สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/16/2552

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่ 3

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่ 3
8. ต้องระวังในเรื่องขนาดของสินทรัพย์ (Beware of asset size)
การลงทุนในกองทุนรวม ขนาดของสินทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้อง พิจารณา เพราะมันมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุน แต่การที่จะบอกว่า จำนวนเท่าใดถือเป็นกองทุนขนาดใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อนพอสมควร กองทุนที่มีขนาดสินทรัพย์น้อยกว่า 100 ล้านบาทถือว่า มีขนาดเล็กเกินไป เพราะเมื่อดูตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุนแล้ว เราจะพบว่ามันไม่เกิดการประหยัดในเรื่องของขนาดกองทุน พูดง่ายๆ ก็คือค่าใช้จ่ายจะมีจำนวนสูงเมื่อเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
แต่ในอีกสุดขั้วหนึ่งนั้น หากกองทุนมีขนาดของสินทรัพย์เกินกว่า 15,000 ล้านบาท ก็ถือว่าใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดการเงินไทย ประเด็นนี้ เป็นเรื่องจริงนะครับ เพราะภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ตอนนี้บริษัทที่ออก ตราสารหนี้ชั้นดีหาได้ยากมากครับ นั่นหมายความว่าตราสารดีๆ ที่ผู้จัดการกองทุน จะซื้อหามาลงทุนก็มีน้อยด้วยครับ

9. ต้องคอยตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้ (Look for hidden expense)
ค่าใช้จ่ายของกองทุนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของนักลงทุนโดยตรง ในส่วน ของกองทุนหุ้นที่ค่อนข้างแอคทีฟจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการปีละ 1 - 1.5% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ขณะที่กองทุนหุ้นที่เคลื่อนไหวตามการ เปลี่ยนแปลงของดัชนีจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เกิน 0.75% แต่ในส่วน ของกองทุนตราสารหนี้นั้นจะคิดค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากองทุนหุ้นครับ ปีละ 0.5% - 0.75% เท่านั้น

นอกจากดูค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมการจัดการรายปีแล้ว ท่านดูอัตราส่วนค่าใช้จ่ายรวม หรือที่เรียกว่า Total Expense Ratio (TER) ซึ่งเป็นตัวเลขรวมของค่าใช้จ่ายทุกรายการที่เกิดขึ้นของกองทุนครับ อย่างไรก็ดี ผมอยาก จะชี้ให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ถูกซุกซ่อนไว้อีกรายการหนึ่ง ซึ่งเกิดมาจากการซื้อหลักทรัพย์เข้ามาไว้ในพอร์ตลงทุน และการขายหลักทรัพย์นั้นออกไป ท่านสามารถ ตรวจสอบตัวเลขนี้ได้จากอัตราส่วนการซื้อเข้ามาและขายออกไปในพอร์ตโฟลิโอ ของกองทุนครับ (Portfolio turn over ratio)

อัตราส่วนตัวนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าหุ้นตัวหนึ่งๆ มีการซื้อขายเข้าออก กี่รอบ อัตราส่วนการเข้าออกหลักทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอ หากน้อยกว่า 100% ถือเป็นระดับปกติครับ

10. ใครเป็นคนบริหารเงินของฉัน? (Who's managing my money?)

นี่เป็นคำถามที่สมควรจะถูกถามอย่างยิ่ง เพราะว่าอะไรน่ะหรือครับ ก็เรากำลัง จะมอบความไว้วางใจให้กับคนคนหนึ่ง เข้ามาบริหารเงินที่เราหามาได้ด้วยความ ยากลำบาก มันก็จะต้องทราบพื้นเพของคนผู้นี้กันสักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือ สตรีก็ตาม อย่างไรก็ตาม ก็มีบริษัทจัดการจำนวนมากนะครับที่ใช้ระบบตั้งเป็น คณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเงินของท่านผู้อ่าน เรียกว่าใช้ระบบให้คนหลาย คนมาช่วยกันบริหาร (Investment committee) แทนที่จะเป็นวันแมน/วีแมน โชว์ครับ

กระนั้นก็เถอะครับ ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องได้ใบอนุญาตบริหารจัดการ กองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. และต้องมีการระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดการกองทุนกองไหน แต่เราก็ควร ที่จะถามคำถามนั้นกับพวกเขาอยู่ดีแหละครับ คุณเป็นใคร มีประสบการณ์ บริหารกองทุนมานานเพียงใด มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างไรบ้างในการจัดการ กองทุน ผู้จัดการกองทุนที่มีใบอนุญาต CFA หรือเป็นนักวิเคราะห์ทางการเงินระดับสูงจะมีความชำนาญมากกว่าผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตนี้

11. อย่าซื้อกองทุนหลายกองมากเกินไป (Don't own too many funds) มีรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย Morningstar Mutual Funds ในสหรัฐ อเมริกา ได้ข้อสรุปว่าการถือหน่วยลงทุนของกองทุนมากกว่า 4 กองขึ้นไปไม่ได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแต่อย่างใด (ดูตารางประกอบ) ในกรณีของ กองทุนรวมในบ้านเรานั้น ยังไม่มีการทำรายงานศึกษาในเรื่องนี้ แต่แนวโน้ม ก็ไม่น่าจะแตกต่างไปจากในสหรัฐฯ เท่าใดนัก
มันก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องไปซื้อกองทุนถึง 7-8 กองเพื่อที่จะให้เกิด การกระจายการลงทุน ทางเลือกที่ดีน่าจะเป็นการเลือกกองทุนดีๆ สัก 2-3 กอง หรือซื้อกองทุน Index Fund หรือกองทุนผสม ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง ได้มากกว่า
12. ลงทุนเพื่อระยะยาว (Invest for the long term)

นี่เป็นกฎข้อสุดท้ายในการเลือกกองทุนแล้วครับ หลังจากที่คุณมีความชัดเจน กับเป้าหมายการลงทุนระยะยาวของคุณแล้ว รวมทั้งรู้ด้วยว่าคุณจะรับความเสี่ยง ได้มากน้อยแค่ไหน และคุณก็เลือกผสมกันระหว่างกองทุนที่แอคทีฟกับ ไม่แอคทีฟมากแต่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (Index Fund) คราวนี้คุณก็นั่งพักได้แล้วล่ะครับ ปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนทำงานในส่วนที่ ยากๆ ต่อไปเพื่อหาผลตอบแทนให้คุณคำแนะนำสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ผมจะให้กับท่านผู้อ่านได้คือควรจะลงทุน เพื่อหวังดอกผลในระยะยาว ประโยคที่บอกว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว อาจจะเอามาประยุกต์ใช้กับการลงทุนของท่านได้ และท้ายที่สุดนี้ ผมอยากจะบอกด้วยว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่องสำหรับคนรวย แต่คุณจะรวยได้ต้องเป็นนักลงทุน.