สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/18/2552

ออมเงินอย่างให้รวย และ การจัดสรรเงินเหลือใช้

ออมเงินอย่างให้รวย และ การจัดสรรเงินเหลือใช้
ออมเงินอย่างไรให้รวย
จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เมื่อได้อ่านบทความของดร.กิรณ ลิมปพะยอม เรื่องออมเงินอย่างไรให้รวย เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมทาง ได้บ้าง จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง
คำว่า“รวย” ในที่นี้หมายถึงการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดีมีคนรัก โดยมีข้อคิดง่ายๆ 7 วิธี เพื่อเป็นคนรวย ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการมีเงินใช้จ่ายใช้อย่างไม่ขัดสนและเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณนั่นเอง
ข้อแนะนำนี้อาจไม่จำเป็นต้องปฏิบัติครบทั้ง 7 ข้อก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน ดังต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมาย (อย่างมีเหตุผล) ว่าถ้าเกษียณแล้วอยากทำอะไร และต้องการความ “รวย” ในระดับไหนและแบบไหน (ขอย้ำอีกครั้งว่า อย่างมีเหตุผล) เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
2. เริ่มออม ซึ่งถ้าไม่อยากคิดคำนวณยุ่งยาก ให้เก็บออมไปเลย 20-25% ของรายได้แต่ละเดือน
3. ใช้ประโยชน์จากการให้เงินทำงาน หมายความถึงการฝากเงินหรือการลงทุนก่อให้เกิดดอกเบี้ยและเก็บดอกเบี้ยนั้นไปเรื่อยๆ โดยเราไม่ต้องนำไปทำอะไร
4. ควบคุมตนเอง ไม่ให้ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย งดอยากได้ของที่ไม่จำเป็นในตอนนี้ โดยคิดถึงการใช้ชีวิตอย่างสบายในวันหน้าเป็นหลัก เช่น อาจจะออกเที่ยวน้อยลง เป็นต้น และนอกจากนี้ควรลดการซื้อของเงินผ่อนและใช้บัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยจำนวมหาศาล (ถึงจะดูน้อยในแต่ละงวดก็ตาม)
5. ดูแลสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อลดโอกาสการเกิดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล
6. ใช้ประโยชน์จากสิทธิทางภาษีต่างๆ ให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการซื้อกองทุนรวมบางประเภทที่นำไปลดภาษีได้หรือการมีประกันชีวิต ที่สิ่งเหล่านี้ ผลประโยชน์ก็ยังอยู่กับตัวคุณ (อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาถึงเงื่อนไขประกอบต่างๆ ให้ละเอียดด้วย)
7. ใช้ชีวิตอย่างสมดุล โดยต้องไม่ลืมว่าชีวิตคนเรามีหมวกหลายใบและมีหลายอย่างที่ต้องทำ ทั้งหน้าที่การงานชีวิตส่วนตัว ความรัก และสุขภาพ ไม่ใช่คิดถึงแต่การออมสำหรับวันหน้า แต่วันนี้ไม่มีความสุข หรือคิดถึงแต่การใช้เงินวันนี้พรุ่งนี้ แต่ไม่คิดถึงชีวิตหลังเกษียณ

นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึง พวกค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ 5 บาท 10 บาท ที่สิ้นเปลืองไปกับเรื่องไม่จำเป็นด้วย เพราะเงินเหล่านี้หากนำมารวมกันก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ เช่น ถ้าจะเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ความสิ้นเปลืองเล็กน้อยวันละ 10 บาท หมายถึงเงินใช้หลังเกษียณหายไปถึงกว่า 7 หมื่นบาท (ยังไม่รวมดอกเบี้ย) ท้ายที่สุด ขอฝากไว้ด้วยว่า อย่าตั้งความหวังกับการรวยทางลัด ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ชีวิตหลังเกษียณอันมีคุณภาพจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเรามีวินัยในการออมเท่านั้น


ที่มา :http://gotoknow.org/blog/pussadeec/60004

การจัดสรรเงินเหลือใช้
เมื่อเรารู้จำนวนเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนแล้ว (สมมุติ 2,000 บาท) และตั้งใจจะสะสมเงินนั้นอย่างมีวินัยต่อเนื่องทุกเดือนจนกระทั่งได้ยอดเงินสะสมรวมตามที่วางเป้าหมายไว้ (สมมุติ 500,000 บาท) เราคงต้องการทราบว่า เราจะใช้เวลาในการทยอยสะสมนานเพียงใด ? หัวใจของความสำเร็จก็จะอยู่ตรงที่ ระยะเวลาที่เราวางแผนจะใช้เงินสะสมนั้น กับจำนวนเงินสะสมที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นโจทย์ตั้งให้เราต้องค้นหาทางเลือกที่จะใช้สะสมเงินนั้น โดยคาดหวังว่า ผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงของวิธีการสะสมดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เงินสะสมพอกพูนขึ้นได้เท่ากับเงินสะสมเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ที่วางแผนไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ ดังตัวอย่าง

http://www.thaimutualfund.com/AIMC/aimc_basicKnowledge.jsp?pg=5

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท โดยมีทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน เราจะใช้เวลาในการสะสมเงินจนถึง 500,000 บาท ได้รวดเร็ว หรือเนิ่นนานแตกต่างกันไปด้วย บางท่านอาจจะด่วนตัดสินใจ "เลือกทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด" แต่อย่าลืมคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า "ทางเลือกที่คาดว่าให้ผลตอบแทนสูง มักมีความเสี่ยงสูงด้วย" นั่นหมายความว่า ทางเลือกนั้นมีโอกาสให้ผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น เราควรหลีกเลี่ยงไม่เลือกทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงเลยใช่หรือไม่ ? คำตอบอยู่ที่เรายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเราได้จัดสรรเงินออมและเงินลงทุนอย่างเหมาะสมจนสามารถลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งหรือไม่ การสะสมเงินที่ดี ควรมีการกระจายทางเลือกทั้งการออมและการลงทุนในสัดส่วนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ตามที่คาดหวังไว้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้



จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท โดยมีทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน เราจะใช้เวลาในการสะสมเงินจนถึง 500,000 บาท ได้รวดเร็ว หรือเนิ่นนานแตกต่างกันไปด้วย บางท่านอาจจะด่วนตัดสินใจ "เลือกทางเลือกที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด" แต่อย่าลืมคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า "ทางเลือกที่คาดว่าให้ผลตอบแทนสูง มักมีความเสี่ยงสูงด้วย" นั่นหมายความว่า ทางเลือกนั้นมีโอกาสให้ผลขาดทุนที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น เราควรหลีกเลี่ยงไม่เลือกทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงเลยใช่หรือไม่ ? คำตอบอยู่ที่เรายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเราได้จัดสรรเงินออมและเงินลงทุนอย่างเหมาะสมจนสามารถลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งหรือไม่ การสะสมเงินที่ดี ควรมีการกระจายทางเลือกทั้งการออมและการลงทุนในสัดส่วนที่สามารถให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ตามที่คาดหวังไว้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้