สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/18/2552

ออมเงินอย่างไรดี 1-2

ออมเงินอย่างไรดี 1
การออมเงินอยากที่กล่าวๆไว้ในหน้าหลัก คือ การออมเงินนั้นไม่ยาก แต่ถ้าหากเรามีความตั้งใจจริง สิ่งแรกที่เราควรปฏิบัติเมื่อคิดว่าจะออมเงิน คือ ต้องทำใจว่า เราจะต้องรู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย และ ควรมีการจัดบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตัวเอง เพื่อดูว่า ใน เดือนๆหนึ่ง เรามีเงินออมแล้วเป้นจำนวนเท่าใด
ประการที่สองคือ ขณะตอนที่เราออมเงินนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะซื้อของที่ต้องการไม่ได้ เราสามารถซื้อได้ ถ้าเรารู้ว่า เรามีเงินออมเท่านี้ แล้วเรา สามารถ ซื้อของชิ้นนี้ ราคานี้ ใน ช่วงที่เหมาะสมแล้ว เพื่อความสบายใจของเรา แล้วเราก้อยังสามารถมีกำลังใจในการเก็บออมต่อไปในวันหน้า
ประการที่สามคือการเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่น หากว่าเราต้องการสิ่งของใดอันใดอันหนึ่งแล้ว แต่สิ่งของนั้นมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราสามารถใช้วิธีออมเงิน ถ้าเรามีความตั้งใจจริง เราก็จะสามารถเก็บเงินซื้อสิ่งของนั้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ก็คือ การเก็บออมอย่างมีวัตถุประสงค์ ถ้าหากว่าเราต้องการสิ่งของอื่นๆที่มีราคาค่อนข้างแพ้ เราก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ครับ

โดย Api_Num

ออมเงินอย่างไรดี 2
สุเมธ อดุลวิทย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จากรายงานการวิเคราะห์ของสํานักงานสถิติ แห่งชาติที่พบว่า อัตราส่วนระหว่างเงินออมกับรายได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่าคนไทยมี การใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากขึ้น เพราะความไม่แน่ใจในรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทําให้คําถามที่เกี่ยวกับการออมเปลี่ยนไปจาก “คุณมีเงินออมหรือไม่” เป็น “คุณจะนําเงินออมไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้อย่างไร”
การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ นั้น ถึงแม้ จะเป็นการนําเงินออมไปใช้แบบมีความเสี่ยงต่ํา
เนื่องจากมีรัฐบาลค้ําประกัน แต่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับนับว่าต่ําเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสําหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์คือ 0.75 %ต่อปี
ผู้ออมเงินโดยฝากเงินในบัญชีประเภทนี้จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีมากกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ส่วนที่ เหลือคือรายได้ดอกเบี้ยในปี นั้นๆ แต่ถ้ารายได้ดอกเบี้ยต่อปีน้อยกว่า 20,000 บาท ผู้ออมเงินมีสิทธิสําหรับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยนี้
กรณีบัญชี เงินฝากประจําประเภท 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยที่คิดคือ 2.50 %ต่อปี ส่วนเงินฝากประจํ า 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.75-3.25 %ต่อปี ผู้ออมเงินในบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทนี้ แน่นอนจะถูกหักภาษี ดอกเบี้ยเงิน
ฝาก 15 %ของรายได้ดอกเบี้ยต่อปี ไม่ว่ารายได้เป็นเท่าไรก็ตาม
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น ผู้ออมเงินโดยการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ไม่ได้รับ
รายได้ดอกเบี้ยต่อปีทั้งหมด
ทางเลือกหนึ่งสําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้และน่าจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงินก็คือ การซื้อสลากออมสินพิเศษและสลากออมสินพิเศษ(รุ่นธนโชค)ของธนาคารออมสิน ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากสลากออมสินทั้ง 2 ประเภทรัฐบาลเป็นผู้ค้ําประกันเช่นเดียวกันกับการฝากเงิน ความเสี่ยงในการนําเงินออมไปใช่ในกรณีนี้คงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าน้อยกว่าหรือมากกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ ตามสิ่งที่แน่นอนคือ ผลตอบแทนที่ ได้รับประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยและสิทธิ ถูกรางวัลตามที่
ธนาคารกําหนด และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น ผลตอบแทนเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีใดๆ
สลากออมสินพิเศษถูกกําหนดราคาซื้อ - ขายหน่วยละ 50 บาท อายุของสลากออมสินพิเศษคือ 3 ปี ถ้าถือครบ 3 ปี
ผู้ออมเงินมี สิทธิถูกรางวัล 35 ครั้ งรวมทั้งสามารถไถ่ถอนคืนโดยได้ รับเงินเต็มมูลค่าบวกอัตราดอกเบี้ย 0.5 % สลากออมสินพิเศษนี้ สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้าประกันการขอสินเชื่อจากธนาคารออมสินและค้ําประกันตัวในชั้นศาลและสอบสวน สําหรับผู้ออมเงินที่ต้องการถูกรางวัลเลขท้าย 4 ตัวตามที่ธนาคารกําหนดทุกงวด ผู้ออมเงินจะต้องซื้อสลากจํานวน 10,000 หน่วย หรือ 500,000 บาท
สลากออมสินพิเศษอีกประเภทคือ รุ่นธนโชค ราคาซื้อ - ขายต่อหน่วยถูกกําหนดไว้ที่ 100 บาท อายุของสลากประเภทนี้คือ 10 ปี ถ้าฝากครบ 10 ปี จะทําให้ผู้ออมเงินมีสิทธิไถ่ถอนคืนได้เต็มจํานวนพร้อมดอกเบี้ย 10 % และมีโอกาสถูกรางวัล 17 ครั้ง การถูกรางวัลทุกงวดตามที่ธนาคารกําหนด ผู้ออมเงินยังคงซื้อสลากจํานวนเท่าเดิมคือ
อย่างน้อย 10,000 หน่วย แต่เงินที่จ่ายมากกว่าเดิมเนื่องจากราคาซื้อ – ขายต่อหน่วยสูงขึ้น
จากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการซื้อสลากออมสินทั้ง 2 ประเภท นอกจากจะทําให้ผู้ออมเงินมีรายได้ดอกเบี้ย อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว เงินถูกเลขสลากจ่ายคืนหรือเงินรางวัลยังได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย
ข้อมูลดังกล่าวอาจจะทําให้ผู้ออมเงินรู้สึกว่าการซื้อสลากออมสินพิเศษเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้ากลับมามองจุดเด่นของการฝากเงิน ก็น่าคิดว่าผู้ออมเงินควรตัดสินใจอย่างไร

