สารัญ Creditbank Credit card bank

123

11/14/2552

ความรู้ก่อนการลงทุน

ความรู้ก่อนการลงทุน
สำรวจความพร้อมก่อนลงทุน

การรู้จักจัดการวางแผนชีวิตและเข้าใจกลไลเกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่เหมาะสม สามารถสร้างรากฐานทางการเงินที่มั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ลงทุนกับเงินของตัวเองว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
รู้จักตัวเอง

คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้มาจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่มีมาแต่โบราณและยังคงใช้ได้จริงจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งไม่ได้ใช้เพียงเฉพาะเรื่องสงครามเท่านั้น แต่แทบทุกเรื่องในชีวิตของคนเรา รวมทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วย โดยก่อนที่จะรู้เขาหรือรู้ใครได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือต้อง “รู้เรา” เสียก่อนและเมื่อ “รู้เรา” จนชัดเจนแล้วการที่จะ “รู้เขา” ก็ง่ายขึ้น

อย่างแรก คุณจะต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณต้องการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อผลตอบแทนแบบไหน เมื่อไรเท่าไร ซึ่งเท่ากับเป็นการวางเป้าหมายที่ชัดเจนของคุณไว้ โดยคำนึงถึงรายได้ รายจ่าย และเงินออมของคุณเป็นสำคัญ สิ่งนี้แหละที่จะทำให้คุณไม่เป็นพวก “แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ” อย่างที่เขามักเปรียบเปรยถึงผู้ลงทุนที่ลงทุนตามสถานการณ์ เต้นไปตามข่าวลือโดยไม่คำนึงถึงศักยภาพความพร้อมและความต้องการของตนเอง แต่หากคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าตนเองมีความพร้อมที่จะลงทุนได้เท่าไร และต้องการผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด เมื่อใด คุณจะมีหลักการพื้นฐานที่แจ่มชัด

อย่างที่สอง คุณต้องรู้จักประเมินตัวเองว่าจะมีเวลาให้กับการลงทุนในหลักทรัพย์มากน้อยเพียงใด หากมีเวลามากคุณอาจติดตามการขึ้นลงของราคาและการเปลี่ยนแปลงวอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัดสินใจซื้อขายได้บ่อยครั้ง และถ้าคุณมีเวลาน้อย คุณคงต้องมุ่งไปที่การลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก และมุ่งผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

อย่างที่สาม คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าพร้อมที่จะเสี่ยงได้อย่าง “สบายใจ” มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่จะตอบคำถามข้อนี้ได้คุณต้องเริ่มสำรวจความพร้อมของคุณก่อนจากนั้นประเมินตัวเองว่าพร้อมที่
จะเสี่ยงในปริมาณเงินมากน้อยเพียงใดภายในระยะเวลาเท่าใด นอกจากนั้น อายุ ฐานะทางการงาน และครอบครัวก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพราะถ้าคุณอายุยังน้อย ความรับผิดชอบไม่มาก คุณอาจจะเสี่ยงได้มาก โดยอาศัยการลงทุนที่มีการซื้อขายอย่างรดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากคุณอยุ่ในวัยกลางคน และต้องการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ คุณอาจต้องเลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยแต่ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนและต่อเนื่อง
สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการรู้จักตัวเองก็คือ คุณจะต้องบอกเป้าหมาย ความคาดหวัง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของคุณให้โบรกเกอร์หรือเจ้าหน้าที่ของโบรกเกอร์ที่คุณเป็นลูกค้าทราบด้วย

สำรวจความพร้อมก่อนลงทุน

ก่อนตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนที่ดีต้องมีการวางแผนและจัดการกับภาระทางการเงินด้านอื่น ๆ ที่มีอยู่ในชิวิตให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเงินที่นำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นควรเป็น “เงินส่วนที่เหลือ” หลังจากที่คุณได้เตรียมการขั้นพื้นฐานสำหรับชิวิตไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรายจ่ายสำคัญที่คุณควรจัดเตรียมไว้ก่อนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์ ๆได้แก่

1. เงินสำรองเพื่อฉุกเฉิน เป็นรายจ่ายส่วนแรกที่คุณจะกันออกจากรายได้ เพื่อใช้ลดความเสี่ยงในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณควรจะมีส่วนนี้ประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายในปัจจุบันของคุณเอง และควรเก็บไว้ในรูปของสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทองคำ เป็นต้น

2. ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ในการดำเนินชีวิตของคุณและครอบครัว โดยจะประกอบไปด้วยที่เป็นทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ค่าพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในหมวดนี้จะเป็นค่าใชจ่ายที่หมดไป โดยไม่ได้แปรเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ประเภทอื่น

3. ภาระหนี้สิน ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงิน หน้าที่ตามกฏหมายของคุณก็คือ การจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาหรือข้อตกลง เพราะหากคุณไม่ชำระตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินในครอบครอง หรืออาจถูกฟ้องล้มละลายได้ ซึ่งหนี้สินมีทั้งหนี้สินระยะสั้น เช่นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคผ่านบัตรเครดิต ระบบผ่อนชำระต่าง ๆ ฯลฯ และหนี้สินรยะยาว เช่นหนี้จากการซื้อบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ หนี้จากการผ่อนรถยนต์ ฯ ลฯ ซึ่งหนี้สินระยะยาวส่วนใหญ่จะแปรเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ของคุณในอนาคต

4. ค่าเบี้ยประกันภัย ชีวิตมีความไม่แน่นอน ทรัพย์สิน และสิ่งที่ครอบครองหรือมีไว้ใช้ก็เช่นกันดังนั้นก่อนนำเงินมาลทุนในหลักทรัพย์คุณควรทำประกันชีวิตประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ หรือ ฯลฯ ทั้งแก่ตัวคุณเองและสมาชิกในครบครัวให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อหลักประกันความมั่นคงให้กับชิวิตและทรัพย์สินของคุณและคนที่คุณรัก นอกจากนี้ การประกันภัยยังช่วยในการออมเงินระยะยาวได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันมีกรมธรรม์ประกันชีวิตหลาย ๆ ประเภทที่มีลักษณะเป็นการผลมผสานระหว่างการประกันภัยกับการออมเงินระยะยาว

5. เงินสำหรับแผนการในอนาคต เป็นเงินออมอีกส่วนหนึ่งที่คุณควรมีไว้สำหรับแผนการในอนคตของคุณเอง ทั้งนี้ขิ้นอยู่กับความคิด ความหวัง สถานการณ์และความจำเป็นของคุณ แผนการในอนาคตอาจหมายถึง การศึกษาของคุณเอง การศึกษาของบุตร การมีบ้านหลังใหม่ ในอีก 3 ปีข้างหน้า การต่อเติมบ้าน การมีเครื่องอำนวยความสะดวกบางอย่างเพิ่มขึ้น ฯลฯ หากคุณมีแผนการที่ขัดเจนเหล่านี้อยู่ในใจก็ควรจะวางแผนเก็บเงินเพื่อแผนการนั้น ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่ควรคิดว่าจะใช้เงินที่ได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์มาใช้เพื่อแผนการในอนาคตเหล่านั้น

หลังจากที่คุณได้เตรียมความพร้อมในเรืองพื้นฐานของชีวิตเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะสามารถก้าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างสบายใจ มั่นใจ ปลอดโปร่งแจ่มใส สุขุมรอบคอบมากขึ้น เพราะไม่ต้องเครียดหรือเป็นกังวลกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต