงินคืนบ้างก็ยังดี
6. เก็บแบงค์ใหญ่ไว้ให้ติดกระเป๋า
จ่ายแบงค์ย่อยๆให้หมดก่อน
พอจบวัน เก็บแบงค์ที่เหลือลงกระปุก
7. จ่ายหนี้ให้หมด
นี่คือหน้าที่สำคัญที่คุณต้องทำให้เสร็จ
ถ้าคิดจะร่ำรวยในอนาคต
8. ถ้าเปลี่ยนโปรโมชั่นมือถือใหม่
ให้ได้ราคาดีกว่าเดิม หรือถูกกว่าเดิม
ให้เก็บเงินที่เป็นส่วนต่างเข้าบัญชีเงินเก็บ
9. ใช้บัตรห้างสรรพสินค้า ลดราคา
ถึงจะแค่ 5% แต่ก็เงินนะจ๊ะ
10. เก็บเงินคืนจากหักภาษี
พอได้คืน อย่าเอาไปใช้ เอาเข้าบัญชีเงินออมซะ
11. ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
ลองดูรายการแลกของรางวัล
ที่แลกเป็นบัตรเงินสดได้
12. เวลาที่คุณคืนหนังสือ หรือหนังเช่าตรงเวลา
ให้เก็บค่าปรับที่เราต้องจ่าย (ในกรณีคืนช้า)
ให้ตัวเอง ดีกว่าแบ่งให้คนอื่นรวยนะ
13. แบ่งเงินไปลงทุน ในกองทุนรวม หรือซื้อหุ้นบ้าง
(การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณ)
14. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ดอกเบี้ยดีๆ เก็บไว้ใช้ยามแก่
15. เก็บเงินเพื่อครอบครัว
คุณจะได้รู้สึกว่า มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อเก็บได้ถึงเป้า ก็แบ่งเงินส่วนหนึ่ง
พาที่บ้านไปเที่ยวบ้าง แต่ไม่ต้องแพงนะ
วิธีเก็บเงินแบบง่ายๆ 15 วิธี
ขอบคุณ www.boardja.com
ช่วยเงินทำงาน 9 เรื่องรวย
9 เรื่องรวย ช่วยเงินทำงาน
1. ตั้งเป้าหมายการเก็บเงิน ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ เงินทองซื้อหาได้ และเป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป้าหมายจะเป็นสิ่งล่อใจให้คุณมีความมุมานะ และยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน แม้ในที่สุดแล้ว คุณจะมาได้แค่ครึ่งทาง แต่ก็ยังดีกว่าเก็บเงินแบบสะเปะสะปะ
2. วางแผนการเก็บเงินแบบช่วงสั้น และช่วงยาว แผนระยะสั้น เป็นเหมือนเส้นประที่ต่อเนื่องสู่เป้าหมายระยะยาว ข้อดีของการแบ่งแผนเป็นช่วงสั้นๆ คือทำให้คุณมีกำลังใจ และสามารถเก็บคะแนนแห่งชัยชนะได้ง่าย และบ่อย จากนั้นทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
3. ใช้น้อยกว่าที่หามาได้วิธีการดีที่สุด ที่ทำให้คุณมีเงินมากกว่า การหาเงินเก่ง และใช้เก่งคือการทำรายจ่าย ให้น้อยกว่ารายได้ เพราะจะทำให้คุณมีเงินเหลือ สำหรับความฝันที่ยิ่งใหญ่ และมั่นคง
4. จดบันทึกรายจ่าย พกสมุดเล่มเล็กติดตัว แล้วจดทุกรายจ่าย แม้เพียงเฟื้องสลึงให้เป็นนิสัย แล้วคุณจะเห็นว่าคุณใช้จ่าย กับเรื่องอะไรที่ไม่จำเป็นไปมากแค่ไหน
5. เก็บเงินด้วยกรมธรรม์ ทำประกันชีวิตในแบบที่ไม่ถอน และให้ดอกเบี้ยสูง เมื่อครบกำหนดการจ่ายค่า ประกันรายปี วิธีนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณได้สะสมเงินแกมบังคับ แถมยังอุ่นใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินว่าคนที่คุณรัก จะไม่ลำบาก ข้อสำคัญ อย่าเลือกประกันที่วงเงินสูงเกินไป เอาแค่ให้คุณผ่อนจ่าย สะสมเงินแบบสบายๆ แม้เมื่อตกงาน
6. เสียน้อยดีกว่าเสียมาก การเสียน้อยคือการลดรายจ่าย ดังนั้นควรทำประกันเสริม แบบคุ้มครองรายปี จากประกันชีวิตตัวหลัก เช่น ซื้อประกันคุ้มครองมะเร็งที่มีค่าเบี้ยแค่วันละ 30 บาท แต่ออกค่ารักษาให้ หลายหลักแสน ซื้อประกันค่ารักษาพยาบาลที่ช่วยออกค่าห้องในโรงพยาบาลวันละเป็นพัน หรือประกันภัยโปรแกรมที่ช่วยจ่ายค่าชดเชยรายได้
7. ลงทุนแบบไม่เดือดร้อน การลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ดังนั้นคุณจึงควรเลือกเวลา ที่เหมาะสมนั่นคือ เริ่มปันเงินมาลงทุน หลังจากที่สะสมเงินเก็บได้ 6 เท่าของเงินเดือน เงินส่วนที่เกินในเวลานั้น ค่อยเอามาสร้างผลกำไรภายหลัง
8. โลภน้อย…ผลพลอยได้แน่นอนกว่า ถ้าคุณไม่มีความชำนาญในการลงทุนด้านการเงิน ควรเลือกหากำไร จากผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาจจะได้เงินเพิ่มไม่มาก แต่ก็ไม่เสียต้นทุน อย่างการซื้อพันธบัตร ที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งมีการประกันราคาชำระตามเวลาที่แน่นอน หรือการซื้อสลากออมสิน ฝากเงินกับธนาคาร ที่ไม่ทำให้ทุนหาย แถมยังมีโอกาสได้เงินปันผล และโบนัสรางวัลจากความโชคดี
9.ทำกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ ถ้าซื้อเพื่อธุรกิจ ควรเลือกสถานที่สะดวกสบาย ใกล้การคมนาคม ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว และรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการมีสาธารณูปโภคสมบูรณ์ มีระบบจัดการบำรุงดูแลที่ดี และจะดีมาก ถ้าโครงการนั้นเป็นแบบที่สร้างเสร็จแล้วขาย เพราะสามารถปล่อยเช่าได้ทันที ก่อนตัดสินใจควรคำนวณค่าเช่าให้พอดี หรือมากกว่า ค่าผ่อนส่งต่องวด ถ้าคุณกู้ธนาคาร
ช่วยเงินทำงาน 9 เรื่องรวย
1. ตั้งเป้าหมายการเก็บเงิน ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ เงินทองซื้อหาได้ และเป็นความสุขสูงสุดของชีวิต เป้าหมายจะเป็นสิ่งล่อใจให้คุณมีความมุมานะ และยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน แม้ในที่สุดแล้ว คุณจะมาได้แค่ครึ่งทาง แต่ก็ยังดีกว่าเก็บเงินแบบสะเปะสะปะ
2. วางแผนการเก็บเงินแบบช่วงสั้น และช่วงยาว แผนระยะสั้น เป็นเหมือนเส้นประที่ต่อเนื่องสู่เป้าหมายระยะยาว ข้อดีของการแบ่งแผนเป็นช่วงสั้นๆ คือทำให้คุณมีกำลังใจ และสามารถเก็บคะแนนแห่งชัยชนะได้ง่าย และบ่อย จากนั้นทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
3. ใช้น้อยกว่าที่หามาได้วิธีการดีที่สุด ที่ทำให้คุณมีเงินมากกว่า การหาเงินเก่ง และใช้เก่งคือการทำรายจ่าย ให้น้อยกว่ารายได้ เพราะจะทำให้คุณมีเงินเหลือ สำหรับความฝันที่ยิ่งใหญ่ และมั่นคง
4. จดบันทึกรายจ่าย พกสมุดเล่มเล็กติดตัว แล้วจดทุกรายจ่าย แม้เพียงเฟื้องสลึงให้เป็นนิสัย แล้วคุณจะเห็นว่าคุณใช้จ่าย กับเรื่องอะไรที่ไม่จำเป็นไปมากแค่ไหน
5. เก็บเงินด้วยกรมธรรม์ ทำประกันชีวิตในแบบที่ไม่ถอน และให้ดอกเบี้ยสูง เมื่อครบกำหนดการจ่ายค่า ประกันรายปี วิธีนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณได้สะสมเงินแกมบังคับ แถมยังอุ่นใจเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินว่าคนที่คุณรัก จะไม่ลำบาก ข้อสำคัญ อย่าเลือกประกันที่วงเงินสูงเกินไป เอาแค่ให้คุณผ่อนจ่าย สะสมเงินแบบสบายๆ แม้เมื่อตกงาน
