สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/16/2552

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่2

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่2
ต่อนะคะ

2. เลือกซื้อกองทุนตามความต้องการลงทุนของท่าน (Choose funds that suit your needs)

ชื่อแปลกๆ ของประเภทกองทุนรวมมากมายในตาราง 1 นั้น ความจริง แล้วยังสามารถจัดให้แคบลงมาได้เหลือแค่ 3 ประเภทเท่านั้นคือกองทุนหุ้น หรือเอาชื่อที่เป็นทางการหน่อยก็คือกองทุนตราสารทุน (Equity Funds) เป็นกองทุนที่ระดมเงินไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทน รวมดีในระยะยาว) ลำดับถัดมาเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เอาไปลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่างๆ (เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม) และสุดท้าย เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งนำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วเงิน ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี (เพื่อให้เงินต้นมีความมั่นคง)

กองทุนทั้งสามประเภทที่กล่าวมามีจุดที่ต่างกัน คือเรื่องของความ เสี่ยง กองทุนหุ้นมีความเสี่ยงมากที่สุด กองทุนตราสารหนี้ก็เสี่ยง รองลงมา และกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นก็เสี่ยงน้อยที่สุดแต่ก็ให้อัตรา ผลตอบแทนต่ำสุดด้วย ท่านจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทใดก็ต้อง ประเมินว่าจะให้น้ำหนักในเรื่องของอัตราผลตอบแทนหรือความเสี่ยง รวมทั้งดูในแง่ขอบเขตการลงทุน และแผนการกระจายสินทรัพย์ของตัวท่านเอง (Asset Allocation)

3. ระวังเรื่องผลงานในอดีต (Beware of past performance)

ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่เป็นที่สนใจของนักลงทุนส่วนใหญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มี ประสบการณ์ลงทุนมาแล้วหรือเป็นมือใหม่ก็คือ เรื่องผลดำเนินงานในอดีตของ กองทุนหรือที่เราเรียกกันว่า Track Record ซึ่งอาจจะอุปมาได้กับการแข่งม้า แต่ผลงานในอดีต แม้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ทว่ามันอาจจะชวนให้เข้าใจผิด ในการประเมินวิธีการทำงานของผู้จัดการกองทุนได้

ตามหลักแล้วกองทุนที่ผลดำเนินงานในอดีตมีอัตราผลตอบแทนดีกว่าผล ตอบแทนของดัชนีตลาดที่มีการนำมาใช้เปรียบเทียบด้วยนั้น ในระยะยาวหรือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าวมักจะอยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนีตลาด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการที่จะได้ผลตอบแทนสูงๆ นั้น ผู้จัดการ กองทุนก็ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงด้วย จึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดัชนีของตลาดที่เอามาเปรียบเทียบ

พวกเราส่วนมากคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า หากมันดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ มันก็มีโอกาสที่จะไม่ใช่ของจริง ซึ่งท่านอาจจะเอามาปรับใช้กับวิธีเลือกกองทุน ได้ในแง่ที่ว่า หากดูผลดำเนินงานในอดีตของกองทุนแห่งหนึ่งแล้ว พบว่ามีอัตรา ผลตอบแทนที่ดีมากผิดปกติ ท่านอาจจะใช้กฎข้อนี้และเริ่มตั้งคำถามได้แล้วว่า มันจะมีผลตอบแทนดีเช่นนั้นไปอีกนานเท่าใด

4. ท่านควรมองหากองทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลานาน (Long-term, Consistency)

ผมคิดว่าสุภาษิตไทยที่บอกว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เป็น หลักการที่น่าจะเอามาปรับใช้ในการตรวจสอบผลดำเนินงานของกองทุนรวม ได้อย่างดี ท่านควรดูตัวเลขผลตอบแทนของกองทุนอย่างน้อยที่สุด 3 ปีย้อนหลัง หรือจะให้ดีก็ดูย้อนไปถึง 5 ปีเลยก็ได้ โดยเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ที่อยู่ ในทำเนียบเดียวกัน แต่ที่สำคัญนั้นท่านต้องเปรียบเทียบกองทุนที่อยู่ในประเภท เดียวกัน เช่น เทียบกองทุนหุ้นกับกองทุนหุ้น ไม่ใช่เอากองหุ้นไปเทียบกับกอง ตราสารหนี้ เพราะกองทุนสองประเภทนี้มีเป้าหมายการลงทุน และนโยบาย ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

5. ให้ระวังเรื่องผลตอบแทนที่เย้ายวนใจและอันดับความเสี่ยง (Beware of tempting yield and credit risk !!!)

