สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/16/2552

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่1

แนวทางการเลือกซื้อกองทุนรวม ตอนที่1
ในโลกสมัยใหม่ที่เราอยู่อาศัยกันทุกวันนี้ ล้วนเต็ม ไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ข้อมูลทางการเงิน ตัวเลข ตาราง ต่างๆ นานา ที่เมื่อก่อน มีไว้ให้ผู้จัดการกองทุนใช้วิเคราะห์เท่านั้น แต่ทว่าเดี๋ยวนี้นักลงทุนก็สามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วย ลงทุนในกองทุนรวมได้ โดยคลิกคำสั่งซื้อหรือขายบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โลกยุคข่าวสารสมัยใหม่นี้ได้ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่โลกแห่งการลงทุนอย่างแท้จริง

ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนจำนวนมากจากทั่วทุกสารทิศถูกโยน เข้าใส่นักลงทุน ไม่ว่าพวกเขาจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม การวิเคราะห์เชิง ปริมาณอย่างละเอียดซับซ้อน ราคาหุ้นที่กำลังเกิดการซื้อขายจริง หรือข้อมูลประเภทเดียวกันนี้อีกเป็นจำนวนมากมีให้นักลงทุนบอกรับเป็นสมาชิก แต่ข้อมูลมากมายมหาศาลนี้ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าลงทุนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนอัตราสูงๆ กลับคืนมา โลก ของการลงทุนในทุกวันนี้จริงๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าที่มันเคยเป็น คือมันเป็นอย่างไรมันก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น แต่เราต่างหากที่อาจจะเป็นคนทำให้กระบวนการลงทุนยุ่งยากซับซ้อน มากไปกว่าเดิม ถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรดี?

ผมมีวิธีอย่างง่ายๆ ในการเลือกซื้อกองทุนรวมมานำเสนอใน M&Wฉบับนี้ แต่ก่อนอื่นผมอยากจะบอกว่ามันมีสิ่งที่ตรงข้ามกันอยู่เสมอในโลก ยุคใหม่นี้ กล่าวคือยิ่งภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวเรามีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เท่าใด เราอาจจะต้องยิ่งแสวงหาวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายมากที่สุด เพื่อให้ บรรลุจุดมุ่งหมายของเรา

ข้อมูลและคำแนะนำที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ ผมเอามาจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ Association of Investment Management Companies (AIMC) โดยมีบริษัทจัดการที่เป็นสมาชิกเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขต่างๆ ที่ปรากฏ ทางเลือกสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมที่มีอยู่ใน ตอนนี้ก็มีแตกต่างหลากหลายอย่างมาก ผมขอเสนอแนวทางหรือวิธีการ อย่างง่ายๆ 12 ข้อสำหรับแผนการลงทุนทางด้านกองทุนรวมของท่านผู้อ่านครับ

1. ท่านต้องรู้ด้วยตัวเองว่ากองทุนประเภทไหนที่เหมาะกับตัวท่าน (Types of Funds)

หากหยิบหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันมาเปิดดูรายชื่อกองทุนรวม ท่านจะเห็นชื่อ และประเภทกองทุนมากมายลายตาไปหมด ชื่อเหล่านี้มักจะเป็นคำที่กว้างๆ เพราะตอนนี้มีการจัดตั้งกองทุนอยู่ทั้งหมดราว 500 กอง แบ่งออกเป็น 12ประเภท อย่างที่บอกแหละครับว่าชื่อกองทุนไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมาก นอกจาก ไอเดียกว้างๆ ว่าเป็นกองทุนอะไรเท่านั้น ลองดูตัวอย่างประเภทกองทุนรวม ที่มีอยู่ 12 แบบ

1.1 กองทุนปิด(Closed End Fund)
กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง และเปิดให้มีการจองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ มีกำหนดอายุโครงการแน่นอน และบริษัทจัดการไม่รับ ซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการ ผู้ถือ หน่วยลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนครบ กำหนดอายุโครงการได้ โดยส่วนใหญ่แล้วอายุโครงการ จะมีกำหนด 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี และเพื่อเพิ่มสภาพ คล่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการมักเอาหน่วย ลงทุนของกองทุนปิดไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง หรือจัดให้มีตัวแทนจัดการซื้อขาย (Market Maker)