6. เสียน้อยดีกว่าเสียมาก การเสียน้อยคือการลดรายจ่าย ดังนั้นควรทำประกันเสริม แบบคุ้มครองรายปี จากประกันชีวิตตัวหลัก เช่น ซื้อประกันคุ้มครองมะเร็งที่มีค่าเบี้ยแค่วันละ 30 บาท แต่ออกค่ารักษาให้ หลายหลักแสน ซื้อประกันค่ารักษาพยาบาลที่ช่วยออกค่าห้องในโรงพยาบาลวันละเป็นพัน หรือประกันภัยโปรแกรมที่ช่วยจ่ายค่าชดเชยรายได้
7. ลงทุนแบบไม่เดือดร้อน การลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ดังนั้นคุณจึงควรเลือกเวลา ที่เหมาะสมนั่นคือ เริ่มปันเงินมาลงทุน หลังจากที่สะสมเงินเก็บได้ 6 เท่าของเงินเดือน เงินส่วนที่เกินในเวลานั้น ค่อยเอามาสร้างผลกำไรภายหลัง
8. โลภน้อย…ผลพลอยได้แน่นอนกว่า ถ้าคุณไม่มีความชำนาญในการลงทุนด้านการเงิน ควรเลือกหากำไร จากผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาจจะได้เงินเพิ่มไม่มาก แต่ก็ไม่เสียต้นทุน อย่างการซื้อพันธบัตร ที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งมีการประกันราคาชำระตามเวลาที่แน่นอน หรือการซื้อสลากออมสิน ฝากเงินกับธนาคาร ที่ไม่ทำให้ทุนหาย แถมยังมีโอกาสได้เงินปันผล และโบนัสรางวัลจากความโชคดี
9.ทำกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ ถ้าซื้อเพื่อธุรกิจ ควรเลือกสถานที่สะดวกสบาย ใกล้การคมนาคม ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว และรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการมีสาธารณูปโภคสมบูรณ์ มีระบบจัดการบำรุงดูแลที่ดี และจะดีมาก ถ้าโครงการนั้นเป็นแบบที่สร้างเสร็จแล้วขาย เพราะสามารถปล่อยเช่าได้ทันที ก่อนตัดสินใจควรคำนวณค่าเช่าให้พอดี หรือมากกว่า ค่าผ่อนส่งต่องวด ถ้าคุณกู้ธนาคาร
ช่วยเงินทำงาน 9 เรื่องรวย
11/15/2552
ทำไมเราจึงควรลงทุน
ทำไมเราจึงควรลงทุน
การลงทุนอย่างถูกวิธีและมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้เรามี โอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและสร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วขึ้น การลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนอย่างดียังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่จะได้รับ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เงินลงทุนยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เพราะเงินส่วนนี้จะหมุนเวียนไปยังผู้ขาดแคลนเงินทุนหรือผู้ที่ต้องการเงินทุน ผ่านตัวกลางทางการเงินหลากหลายรูปแบบในระบบการเงิน ให้ได้นำไปใช้ในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจ ทั้งในรูปของเงินให้กู้หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ธุรกิจต้องการเงินทุนเพื่อการเริ่มธุรกิจ การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบ การขยายการผลิต รวมทั้งการลงทุนในโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการผลิตและการลงทุนเหล่านี้ จะก่อทำให้เกิดการจ้างแรงงาน และส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจภาคส่วนอื่นๆ การลงทุนจึงเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งของประเทศที่สำคัญอีกด้วย
ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะนี้จะทำให้เรามีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไปด้วย
การลงทุนอย่างถูกวิธีและมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้เรามี โอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและสร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วขึ้น การลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนอย่างดียังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่จะได้รับ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เงินลงทุนยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เพราะเงินส่วนนี้จะหมุนเวียนไปยังผู้ขาดแคลนเงินทุนหรือผู้ที่ต้องการเงินทุน ผ่านตัวกลางทางการเงินหลากหลายรูปแบบในระบบการเงิน ให้ได้นำไปใช้ในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจ ทั้งในรูปของเงินให้กู้หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ธุรกิจต้องการเงินทุนเพื่อการเริ่มธุรกิจ การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบ การขยายการผลิต รวมทั้งการลงทุนในโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการผลิตและการลงทุนเหล่านี้ จะก่อทำให้เกิดการจ้างแรงงาน และส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจภาคส่วนอื่นๆ การลงทุนจึงเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งของประเทศที่สำคัญอีกด้วย
ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะนี้จะทำให้เรามีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไปด้วย
ตั้งสติ เก็บสตางค์
ตั้งสติ เก็บสตางค์
เคยนึกแปลกใจไหมว่า
ทำงานมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าโรคนี้คงเป็นโรคประจำตัวของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ ท่าน คนเรามีเวลาทำงานเต็มที่ไม่น่าเกิน 40 ปี และหลังจากนั้นคงใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี คิดแค่นี้ก็หนาวแล้ว หากทำงานไปเรื่อยๆ จนเกษียณแล้วไม่มีเงินเหลือเลย จะทำอย่างไรดี คิดง่ายๆ แค่หลังเกษียณมีข้าวกินให้ครบ 3 มื้อๆ ละ 100 บาท เราก็ต้องมีเงินเก็บประมาณ 2,910,000 บาทแล้ว ถ้าไม่เริ่มเก็บตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็มีหวังอดมื้อกินมื้อแน่นอน นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยนะ
เริ่มปีใหม่เริ่มต้นด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองกันดีกว่า อันดับแรกเริ่มจากการบอกกับตัวเองว่าปีใหม่ปีนี้เราจะทำดีถวายในหลวงด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งใจทำงาน ยึดพระราชดำรัสของพระองค์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเองเรื่องการเก็บออมอย่างมีวินัยและใช้จ่ายอย่างพอเพียง จะเริ่มอย่างไรดี