จุดเด่นประการแรกคือ ความต้องการใช้เงินเมื่อคราวจําเป็น การฝากเงินกับสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ผู้ออมเงินสามารถไถ่ ถอนเงินได้ เต็มจํานวนทันทีเมื่อจําเป็นต้องใช้ เงิน สิ่งที่ ไม่ได้ รับกรณีไถ่ ถอนก่อนครบกําหนดการฝากคงเป็นเพียงรายได้ดอกเบี้ย สําหรับสลากออมสินพิเศษ การไถ่ถอนก่อนกําหนดนอกจากทําให้ผู้ออมเงินสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัลและดอกเบี้ยแล้ว มูลค่าสลากออมสินที่ไถ่ถอนยังมีมูลค่าไม่เต็มจํานวนอีกด้วย

จุดเด่นประการที่สองคือ การไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยของผู้ออมเงิน สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์มีบัญชีเงินฝากประเภทที่ผู้ออมเงินไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15 % แต่ผู้ออมเงินจะต้องฝากเงินในแต่ละเดือนด้วยอัตราเท่ากันโดยมูลค่าเงินฝากขั้นต่ําสุด 500 บาท และขั้นสูงสุด 25,000 บาท ระยะเวลาในการฝากมีตั้งแต่ 24 – 60 เดือน
มูลค่าเงินฝากตลอดอายุไม่เกิน 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา 12 เดือน บวก 0.75 – 1 %
การเปรียบเทียบเหตุผลและข้อมูลเบื้องต้นนี้ คงเป็นประโยชน์สําหรับผู้ออมเงินในการนําเงินออมไปใช้ การที่จะตัดสินใจอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ออมเงิน ซึ่งนอกจากควรพิจารณาผลตอบแทนที่ จะได้รับแล้ว ยังควรจะต้อง
คํานึงถึงศักยภาพของตนเอง อย่างเช่น ความจําเป็นในการใช้เงิน และฐานะทางการเงิน การกระจายเงินออมไปใน
ทางเลือกต่างๆอย่างเหมาะสมน่าจะเป็นวิธีแนะนําที่ดีวิธีหนึ่ง

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