1.2 กองทุนเปิด (Open End Fund)
กองทุนรวมที่สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ ไม่มี กำหนดอายุโครงการ และบริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วย ลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ทุก วัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกหกเดือน กองทุนเปิดเป็นที่นิยมมากกว่ากองทุน ปิด เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า

1.3 กองทุนรวมที่ระดม เงินลงทุนจากต่างประเทศ(Country Fund)
กองทุนรวมที่บริษัทจัดการตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่มีภูมิลำเนานอกประเทศ เพื่อที่จะระดมเงินมาลงทุนในประเทศไทย กองทุนรวมประเภทนี้มักจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ

1.4 กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ย ในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม

1.5 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือ ตราสารหนี้หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดย วิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด หรือให้ความ เห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้

1.6 กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว(Long Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุนรวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

1.7 กองทุนรวมตราสาร แห่งหนี้ระยะสั้น (Short Term Fixed Income Fund)
เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกองทุนตราสารแห่งหนี้ แต่อายุตราสารหนี้ในพอร์ตโฟลิโอของกองทุน รวมประเภทนี้ (Portfolio Duration) ในขณะใดขณะหนึ่ง ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี

1.8 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและมีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม หรือมี อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี กองทุนรวมตลาดเงินมีนโยบาย การลงทุนที่คล้ายคลึงกับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น มีความเสี่ยงต่ำสุด เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้นของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง

1.9กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
ลงทุนในตราสารได้ทุกประเภท ผู้จัดการกองทุนสามารถ แสวงหาโอกาสลงทุนที่ดีกว่าได้ ทั้งในตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ โดยเป็นการจัดสรรเงินลงทุนประเภท สมดุล มีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนใน ตราสารทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุนรวม เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนเหมาะสำหรับผู้ลงทุน ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง

1.10 กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund)
ลงทุนในตราสารทุกประเภทเช่นเดียวกับกองทุนรวม ผสม แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ceiling และ floor ในการลงทุนในตราสารทุนแต่อย่างใด การจัดสรรเงิน ลงทุนของกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นระหว่างตลาด ตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ จึงอยู่ที่ดุลพินิจของผู้จัดการกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นเหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง

1.11 กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund 0f Funds)
มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดง สิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยใน รอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สิน สุทธิของกองทุนรวม กองทุนประเภทนี้มีข้อดีคือมีการ กระจายการลงทุน ความเสี่ยงจึงลดลง และมีต้นทุน เฉลี่ยต่ำด้วย

1.12 กองทุนรวมใบสำคัญแสดง สิทธิ (Warrant Funds)
มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม ทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีความเสี่ยงสูง กองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก

1.13 กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector Fund)
มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกัน ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม

1.14 กองทุนรวมSpecial Fund
เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน นโยบายลงทุน ของกองทุนนี้จะทำการลงทุนซื้อหรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ แล้วนำมาขายหรือให้เช่าอีกทอดหนึ่ง ส่วนการ ขายหน่วยลงทุนของกองทุนประเภทนี้จะขายให้แก่นักลงทุนสถาบันเท่านั้น ไม่ขายให้นักลงทุนรายย่อยหรือ บุคคลธรรมดาทั่วไป

1.15 กองทุนรวม Special Fund
มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือ การหาดอกผลโดยวิธีอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน รวม แต่ไม่ประสงค์ที่จะดำรงตามอัตราส่วนการลงทุน ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เนื่องจากกองทุนรวม Special Fund มีการลงทุนกระจุกตัวกว่า สำนักงาน ก.ล.ต.จึงกำหนดให้กองทุนรวมประเภทนี้มีคำเตือนเป็น พิเศษเกี่ยวกับความเสี่ยง