1. ต้องเก็บก่อนใช้ สร้างวินัยการออมให้ตัวเองก่อน ยึดหลักเก็บก่อนมีเงินก่อน อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น เงินเดือนแค่นี้จะเก็บได้อย่างไร แค่กินยังไม่อยากจะพอ ท่องไว้เลยว่า ถ้าเรา คิดจะเก็บเราต้องเก็บได้ มนุษย์เป็นไปตามความคิด ว่าแล้วเดือนนี้เงินเดือนออกมาปุ๊บเก็บปั๊บ เก็บก่อนใช้จะเก็บได้ อย่าลืมไปเปิดบัญชีฝากประจำชนิดที่ไม่ต้องเสียภาษีระยะเวลา 2 ปี ฝากเท่าๆ กันทุกเดือน (ตั้งแต่ 1,000 ถึงสูงสุด….ต่อเดือน) และที่สำคัญ บัญชีที่จะเก็บเงินต้องไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ใจต้องเข้มแข็งไว้เราจึงจะเก็บเงินได้ นึกถึงช่วงที่ไม่มีเงินหน้าจะแห้งท้องจะหิว เพื่อนฝูงก็เมิน
2. ต้องมีกติกาในการใช้บัตรเครดิตและใช้อย่างชาญฉลาด พกทีละใบใช้ทีละใบ อย่าลืมว่าการใช้บัตรเครดิตคือ การใช้เงินอนาคต ส่วนมากคนที่รูดบัตรเครดิตอย่างไม่คิดชีวิตจะมีอายุประมาณ 20 กว่าๆ และชอบชำระขั้นต่ำทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กำหนดวงเงินในการใช้บัตรเครดิตแต่ละเดือนเมื่อรวมกับการใช้จ่ายทั่วไปไม่ควรเกินวงเงินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จะได้ไม่มีปัญหาในเดือนถัดไป เมื่อใช้บัตรแล้วทุกเดือนควรชำระให้เต็มตามยอดหนี้และชำระให้ตรงตามระยะเวลาจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่
3. กำหนดกติกาในการเดินห้างสรรพสินค้า ต้องยอมรับว่าในห้างสรรพสินค้ามีสิ่งล่อตาล่อใจค่อนข้างมากแม้เราจะตั้งใจมั่นอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้าย ก็พ่ายแพ้กิเลส เพราะฉะนั้นอาจสร้างกติกากับตัวเองในการเดินห้างสรรพสินค้าเดือนละครั้ง เพื่อไปเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่ก็ควรเตือนตัวเองด้วยว่าอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ หากจำเป็นต้องซื้อของใช้ในบ้านก็ควรจดรายการไปให้เรียบร้อย
4. เริ่มจดบัญชีรายรับ-รายการใช้จ่าย การจดรายการใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้อะไรไม่ควรใช้ เริ่มปีใหม่เริ่มทำเลย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายและรู้สถานะการเงินของเราตลอดเวลา แบ่งเป็นช่องรายรับ และรายจ่ายจะได้รู้ว่าตอนนี้ติดลบแล้วหรือยัง นอกจากนั้น จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ด้วย
5. นึกถึงชีวิตยามเกษียณไว้เสมอ วันเวลาไม่เคยคอยใครเคลื่อนไปทุกวันเผลอแป๊บเดียวอายุเข้าหลักสี่แล้ว เหลียวมองเงินที่เก็บยังไม่พอกินข้าว 3 มื้อหลังเกษียณเลย อย่าให้เป็นเช่นนั้น ต้องตระหนักถึงชีวิตหลังเกษียณไว้เสมอเราต้องมีชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย เพราะฉะนั้น เริ่มเก็บตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนักยามอายุมาก
เปลี่ยนความคิดเป็นความตั้งใจ เปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเก็บออมอย่างเป็นระบบ ทบทวนชีวิตในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดีก็ทำต่อไป อะไรที่ไม่ดี ลด ละ เลิก ปีนี้เริ่มต้นกันใหม่ทำสิ่งดีๆ เพื่อตนเอง เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยเพื่อชีวิตที่ผาสุกในอนาคต ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
เคยนึกแปลกใจไหมว่า
ทำงานมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าโรคนี้คงเป็นโรคประจำตัวของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ ท่าน คนเรามีเวลาทำงานเต็มที่ไม่น่าเกิน 40 ปี และหลังจากนั้นคงใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี คิดแค่นี้ก็หนาวแล้ว หากทำงานไปเรื่อยๆ จนเกษียณแล้วไม่มีเงินเหลือเลย จะทำอย่างไรดี คิดง่ายๆ แค่หลังเกษียณมีข้าวกินให้ครบ 3 มื้อๆ ละ 100 บาท เราก็ต้องมีเงินเก็บประมาณ 2,910,000 บาทแล้ว ถ้าไม่เริ่มเก็บตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็มีหวังอดมื้อกินมื้อแน่นอน นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยนะ
เริ่มปีใหม่เริ่มต้นด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองกันดีกว่า อันดับแรกเริ่มจากการบอกกับตัวเองว่าปีใหม่ปีนี้เราจะทำดีถวายในหลวงด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งใจทำงาน ยึดพระราชดำรัสของพระองค์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเองเรื่องการเก็บออมอย่างมีวินัยและใช้จ่ายอย่างพอเพียง จะเริ่มอย่างไรดี
1. ต้องเก็บก่อนใช้ สร้างวินัยการออมให้ตัวเองก่อน ยึดหลักเก็บก่อนมีเงินก่อน อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น เงินเดือนแค่นี้จะเก็บได้อย่างไร แค่กินยังไม่อยากจะพอ ท่องไว้เลยว่า ถ้าเรา คิดจะเก็บเราต้องเก็บได้ มนุษย์เป็นไปตามความคิด ว่าแล้วเดือนนี้เงินเดือนออกมาปุ๊บเก็บปั๊บ เก็บก่อนใช้จะเก็บได้ อย่าลืมไปเปิดบัญชีฝากประจำชนิดที่ไม่ต้องเสียภาษีระยะเวลา 2 ปี ฝากเท่าๆ กันทุกเดือน (ตั้งแต่ 1,000 ถึงสูงสุด….ต่อเดือน) และที่สำคัญ บัญชีที่จะเก็บเงินต้องไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ใจต้องเข้มแข็งไว้เราจึงจะเก็บเงินได้ นึกถึงช่วงที่ไม่มีเงินหน้าจะแห้งท้องจะหิว เพื่อนฝูงก็เมิน
2. ต้องมีกติกาในการใช้บัตรเครดิตและใช้อย่างชาญฉลาด พกทีละใบใช้ทีละใบ อย่าลืมว่าการใช้บัตรเครดิตคือ การใช้เงินอนาคต ส่วนมากคนที่รูดบัตรเครดิตอย่างไม่คิดชีวิตจะมีอายุประมาณ 20 กว่าๆ และชอบชำระขั้นต่ำทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กำหนดวงเงินในการใช้บัตรเครดิตแต่ละเดือนเมื่อรวมกับการใช้จ่ายทั่วไปไม่ควรเกินวงเงินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จะได้ไม่มีปัญหาในเดือนถัดไป เมื่อใช้บัตรแล้วทุกเดือนควรชำระให้เต็มตามยอดหนี้และชำระให้ตรงตามระยะเวลาจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่