คำแนะนำข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในกรณีที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ครับ เพราะตลาดตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ในประเทศเรานั้นต้องบอกว่าเพิ่งจะจัดตั้งได้ไม่กี่ปีนี่เอง มีสภาพคล่องน้อยครับ ดังนั้นราคาหุ้กู้บางตัวในตลาด จะมีความผันผวนสูงและเป็นราคาที่ไม่ถือว่าสะท้อนความต้องการของตลาดอย่าง แท้จริง

บริษัทจัดการรู้ดีว่านักลงทุนมักจะเน้นในเรื่องของความมั่นคงและอัตราผล ตอบแทนในระดับสูง ดังนั้นจึงมีบริษัทจัดการบางแห่งที่ทำทุกอย่างเพื่อให้มีตัวเลข อัตราผลตอบแทนดีๆ พวกเขาไม่สนใจว่าตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อลงทุนไว้ในพอร์ตจะมีอันดับความเสี่ยงสูงและสภาพคล่องที่จะซื้อขายเปลี่ยนมือก็อยู่ในระดับต่ำ ชื่อบริษัทผู้ออกก็ไม่เป็นที่รู้จัก และมันก็เหมือนซื้อเข้ามาเก็บแช่นิ่งไว้ในพอร์ต

เทคนิคในการที่จะเพิ่มตัวเลขผลตอบแทนนี้อาจจะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่คุ้มเลย ก็ได้ แต่วิธีนี้เป็นการเล่นกับความเสี่ยงที่ยากจะประเมินได้ ถ้าคุณเห็นกองทุน ตราสารหนี้แห่งหนึ่งมีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของกองทุนตรา สารหนี้ประเภทเดียวกันและมีอายุของตราสารที่ลงทุนอยู่ในพอร์ตใกล้เคียงกัน คุณควรสอบถามผู้จัดการกองทุนเพื่อขอดูว่ามีตราสารอะไรอยู่ในพอร์ตของเขาบ้าง

6. ให้ดูสภาพคล่องและอายุของตราสารด้วยความระมัดระวัง (Look carefully at maturities & liquidity !!)

นี่เป็นคำแนะนำข้อที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้อที่เพิ่งกล่าวถึง ทำไมน่ะหรือครับ เพราะหลายปีที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ระยะยาวมีประวัติทำผล ตอบแทนได้สูง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะดำรงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะเมื่ออัตราดอกเบี้ย ลดลงต่ำมากเป็นประวัติการณ์ในตอนนี้ และจริงๆ แล้วกองทุนตราสารหนี้ที่มี อายุของตราสารที่ถือลงทุนอยู่ ยังเหลืออีกนานมากนั้น จะมีความผันผวน เรื่องราคาสูงมาก ถ้าอัตราดอกเบี้ยหันทิศกลับ โดยเพิ่มขึ้นแค่ 1% เท่านั้น กองทุน ประเภทที่ผมเอ่ยมานี้จะถูกผลกระทบอย่างหนัก โดยผลตอบแทนจะลดลง 10% หรือมากกว่านั้น ทำให้ดอกเบี้ยที่สะสมมามากกว่าปี สูญหายไปในพริบตา

คุณอาจพอรับมือกับเหตุการณ์เช่นนี้ได้หากคุณคิดว่าจะลงทุนระยะยาว และนี่ก็เป็นความผันผวนในช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณมีเป้าการลงทุนที่สั้นกว่า นั้น เช่น 2 ปีหรือน้อยกว่านี้ ผมคิดว่าคุณควรจะแบ่งเงินออกมาแล้วไปซื้อกองทุน ที่ถือตราสารระยะสั้น

คุณสามารถหาผลตอบแทนได้ถึง 75% - 80% จากกองทุนตราสารหนี้ ระยะยาว โดยมีความผันผวนน้อยกว่าประมาณ 40%

นอกจากเรื่องอายุของตราสารแล้ว ประเด็นเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขาย เปลี่ยนมือก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน ลักษณะของกองทุนตราสารหนี้ส่วนมาก ที่จัดตั้งขึ้นในเวลานี้จะเป็นแบบกองทุนเปิดที่ขายให้นักลงทุนทั่วไป นั่นหมายความ ว่านักลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้ทุกวันทำการ โดยบางกองทุนไม่ต้องเสียค่า ธรรมเนียมซื้อ-ขายด้วย ถือเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับนักลงทุน แต่ในฟาก ของสินทรัพย์ที่กองทุนไปซื้อลงทุน มันไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขายแบบนั้น

ดังนั้น เราจะเห็นลักษณะของการจับคู่แบบผิดๆ (mismatch) ระหว่าง โครงสร้างของกองทุนเปิดกับสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ในช่วงสถานการณ์ปกติผู้จัดการกองทุนจะไม่มีปัญหาในการบริหารสภาพคล่องของกองทุน แต่ใน สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นกู้เผชิญกับความผันผวน ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็ตาม การบริหารสภาพคล่องของกองทุนตราสารหนี้จะมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น เพราะจะมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนทุกวัน

นอกจากนี้ เครื่องมือเพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง เช่น สัญญาซื้อคืนที่เรียก ว่า REPOs ก็ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้กันในเวลานี้ ซึ่งก็หมายความว่าผู้จัดการ กองทุนมีทางเลือกจำกัดมากในการรับมือกับความผันผวนที่ไม่แน่นอนในตลาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน

ดังนั้น หากคุณต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว จะเป็นการ ดีกว่าและปลอดภัยยิ่งที่จะแบ่งเงินลงทุนในกองทุนที่มีการขายคืนหน่วย ลงทุนเป็นระยะๆ (Interval Fund) หรือไม่ก็ไปซื้อกองทุนปิดดีกว่าที่จะซื้อเป็น กองทุนเปิดครับ

7. ต้องพิจารณาสไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนด้วย (Consider investment styles)

ท่านผู้อ่านจำนวนมากเมื่ออ่าน/ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อเลือกซื้อกองทุนรวม จะพบว่าหน้าตาของกองทุนเหล่านี้ก็ดูเหมือนๆ กัน คือต่างบริหารภายใต้กฎระเบียบและข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกัน มีพอร์ตการลงทุนเหมือนๆ กัน แต่ท่าน ทราบหรือไม่ว่าโฉมหน้าภายนอกเหล่านี้อาจหลอกสายตาท่านได้ เพราะมีจุดหนึ่งที่ท่านอาจมองไม่เห็น คือ สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุน บางคนมีวิธีการลงทุนที่เน้นเรื่องตัวเลขหรือการทำกำไรมาก (aggressive) บางคน ก็เก่งในเรื่อง การประเมินมูล ค่าการลงทุน (value investing) และบางคน ก็เก่งในเรื่องการ ซื้อๆ ขายๆ หุ้น (trading) หรือ ตราสารหนี้ วิธีหนึ่ง ที่จะช่วยวิเคราะห สไตล์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุนของ ท่านคือดูที่เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ครับ

- BETA เป็นเครื่องวัดตัวหนึ่งที่จะบอกว่ามูลค่ากองทุนได้เคลื่อนไหวไปใน ทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของดัชนีมาตรฐานตลาด เช่น ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) หรือไม่ โดยที่ดัชนีมาตรฐานตัวนี้จะมีค่าเท่ากับ 1.0 หากกองทุนหุ้นที่ท่านผู้อ่านถืออยู่มีค่าเบต้าเท่ากับ 1.20 นั่นหมายความว่า กองทุนกองนี้มีความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าค่าของดัชนีมาตรฐาน อยู่ 20% อธิบายอีกอย่างก็คือ ไม่ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะมีค่าเป็นบวกหรือลบ มูลค่ากองทุนของท่านจะแกว่งตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง 20% เมื่อเทียบกับดัชนี ตลาดฯ

- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Deviation ตัวเลขนี้จะบอกว่า กองทุนที่ท่านถือหน่วยลงทุนอยู่มีการแกว่งตัวของอัตราผลตอบแทนออกจากอัตรา เฉลี่ยที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไว้ที่ระดับ 10 ก็หมายความว่าอัตราผลตอบแทนต่อเดือนของกองทุนมักจะลดลง ได้ไม่เกิน 10% ของอัตราเฉลี่ย หากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับสูงมาก แสดง ว่ากองทุนนั้นก็จะมีความผันผวนในเรื่องอัตราผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน

- ไตรมาสที่เลวร้ายสุดๆ (Worst quarter) เป็นเครื่องวัดความเสี่ยงที่มุ่ง ไปในระยะยาวมากที่สุด มันจะแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทนรายไตรมาสที่ เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งก็ช่วยให้ท่านผู้อ่าน/นักลงทุน ทำใจได้ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์อะไรในอนาคต

เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนมี มุมมองที่ชัดเจนต่อสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันของผู้จัดการกองทุนแต่ละคน แม้ว่าข้อมูลตัวเลขต่างๆ ที่คุณต้องการรู้อาจจะมีให้ไม่ครบถ้วนเพียงแต่บริษัทจัดการทุกแห่งก็จะพยายามจัดหาข้อมูลให้ตามที่ท่านนักลงทุน ร้องขอไปในอนาคตอันใกล้นี้ สมาคมบริษัทจัดการ หรือ AIMC จะจัดทำตัวเลขอัตราผลตอบแทนที่มีการปรับปัจจัยความเสี่ยงแล้ว หรือที่เรียกว่า Risk-Adjusted Return และประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณะให้ทราบด้วย