3. กำหนดกติกาในการเดินห้างสรรพสินค้า ต้องยอมรับว่าในห้างสรรพสินค้ามีสิ่งล่อตาล่อใจค่อนข้างมากแม้เราจะตั้งใจมั่นอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้าย ก็พ่ายแพ้กิเลส เพราะฉะนั้นอาจสร้างกติกากับตัวเองในการเดินห้างสรรพสินค้าเดือนละครั้ง เพื่อไปเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่ก็ควรเตือนตัวเองด้วยว่าอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ หากจำเป็นต้องซื้อของใช้ในบ้านก็ควรจดรายการไปให้เรียบร้อย
4. เริ่มจดบัญชีรายรับ-รายการใช้จ่าย การจดรายการใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้อะไรไม่ควรใช้ เริ่มปีใหม่เริ่มทำเลย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายและรู้สถานะการเงินของเราตลอดเวลา แบ่งเป็นช่องรายรับ และรายจ่ายจะได้รู้ว่าตอนนี้ติดลบแล้วหรือยัง นอกจากนั้น จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ด้วย
5. นึกถึงชีวิตยามเกษียณไว้เสมอ วันเวลาไม่เคยคอยใครเคลื่อนไปทุกวันเผลอแป๊บเดียวอายุเข้าหลักสี่แล้ว เหลียวมองเงินที่เก็บยังไม่พอกินข้าว 3 มื้อหลังเกษียณเลย อย่าให้เป็นเช่นนั้น ต้องตระหนักถึงชีวิตหลังเกษียณไว้เสมอเราต้องมีชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย เพราะฉะนั้น เริ่มเก็บตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนักยามอายุมาก
เปลี่ยนความคิดเป็นความตั้งใจ เปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเก็บออมอย่างเป็นระบบ ทบทวนชีวิตในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดีก็ทำต่อไป อะไรที่ไม่ดี ลด ละ เลิก ปีนี้เริ่มต้นกันใหม่ทำสิ่งดีๆ เพื่อตนเอง เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยเพื่อชีวิตที่ผาสุกในอนาคต ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
เงินออมคุณจะหมดก่อนตาย หรือไม่
เงินออมคุณจะหมดก่อนตาย หรือไม่
นอกจากความเพียงพอของเงินออมเพื่อชีวิตหลังเกษียณแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่ผู้ลงทุนต้องคิดคำนึงถึงคือ เงินออมของคุณจะหมดก่อนคุณตายหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายเงินของตัวเองหลังเกษียณหรือกำหนดกลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนของตัวเองได้อย่างเหมาะสม
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : “ธีระ ภู่ตระกูล” ประธานกรรมการ บลจ.ฟินันซ่า บอกว่า มีการศึกษาพบว่าหากอัตราการถอนเงินมาใช้ต่อปีของคุณอยู่ที่ 4% เงินออมคุณจะหมดภายในระยะเวลา 26 ปี แต่ถ้าถอนมาใช้ที่อัตรา 5% เงินคุณจะหมดใน 20 ปี ถอนอัตรา 6% เงินจะหมดในเวลา 17 ปี ถอนอัตรา 7% เงินจะหมดใน 14 ปี ถอนอัตรา 8% เงินจะหมดในเวลา 12 ปี ถอนอัตรา 9% เงินจะหมดในเวลา 11 ปี และถ้าถอนมาใช้ที่อัตรา 10% เงินคุณจะหมดในเวลา 10 ปี
“การกำหนดกลยุทธ์การลงทุนแต่ละแบบ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนปีที่เงินจะหมดไปในอัตราการถอนมาใช้ที่ 5% ต่อปี ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน”
จากการศึกษาพบว่าพอร์ต Aggressive ที่ลงทุนในหุ้น 100% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดไปในเวลา 33 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีเงินจะหมดไปในเวลา 15 ปี ,พอร์ต High Growth ที่ลงทุนในหุ้น 85% และตราสารหนี้ 15% ในช่วงตลาดปกติจะใช้เงินหมดในเวลา 35 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 17 ปี
พอร์ต Growth ลงทุนในหุ้น 70% ตราสารหนี้ 25% เงินสด 5% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 34 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีจะหมดไปในเวลา 18 ปี ,พอร์ต Balanced ลงทุนในหุ้น 50% ตราสารหนี้ 40% และเงินสด 10% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 33 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีเงินจะหมดในเวลา 20 ปี
พอร์ต Conservative ลงทุนในหุ้น 20% ตราสารหนี้ 50% และเงินสด 10% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 28 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 23 ปี และพอร์ต All Cash ที่ลงทุนในเงินสด 100% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดไปในเวลา 22 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 21 ปี
นี่คืออีกปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรจะต้องพิจารณาประกอบการจัดสรรเงินลงทุนของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์การออมเพื่อเกษียณของตัวคุณเอง
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/07/news_316743.php
นอกจากความเพียงพอของเงินออมเพื่อชีวิตหลังเกษียณแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่ผู้ลงทุนต้องคิดคำนึงถึงคือ เงินออมของคุณจะหมดก่อนคุณตายหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายเงินของตัวเองหลังเกษียณหรือกำหนดกลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนของตัวเองได้อย่างเหมาะสม
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : “ธีระ ภู่ตระกูล” ประธานกรรมการ บลจ.ฟินันซ่า บอกว่า มีการศึกษาพบว่าหากอัตราการถอนเงินมาใช้ต่อปีของคุณอยู่ที่ 4% เงินออมคุณจะหมดภายในระยะเวลา 26 ปี แต่ถ้าถอนมาใช้ที่อัตรา 5% เงินคุณจะหมดใน 20 ปี ถอนอัตรา 6% เงินจะหมดในเวลา 17 ปี ถอนอัตรา 7% เงินจะหมดใน 14 ปี ถอนอัตรา 8% เงินจะหมดในเวลา 12 ปี ถอนอัตรา 9% เงินจะหมดในเวลา 11 ปี และถ้าถอนมาใช้ที่อัตรา 10% เงินคุณจะหมดในเวลา 10 ปี
“การกำหนดกลยุทธ์การลงทุนแต่ละแบบ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนปีที่เงินจะหมดไปในอัตราการถอนมาใช้ที่ 5% ต่อปี ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน”
จากการศึกษาพบว่าพอร์ต Aggressive ที่ลงทุนในหุ้น 100% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดไปในเวลา 33 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีเงินจะหมดไปในเวลา 15 ปี ,พอร์ต High Growth ที่ลงทุนในหุ้น 85% และตราสารหนี้ 15% ในช่วงตลาดปกติจะใช้เงินหมดในเวลา 35 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 17 ปี
พอร์ต Growth ลงทุนในหุ้น 70% ตราสารหนี้ 25% เงินสด 5% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 34 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีจะหมดไปในเวลา 18 ปี ,พอร์ต Balanced ลงทุนในหุ้น 50% ตราสารหนี้ 40% และเงินสด 10% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 33 ปี แต่ช่วงตลาดไม่ดีเงินจะหมดในเวลา 20 ปี
พอร์ต Conservative ลงทุนในหุ้น 20% ตราสารหนี้ 50% และเงินสด 10% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดในเวลา 28 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 23 ปี และพอร์ต All Cash ที่ลงทุนในเงินสด 100% ในช่วงตลาดปกติเงินจะหมดไปในเวลา 22 ปี แต่ในช่วงตลาดไม่ดีจะหมดในเวลา 21 ปี
นี่คืออีกปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรจะต้องพิจารณาประกอบการจัดสรรเงินลงทุนของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์การออมเพื่อเกษียณของตัวคุณเอง
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/07/news_316743.php
ฟรีแลนซ์..รายได้ดีแต่ไม่มีเงินเก็บ
ฟรีแลนซ์..รายได้ดีแต่ไม่มีเงินเก็บ
การทำงานฟรีแลนซ์ คุณต้องรู้ว่าในแต่ละเดือน คุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อดูว่าเงินที่หามาได้ในแต่ละเดือนรั่วไหลออกไปทางไหนหมด ต้องมีการบันทึกค่าใข้จ่ายทุกๆเดือน
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : Q.....ดิฉันเป็นฟรีแลนซ์คนหนึ่งค่ะที่ติดตามคอลัมน์ Money Clinic เป็นช่างแต่งหน้าของสถานีโทรทัศน์ข่าวแห่งหนึ่ง ปัญหาคือพอเป็นฟรีแลนซ์ เก็บสตางค์ไม่ค่อยได้เลยค่ะ ที่จริงบอกได้เลยว่าเป็นคนที่มีรายได้ดีพอสมควร เพราะแต่ละเดือนมีรายได้ขาจรเข้ามาเยอะค่ะ ประมาณว่าไปแต่งหน้านอกสถานที่ เดือนหนึ่งอย่างไม่ได้ก็น่าจะมีถึง 4 หมื่นบาทค่ะเดือนหนึ่งมีภาระผ่อนบ้าน 12,000 บาท ผ่อนรถ 9,800 บาท ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะ แต่ตอนนี้อายุ 38 แล้วค่ะ ยังไม่มีเงินเก็บเป็นชิ้นเป็นอัน ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ
A......คุณสรัญญาทำงานอิสระหรือที่เรียกว่าเป็นฟรีแลนซ์ มีปัญหาว่าเก็บเงินไม่ได้ เพราะรายได้ถึงแม้จะดีพอสมควร แต่ไม่รู้ว่าเงินหายไปไหนหมด ดูเหมือนยิ่งหาเงินได้มากเท่าไรก็ยิ่งจ่ายออกไปมากเท่านั้น รวมทั้งไม่รู้จะเก็บเงินอย่างไรดี เพราะรายได้เข้ามาไม่เท่ากันในแต่ละเดือน
ถึงแม้จะไม่รู้ว่ารายได้มีเข้ามาเท่าไรในแต่ละเดือน
แต่สิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือว่าในแต่ละเดือน คุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อดูว่าเงินที่หามาได้ค่อนข้างมากพอสมควร ในแต่ละเดือนได้รั่วไหลออกไปทางไหนหมด ก็ต้องเริ่มต้นจดบันทึกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในแต่ละเดือน นอกจากค่าผ่อนบ้านและผ่อนรถ มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอะไรอีกบ้าง เดือนละเท่าไร จดบันทึกสัก 3 เดือน แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย อาจจะดูว่ายุ่งยาก ขี้เกียจจดบ้างล่ะ ลืมบ้างล่ะ แต่เป็นวิธีเดียวที่คุณจะรู้ว่าคุณมีลักษณะการใช้เงินอย่างไร และช่วยในการจัดการการเงินที่เข้ามาไม่แน่นอนในแต่ละเดือน สมมติว่าหลังจากจดและนำไปหาค่าเฉลี่ยคุณมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 5 หมื่นบาท พักตรงนี้ไว้ก่อน
ต่อมาก็ไปดูที่รายได้ คุณบอกว่าอย่างต่ำคุณมีรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท แต่บางทีส่วนใหญ่จะได้มากกว่านั้น วิธีการจัดการเรื่องเงินของผู้ทำงานอิสระเช่นคุณสรัญญาก็คือ
เปิดบัญชีที่ 1 เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายประจำเดือน คุณจะมีเงินอยู่ในนั้นเดือนละเท่ากับค่าใช้จ่ายต่อเดือน แล้วจำกัดค่าใช้จ่ายของคุณให้อยู่ที่เดือนละ 5 หมื่นบาท ถ้าเดือนนี้คุณมีรายได้เข้ามามากกว่า 5 หมื่นบาท ส่วนที่เกินจาก 5 หมื่นบาท คุณจะนำเข้าบัญชีที่ 2 เป็นบัญชีเงินเก็บที่ต่างหากจากบัญชีค่าใช้จ่ายปกติ แต่ถ้าเดือนไหนงานน้อย รายได้ของเดือนนั้นต่ำกว่าเดือนละ 5 หมื่นบาท เช่นเดือนนั้นรายได้เหลือ 4 หมื่นบาท คุณก็นำเงินออกจากบัญชีที่ 2 จำนวน 1 หมื่นบาทไปใส่บัญชีที่ 1 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน ทำอย่างนี้เป็นประจำ สักพักหนึ่งคุณก็จะพบว่าคุณเริ่มมีเงินเก็บในบัญชีที่ 2 ของคุณมากขึ้นเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนค่ะ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของผู้ที่ทำงานอิสระคือ คุณจะไม่มีสวัสดิการหรือหลักประกันอะไรจากนายจ้างเลย ดังนั้นอย่าลืมบัญชีที่ 3 คือบัญชีเงินสดสำรองฉุกเฉิน อันนี้สำคัญมาก คุณควรจะมีเงินในบัญชีนี้เท่ากับอย่างต่ำ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน เพราะถ้าเกิดเหตุอันไม่คาดคิดอะไรขึ้นมา เช่นเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุที่ทำงานไม่ได้ คุณต้องขาดรายได้เป็นช่วงเวลาหนึ่งๆ แต่ยังมีรายจ่ายเดือนละ 5 หมื่นอยู่เท่าเดิม คุณก็สามารถนำเงินจากบัญชีเงินสดสำรองนี้ออกมาใช้จ่ายได้ โดยที่เงินเก็บระยะยาวในบัญชีที่ 2 ของคุณไม่ต้องถูกกระทบ
หลังจากคุณจัดระบบตรงนี้ได้ลงตัวไปได้สักพักแล้ว คุณอาจจะกลับไปดูบัญชีค่าใช้จ่ายของคุณว่ามีรายการไหนที่สามารถตัดลงไปต่ำกว่านี้หรือไม่ หรือว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายของคุณต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะคุณลืมรายการบางรายการที่ต้องจ่ายเป็นรายปี เช่น ค่าประกันรถ หรือค่าซ่อมรถ ซ่อมบ้าน เป็นต้น คุณก็สามารถปรับให้เหมาะสมกับความเป็นจริงให้มากที่สุด และใช้จ่ายให้อยู่แต่เฉพาะในวงเงินนี้เท่านั้น แล้วนอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นเงินเก็บของคุณในระยะยาวต่อไปค่ะ
Money Clinic : ญาณินี ทองประเสริฐ yanini_t@yahoo.com
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
การทำงานฟรีแลนซ์ คุณต้องรู้ว่าในแต่ละเดือน คุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อดูว่าเงินที่หามาได้ในแต่ละเดือนรั่วไหลออกไปทางไหนหมด ต้องมีการบันทึกค่าใข้จ่ายทุกๆเดือน
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : Q.....ดิฉันเป็นฟรีแลนซ์คนหนึ่งค่ะที่ติดตามคอลัมน์ Money Clinic เป็นช่างแต่งหน้าของสถานีโทรทัศน์ข่าวแห่งหนึ่ง ปัญหาคือพอเป็นฟรีแลนซ์ เก็บสตางค์ไม่ค่อยได้เลยค่ะ ที่จริงบอกได้เลยว่าเป็นคนที่มีรายได้ดีพอสมควร เพราะแต่ละเดือนมีรายได้ขาจรเข้ามาเยอะค่ะ ประมาณว่าไปแต่งหน้านอกสถานที่ เดือนหนึ่งอย่างไม่ได้ก็น่าจะมีถึง 4 หมื่นบาทค่ะเดือนหนึ่งมีภาระผ่อนบ้าน 12,000 บาท ผ่อนรถ 9,800 บาท ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะ แต่ตอนนี้อายุ 38 แล้วค่ะ ยังไม่มีเงินเก็บเป็นชิ้นเป็นอัน ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ
A......คุณสรัญญาทำงานอิสระหรือที่เรียกว่าเป็นฟรีแลนซ์ มีปัญหาว่าเก็บเงินไม่ได้ เพราะรายได้ถึงแม้จะดีพอสมควร แต่ไม่รู้ว่าเงินหายไปไหนหมด ดูเหมือนยิ่งหาเงินได้มากเท่าไรก็ยิ่งจ่ายออกไปมากเท่านั้น รวมทั้งไม่รู้จะเก็บเงินอย่างไรดี เพราะรายได้เข้ามาไม่เท่ากันในแต่ละเดือน
ถึงแม้จะไม่รู้ว่ารายได้มีเข้ามาเท่าไรในแต่ละเดือน
แต่สิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือว่าในแต่ละเดือน คุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อดูว่าเงินที่หามาได้ค่อนข้างมากพอสมควร ในแต่ละเดือนได้รั่วไหลออกไปทางไหนหมด ก็ต้องเริ่มต้นจดบันทึกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในแต่ละเดือน นอกจากค่าผ่อนบ้านและผ่อนรถ มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอะไรอีกบ้าง เดือนละเท่าไร จดบันทึกสัก 3 เดือน แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย อาจจะดูว่ายุ่งยาก ขี้เกียจจดบ้างล่ะ ลืมบ้างล่ะ แต่เป็นวิธีเดียวที่คุณจะรู้ว่าคุณมีลักษณะการใช้เงินอย่างไร และช่วยในการจัดการการเงินที่เข้ามาไม่แน่นอนในแต่ละเดือน สมมติว่าหลังจากจดและนำไปหาค่าเฉลี่ยคุณมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 5 หมื่นบาท พักตรงนี้ไว้ก่อน
ต่อมาก็ไปดูที่รายได้ คุณบอกว่าอย่างต่ำคุณมีรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท แต่บางทีส่วนใหญ่จะได้มากกว่านั้น วิธีการจัดการเรื่องเงินของผู้ทำงานอิสระเช่นคุณสรัญญาก็คือ
เปิดบัญชีที่ 1 เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายประจำเดือน คุณจะมีเงินอยู่ในนั้นเดือนละเท่ากับค่าใช้จ่ายต่อเดือน แล้วจำกัดค่าใช้จ่ายของคุณให้อยู่ที่เดือนละ 5 หมื่นบาท ถ้าเดือนนี้คุณมีรายได้เข้ามามากกว่า 5 หมื่นบาท ส่วนที่เกินจาก 5 หมื่นบาท คุณจะนำเข้าบัญชีที่ 2 เป็นบัญชีเงินเก็บที่ต่างหากจากบัญชีค่าใช้จ่ายปกติ แต่ถ้าเดือนไหนงานน้อย รายได้ของเดือนนั้นต่ำกว่าเดือนละ 5 หมื่นบาท เช่นเดือนนั้นรายได้เหลือ 4 หมื่นบาท คุณก็นำเงินออกจากบัญชีที่ 2 จำนวน 1 หมื่นบาทไปใส่บัญชีที่ 1 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน ทำอย่างนี้เป็นประจำ สักพักหนึ่งคุณก็จะพบว่าคุณเริ่มมีเงินเก็บในบัญชีที่ 2 ของคุณมากขึ้นเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนค่ะ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของผู้ที่ทำงานอิสระคือ คุณจะไม่มีสวัสดิการหรือหลักประกันอะไรจากนายจ้างเลย ดังนั้นอย่าลืมบัญชีที่ 3 คือบัญชีเงินสดสำรองฉุกเฉิน อันนี้สำคัญมาก คุณควรจะมีเงินในบัญชีนี้เท่ากับอย่างต่ำ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน เพราะถ้าเกิดเหตุอันไม่คาดคิดอะไรขึ้นมา เช่นเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุที่ทำงานไม่ได้ คุณต้องขาดรายได้เป็นช่วงเวลาหนึ่งๆ แต่ยังมีรายจ่ายเดือนละ 5 หมื่นอยู่เท่าเดิม คุณก็สามารถนำเงินจากบัญชีเงินสดสำรองนี้ออกมาใช้จ่ายได้ โดยที่เงินเก็บระยะยาวในบัญชีที่ 2 ของคุณไม่ต้องถูกกระทบ
หลังจากคุณจัดระบบตรงนี้ได้ลงตัวไปได้สักพักแล้ว คุณอาจจะกลับไปดูบัญชีค่าใช้จ่ายของคุณว่ามีรายการไหนที่สามารถตัดลงไปต่ำกว่านี้หรือไม่ หรือว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายของคุณต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะคุณลืมรายการบางรายการที่ต้องจ่ายเป็นรายปี เช่น ค่าประกันรถ หรือค่าซ่อมรถ ซ่อมบ้าน เป็นต้น คุณก็สามารถปรับให้เหมาะสมกับความเป็นจริงให้มากที่สุด และใช้จ่ายให้อยู่แต่เฉพาะในวงเงินนี้เท่านั้น แล้วนอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นเงินเก็บของคุณในระยะยาวต่อไปค่ะ
Money Clinic : ญาณินี ทองประเสริฐ yanini_t@yahoo.com
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
นครหลวงไทยออกเงินฝากบุฟเฟต์ ให้ดอกสูง
เก็บข่าวมาฝากคะ ธนาคารนครหลวงไทยออกเงินฝากบุฟเฟต์ ให้ดอกสูงน่าสนสำหรับคนชอบออม
นครหลวงไทยออกเงินฝากบุฟเฟต์ ให้ดอกสูง
แบงก์นครหลวงไทยออกโปรดักท์ใหม่ ให้บริการ "เงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ ปี 2552" ดอกเบี้ยสูง-ลุ้นรับโชคใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 10.5 ล้านบาท
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารเปิดให้บริการ "เงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ ปี 2552" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเงินฝากออมทรัพย์แบบพิเศษสำหรับบุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป และทำบัตร SCIB D-Card จะรับสิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ การรับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีก 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ และการรับสิทธิ์ในการจับรางวัลรายเดือน เดือนละ 33 รางวัล รวม 396 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 10.5 ล้านบาท
สำหรับรางวัลที่มอบให้กับผู้ฝากเงิน ได้แก่ รถยนต์ TOYOTA VIOS เดือนละ 1 คัน รวม 12 รางวัล รถจักรยานยนต์ YAMAHA FINO เดือนละ 2 คัน รวม 24 รางวัล โทรทัศน์สี LCD 26" เดือนละ 10 รางวัล รวม 120 รางวัล และสร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง เดือนละ 20 รางวัล รวม 240 รางวัล โดยผู้ฝากเงินทุก 5,000 บาท จะได้รับ 1 สิทธิ์ในการจับรางวัล สูงสุด 100 สิทธิ์ ต่อรายลูกค้า และผู้ฝากจะต้องรักษายอดเงินคงเหลือในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตลอดระยะเวลา 1 เดือนปฏิทิน โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่าจะสามารถระดมเงินฝากในโครงการดังกล่าวเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 16,000 ล้านบาท และขยายฐานลูกค้ารายย่อยเพิ่มอีกประมาณ 90,000 ราย รวมเป็น 360,000 ราย รวมทั้งการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมจากการให้บริการบัตร SCIB D-Card ประมาณ 80 ล้านบาท โดยธนาคารเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับโครงการเงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากเป็นบัญชีเงินฝากที่ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมมากกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป โดยธนาคารจะเริ่มจับรางวัลให้กับผู้โชคดีในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นครั้งแรก
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นครหลวงไทยออกเงินฝากบุฟเฟต์ ให้ดอกสูง
แบงก์นครหลวงไทยออกโปรดักท์ใหม่ ให้บริการ "เงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ ปี 2552" ดอกเบี้ยสูง-ลุ้นรับโชคใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 10.5 ล้านบาท
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารเปิดให้บริการ "เงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ ปี 2552" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเงินฝากออมทรัพย์แบบพิเศษสำหรับบุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป และทำบัตร SCIB D-Card จะรับสิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ การรับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีก 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ และการรับสิทธิ์ในการจับรางวัลรายเดือน เดือนละ 33 รางวัล รวม 396 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 10.5 ล้านบาท
สำหรับรางวัลที่มอบให้กับผู้ฝากเงิน ได้แก่ รถยนต์ TOYOTA VIOS เดือนละ 1 คัน รวม 12 รางวัล รถจักรยานยนต์ YAMAHA FINO เดือนละ 2 คัน รวม 24 รางวัล โทรทัศน์สี LCD 26" เดือนละ 10 รางวัล รวม 120 รางวัล และสร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง เดือนละ 20 รางวัล รวม 240 รางวัล โดยผู้ฝากเงินทุก 5,000 บาท จะได้รับ 1 สิทธิ์ในการจับรางวัล สูงสุด 100 สิทธิ์ ต่อรายลูกค้า และผู้ฝากจะต้องรักษายอดเงินคงเหลือในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตลอดระยะเวลา 1 เดือนปฏิทิน โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่าจะสามารถระดมเงินฝากในโครงการดังกล่าวเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 16,000 ล้านบาท และขยายฐานลูกค้ารายย่อยเพิ่มอีกประมาณ 90,000 ราย รวมเป็น 360,000 ราย รวมทั้งการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมจากการให้บริการบัตร SCIB D-Card ประมาณ 80 ล้านบาท โดยธนาคารเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับโครงการเงินฝากออมทรัพย์บุฟเฟต์ปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากเป็นบัญชีเงินฝากที่ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมมากกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป โดยธนาคารจะเริ่มจับรางวัลให้กับผู้โชคดีในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นครั้งแรก
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
รวมสูตรการเงินธุรกิจ ตอน Ratio+ จุดคุ้มทุน
รวมสูตรการเงินธุรกิจ ตอน Ratio+ จุดคุ้มทุน
การเงินธุรกิจ ตอน Ratio
อัตราส่วน
การเปรียบเทียบอัตราส่วนมี 2 วิธี
1. Time Series Analysis เป็นการเปรียบเทียบอัตราส่วนปัจจุบันกับอดีตและคาดการณ์สำหรับอนาคตของบริษัทเดียวกัน
2. Cross-Section Analysis การเปรียบเทียบในลักษณะที่สองคือ การเปรียบเทียบอัตราส่วนของกิจการ กับอัตราส่วนของกิจการอื่นที่ประกอบกิจการคล้ายกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
อัตราส่วนทางการเงินมี 4 ประเภท
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio)
3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
4. อัตราส่วนความมีกำไร (Profitability Ratio)
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน = CA/CL
2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว(Acid Test Ratio) = CA-สินค้าคงเหลือ/CL = CA-I/CL
3. เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital:WC) = สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน
4. อัตราหมุนของลูกหนี้ (Receivable Turnover Ratio) = ขายเชื่อ/ลูกหนี้ (เฉลี่ย)
5. ระยะเวลาในการเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Average Collection Period) = 360 วัน/อัตราหมุนของลูกหนี้
6. อัตราหมุนของสินค้า(Inventory Turnover Ratio) = ต้นทุนขาย/สินค้า(เฉลี่ย)
7. ระยะเวลาในการขายโดยเฉลี่ย (Average Days Sale) = 360 วัน/อัตราการหมุนของสินค้า
ท่อง อัตราหมุนตั้งด้วยยอดขายหาอะไรหารด้วยตัวนั้น Return ตั้งด้วยกำไร on อะไรก็หารตัวนั้น
*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่องได้ดีที่สุด ตอบ Acid Test Ratio หรือ Quick Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่อง ตอบ Liquidity Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีที่สุด ตอบ Debt to networth
2 อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) ได้แก่
1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Net Worth) = หนี้สินทั้งหมด/ส่วนของเจ้าของ = Debt/Net Worth
2. อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ (Long Team Debt to Net Worth) = หนี้สินระยะยาว/ส่วนของเจ้าของ = Long Team Debt/Net worth
3. Capitalization Ratio = หนี้สินระยะยาว/หนี้สินระยะยาว+ส่วนของเจ้าของ
4. อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = Debt/total Asset
3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
Coverage Ratio or Interest Coverage Ratio = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี/ดอกเบี้ยจ่าย
4 อัตราส่วนความมีกำไร(Profitability Ratio) ได้แก่
1. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = กำไรขั้นต้น´100/ขายสุทธิ
2. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = กำไรสุทธิ´100/ขายสุทธิ
3. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) = ขายสุทธิ/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
4. อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (Rate of Return on Assets (ROA) or Earning Power) = กำไรสุทธิ´100/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
5. กำไรต่อหุ้น(Earning Per Share:E.P.S.) = กำไรสุทธิ-เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ/จำนวนหุ้นสามัญ
6. อัตราผลตอบแทนของเจ้าของ(Return on Equity) = กำไรสุทธิ´100/ส่วนของเจ้าของ
7. อัตราตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ(Rate of Return on Common Stock หรือ Rate of Return on Equity: ROE) = กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของทุนหุ้นสามัญ
8. กำไรดำเนินการต่อขาย(Operating Profit Margin) = กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน´100/ขาย
การเงินธุรกิจ ตอน Ratio
อัตราส่วน
การเปรียบเทียบอัตราส่วนมี 2 วิธี
1. Time Series Analysis เป็นการเปรียบเทียบอัตราส่วนปัจจุบันกับอดีตและคาดการณ์สำหรับอนาคตของบริษัทเดียวกัน
2. Cross-Section Analysis การเปรียบเทียบในลักษณะที่สองคือ การเปรียบเทียบอัตราส่วนของกิจการ กับอัตราส่วนของกิจการอื่นที่ประกอบกิจการคล้ายกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
อัตราส่วนทางการเงินมี 4 ประเภท
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio)
3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
4. อัตราส่วนความมีกำไร (Profitability Ratio)
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน = CA/CL
2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว(Acid Test Ratio) = CA-สินค้าคงเหลือ/CL = CA-I/CL
3. เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital:WC) = สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน
4. อัตราหมุนของลูกหนี้ (Receivable Turnover Ratio) = ขายเชื่อ/ลูกหนี้ (เฉลี่ย)
5. ระยะเวลาในการเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Average Collection Period) = 360 วัน/อัตราหมุนของลูกหนี้
6. อัตราหมุนของสินค้า(Inventory Turnover Ratio) = ต้นทุนขาย/สินค้า(เฉลี่ย)
7. ระยะเวลาในการขายโดยเฉลี่ย (Average Days Sale) = 360 วัน/อัตราการหมุนของสินค้า
ท่อง อัตราหมุนตั้งด้วยยอดขายหาอะไรหารด้วยตัวนั้น Return ตั้งด้วยกำไร on อะไรก็หารตัวนั้น
*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่องได้ดีที่สุด ตอบ Acid Test Ratio หรือ Quick Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดสภาพคล่อง ตอบ Liquidity Ratio
*อัตราส่วนใดใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีที่สุด ตอบ Debt to networth
2 อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) ได้แก่
1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Net Worth) = หนี้สินทั้งหมด/ส่วนของเจ้าของ = Debt/Net Worth
2. อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ (Long Team Debt to Net Worth) = หนี้สินระยะยาว/ส่วนของเจ้าของ = Long Team Debt/Net worth
3. Capitalization Ratio = หนี้สินระยะยาว/หนี้สินระยะยาว+ส่วนของเจ้าของ
4. อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = Debt/total Asset
3. อัตราส่วนความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
Coverage Ratio or Interest Coverage Ratio = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี/ดอกเบี้ยจ่าย
4 อัตราส่วนความมีกำไร(Profitability Ratio) ได้แก่
1. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = กำไรขั้นต้น´100/ขายสุทธิ
2. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = กำไรสุทธิ´100/ขายสุทธิ
3. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) = ขายสุทธิ/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
4. อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (Rate of Return on Assets (ROA) or Earning Power) = กำไรสุทธิ´100/สินทรัพย์ที่มีตัวตน
5. กำไรต่อหุ้น(Earning Per Share:E.P.S.) = กำไรสุทธิ-เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ/จำนวนหุ้นสามัญ
6. อัตราผลตอบแทนของเจ้าของ(Return on Equity) = กำไรสุทธิ´100/ส่วนของเจ้าของ
7. อัตราตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ(Rate of Return on Common Stock หรือ Rate of Return on Equity: ROE) = กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของทุนหุ้นสามัญ
8. กำไรดำเนินการต่อขาย(Operating Profit Margin) = กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน´100/ขาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)